โลภมูลจิต
โลภ (ความติดข้อง ความต้องการ) + มูล (รากเหง้า) + จิตฺต (จิต)
จิตที่มีโลภเจตสิกเป็นมูล หมายถึง อุกศลจิตที่ความติดข้องต้องการ เพราะมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วยเป็นไปในอาการหลายอย่าง เช่น ความกำหนัด ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความรักใคร่ ความทะยานอยาก ความผูกพัน ความห่วงใย ความอาลัยฯลฯ
โลภมูลจิตมี ๘ ดวง เพราะความต่างกันของสภาพธรรม ๓ อย่าง คือ เวทนา ๑ สัมปยุตต์ ๑ สังขาร ๑ ได้แก่
๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)
๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๔. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)
๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)
๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)
โลภมูลจิตเป็นสเหตุกจิต ประกอบด้วยเหตุ ๒ เรียกว่า ทวิเหตุกะ คือประกอบด้วยโลภเหตุ และโมหเหตุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา ค่ะ
โลภมูลจิต ๘ ดวง เพราะความต่างกันของสภาพธรรม ๓ อย่าง คือโสมนัสสัสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตัง อสังขาริกังใน๑ ดวงประกอบด้วย เวทนา ๑ สัมปยุตต์ ๑ สังขาร ๑ ใช่ไหมครับ ไม่มีสิ่งชักชวนเสีย ๔ ดวง คือไม่มีสิ่งชี้นำ มีสิ่งชักชวนเสีย ๔ ดวงอาศัยสิ่งอื่นชี้นำใช่ไหมครับยังขาดความเชื่อมั่นในความเข้าใจของธรรมแต่ละอย่างครับ เพราะมารู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ขั้นเข้าใจยังน้อยครับ
กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงยิ่งครับ
กราบอนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โลภมูลจิต เป็นจิตประเภทที่เป็นอกุศล มีโลภะเกิดร่วมด้วย เป็นสภาพธรรมที่มีจริง โลภมูลจิต ๘ ประเภท นั้น เมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว มีทั้งที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด มีกำลังกล้า มีกำลังอ่อน มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย มีอุเบกขาเวทนา เกิดร่วมด้วย ที่กล่าวว่าต้องอาศัยการชักจูง (สสังขาริก) ก็คือ มีกำลังอ่อน แต่ถ้าไม่อาศัยการชักจูง (อสังขาริก) คือ มีกำลังกล้า นั่นเอง ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดเิพิ่มเิติมได้ที่นี่ ครับ
โลภมูลจิตในชีวิตประจำวัน
อสังขาริก และ สสังขาริก
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผู้ใช้นามว่า "เข้าใจ" และทุกๆ ท่านด้วยครับ...
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้นี้นั้น ชั่งละเอีอดและลึกซึ้งจริงๆ ยากยิ่งที่จะได้เข้าใจในเวลาอันสั้น ด้วยสติความเพียรและปัญญาของปุถุชนอย่างเรานี้ จะมีไหมหนอที่จะได้เข้าถึง กราบขอบพระคุณ อาจารย์คำปั่นและอาจารย์ผเดิมพร้อมทั้งกัลยาณมิตรสหายธรรมทุกๆ ท่านที่คอยเกื้อกูลอธิบายขยายความพระธรรมให้ได้ค่อยๆ เข้าใจ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาสาธุครับ