[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๘
ปริวาร
ขันธกปุจฉา 442
คําถามและคําตอบอาบัติ 918/442
หัวข้อประจําเรื่อง 940/446
ขันธกปุจฉาวัณณนา 447
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 442
ขันธกปุจฉา
คำถามแลคำตอบอาบัติ
[๙๑๘] ข้าพเจ้าจักถามอุปสัมปทาขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบอุปสัมปทาขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศพระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ ตัว.
[๙๑๙] ข้าพเจ้าจักถามอุโบสถขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบอุโบสถขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ ตัว.
[๙๒๐] ข้าพเจ้าจักถามวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 443
ข้าพเจ้าจักตอบวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ ตัว.
[๙๒๑] ข้าพเจ้าจักถามปวารณาขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ เท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปวารณาขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ ตัว.
[๙๒๒] ข้าพเจ้าจักถามจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อม ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ ตัว.[๙๒๓] ข้าพเจ้าจักถามเภสัชชขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบเภสัชชขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ ตัว.
[๙๒๔] ข้าพเจ้าจักถามกฐินขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบกฐินขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ในกฐินขันธกะนั้น ไม่มีปรับอาบัติ.
[๙๒๕] ข้าพเจ้าจักถามจีวรสัญญุตตขันธกะ. พร้อมทั้งนิทาน พร้อม ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจีวรสัญญุตตขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๓ ตัว.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 444
[๙๒๖] ข้าพเจ้าจักถามจัมเปยยขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจัมเปยยขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.
[๙๒๗] ข้าพเจ้าจักถามโกสัมพิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบโกสัมพิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.
[๙๒๘] ข้าพเจ้าจักถามกัมมขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบกัมมขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.
[๙๒๙] ข้าพเจ้าจักถามปาริวาสิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปาริวาสิกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ ตัว.
[๙๓๐] ข้าพเจ้าจักถามสมุจจยขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสมุจจยขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.
[๙๓๑] ข้าพเจ้าจักถามสมถขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 445
ข้าพเจ้าจักตอบสมถขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๒ ตัว.
[๙๓๒] ข้าพเจ้าจักถามขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อม ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๓ ตัว.
[๙๓๓] ข้าพเจ้าจักถามเสนาสนขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบเสนาสนขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๓ ตัว.
[๙๓๔] ข้าพเจ้าจักถามสัพฆเภทขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสังฆเภทขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๒ ตัว.
[๙๓๕] ข้าพเจ้าจักถามขันธกะว่าด้วยสมาจาร พร้อมทั้งนิทาน พร้อม ทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบขันธกะว่าด้วยสมาจาร พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.
[๙๓๖] ข้าพเจ้าจักถามขันธกะว่าด้วยปาติโมกข์ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบขันธกะว่าด้วยปาติโมกข์ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๑ ตัว.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 446
[๙๓๗] ข้าพเจ้าจักถามภิกขุนีขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบภิกขุนีขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุดปรับอาบัติ ๒ ตัว.
[๙๓๘] ข้าพเจ้าจักถามปัญจสติกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปัญจสติกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ในปัญจสติกขันธกะนั้น ไม่มีปรับอาบัติ.
[๙๓๙] ข้าพเจ้าจักถามสัตตสติกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้ง นิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสัตตสติกขันธกะ พร้อมทั้งนิทาน พร้อมทั้งนิเทศ พระบัญญัติสูงสุด ในสัตตสติกขันธกะนั้น ไม่มีปรับอาบัติ.
ขันธกปุจฉาที่ ๑ จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
[๙๔๐] อุปสัมปทาขันธกะ ๑ อุโปสถขันธกะ ๑ วัสสูปนายิกขันธกะ ๑ ปวารณาขันธกะ ๑ จัมมขันธกะ ๑ เภสัชชขันธกะ ๑ กฐินขันธกะ ๑ จีวรขันธกะ ๑ จัมเปยยขันธกะ ๑ โกสัมพิกขันธกะ ๑ กัมมขันกะ ๑ ปาริวาสิก ขันธกะ ๑ สมุจจยขันธกะ ๑ สมถขันธกะ ๑ ขุททขันธกะ ๑ เสนาสนขันธกะ ๑ สังฆเภทขัธกะ ๑ สมาจารขันธกะ ๑ ปาติโมกขฐปนขันธกะ ๑ ภิกขุนีขันธกะ ๑ ปัญจสติกขันธกะ ๑ สัตตสติกขันธกะ ๑.
หัวข้อประจำเรื่อง จบ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 447
ขันธกปุจฉาวัณณนา
สองบทว่า อุปสมฺปทํ ปุจฺฉิสฺสํ มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามถึง อุปสัมปทาขันธกะ.
สองบทว่า สนิทานํ สนิทฺเทสํ มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามพร้อม ด้วยต้นเหตุ และอธิบาย.
หลายบทว่า สมุกฺฏฺปทานํ กติ อาปตฺติโย มีความว่า บทเหล่าใด เป็นบทอุกฤษฏ์ คือ เป็นบทสูงสุด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอุปสัมปทาขันธกะนั้น บทอุกฤษฏ์โดยย่อ มีอาบัติเท่าไร?
อาบัติใดๆ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติด้วยบทใด?, อาบัติ นั้นๆ ท่านกล่าวว่า อาบัติแห่งบทนั้นๆ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทสูงสุดทั้งหลาย มีอาบัติเท่าไร?
สองบทว่า เทฺว อาปตฺติโย มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒ ปีให้อุปสมบท, เป็นทุกกฏในบททั้งปวงที่เหลือ.
บทว่า ติสฺโส มีความว่า ในอุโปสถักขันธกะ มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะทำอุโบสถแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่ แก่ผู้กล่าวอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้ จงฉิบหาย. ภิกษุเหล่านี้ จงวอดวาย, ประโยชน์ อะไร ด้วยภิกษุเหล่านั้น, เป็นปาจิตตีย์ แม้เพราะทำอุโบสถร่วมกับภิกษุผู้ถูก สงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
บทว่า เอกา มีความว่า ในวัสสูปนายิกขันธกะ มีอาบัติทุกกฏ ชนิดเดียวเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 448
บทว่า ติสฺโส มีความว่า แม้ในปวารณาขันธกะ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่ ปวารณาอยู่, เป็น ปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ปวารณากับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบท ทั้งหลายที่เหลือ.
บทว่า ติสฺโส มีความว่า แม้ในจัมมสังยุตต์ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นปาจิตตีย์ แก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้จับแม่โคสาวให้ (จมน้ำ) ตาย, เป็นถุลลัจจัย เพราะมีจิตกำหนัดถูกองคชาต, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลาย ที่เหลือ.
แม้ในเภสัชชขันธกะ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นถุลลัจจัย (แก่ ภิกษุผู้ทำสัตถกรรม) ใกล้ที่แคบประมาณ ๒ นิ้ว โดยรอบ (แห่งวัจจมรรคและ ปัสสาวมรรค) , เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนยาคู, เป็นทุกกฏ เพราะบท ทั้งหลายที่เหลือ.
กฐิน พระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงแต่ทรงบัญญัติเท่านั้น, ไม่มีอาบัติใน กฐินขันธกะนั้น.
ในจีวรสังยุตต์ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะจีวร คากรองและเปลือกไม้คากรอง, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอติเรกจีวร, เป็น ทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
แม้ในจัมมเปยยักขันธกะ ก็มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น.
แม้ในโกสัมพิกขันธกะ กรรมขันธกะ ปาริวาสิกขันธกะและสมุจจยขันธกะ ก็มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น.
ในสมถขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ ภิกษุณีผู้มอบฉันทะย่อมบ่น ว่า เธอต้องปาจิตตีย์ มีการบ่นว่าเป็นเหตุ เป็นทุกกฏเพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 449
ในขุททกวัตถุกขันธกะ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ ภิกษุตัดองคชาตของ ตน ต้องถุลลัจจัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะกลืนอาหารที่สำรอกออกมาค้างอยู่ใน ปาก เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
ในเสนาสนขันธกะ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัยเพราะจำ หน่ายครุภัณฑ์ เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉุดคร่าออกจากสำนักของสงฆ์ เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
ในสังฆเภทักขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุ ผู้พลอยสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์ เพราะคณโภชนะ.
ในวัตตขันธกะ ที่ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถามถึงสมาจาร มีอาบัติ ทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น. อาบัติทุกกฏนั้น เป็นเพราะความไม่เอื้อเฟื้อในวัตร ทั้งปวง.
ในปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะ ก็เหมือนกัน.
ในภิกขุนีขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ เป็นปาจิตตีย์ เพราะไม่ ปวารณา เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ.
ในปัญจสติกขันธกะและสัตตสติกขันธกะ ท่านยกธรรมล้วนๆ ขึ้นสู่ หมวด ไม่มีอาบัติในขันธกะทั้ง ๒ นั้น ฉะนี้แล.
ขันธกปุจฉา วัณณนา จบ