กรุณาให้ความหมายของอุปาทานโดยละเอียดด้วย
ส่วนคำว่าอุปาทานขันธ์คืออะไรแตกต่างจากคำว่าอุปาทานอย่างไร
คำว่า อุปาทาน คือกิเลสที่มีกำลังยึดมั่นถือมั่น สภาพธรรมได้แก่ โลภะและทิฏฐิส่วนอุปาทานขันธ์ คือ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือขันธ์ที่เกิดจากอุปาทาน โปรดอ่านรายละเอียดโดยตรง
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 350
ว่าด้วยนิเทศอุปาทานขันธ์ (บาลีข้อ ๑๕๗)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งอุปาทานขันธ์ ต่อไป บทว่า สํขิตฺเตน (โดยย่อ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเทศนา จริงอยู่ ใครๆ ไม่อาจย่อทุกข์ได้ เท่านี้เป็นทุกข์ร้อยหนึ่ง หรือว่าเท่านี้เป็นทุกข์พันหนึ่ง แต่เทศนาอาจย่อได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงย่อเทศนาว่า ขึ้นชื่อว่า ทุกข์ มิใช่อะไรอื่น โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ดังนี้ จึงตรัสแล้วอย่างนี้. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต เนื้อความแห่งนิบาตนั้นมีอธิบายว่า หากว่า มีผู้ถามว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น เป็นไฉนดังนี้. เนื้อความแห่งบทว่า รุปูปาทานกฺขนฺโธ (รูปูปาทานขันธ์) เป็นต้น ข้าพเจ้าพรรณนาไว้แล้วในขันธวิภังค์แล.
เชิญคลิกอ่านได้ที่นี่...
นิเทศอุปาทาน (บาลีข้อ ๒๖๔)
ทิฏฐุปาทาน และ อัตตวาทุปาทาน ช่วยกรุณายกตัวอย่างลักษณะความต่างที่จะให้เห็นภาพด้วย ขอขอบคุณส่วนเรื่องการดาวน์โหลดนั้นผมทำได้แล้วครับ และต้องขอกล่าวคำขอบคุณและขอโทษเจ้าหน้าที่ท่านที่ได้กรุณาโทรศัพท์มาถึงผม (จำชื่อไม่ได้) ณ.โอกาสนี้ด้วย
ขอนำเอาการบรรยายธรรมของท่านอาจารย์จากเทป อกุศลธรรม ๙ กอง มาตอบ
ในที่นี้ค่ะ...
โลภะในชีวิตประจำวันมีมากและละได้ยาก การที่มีความพอใจในรูป รส กลิ่น
เสียง โผฏฐัพพะ ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ซึ่งเป็น "กามุปาทาน " ทำให้เกิดความ
ยึดมั่นพอใจต้องการที่จะได้สิ่งเหล่านี้มาเพื่อตน ก็มีความสำคัญในตน
เมื่อมีความยินดีพอใจสะสมติดแน่นใน รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ก็เกิด
ยึดมั่นว่าเป็นตัวตน เป็นเราขึ้น เมื่อมีความยึดมั่นในตัวตน ซึ่งเป็น "อัตตวาทุปาทาน "
ก็พอใจที่จะทำให้ตัวตนนั้นมีความสุข ไม่มีใครอยากให้ตัวตนเดือดร้อนเป็นทุกข์เลย
ดังนั้นก็พยายามแสวงหาทางที่จะพ้นทุกข์ต่างๆ ถ้าไม่รู้สภาพของธรรมให้ละเอียด
รอบคอบ ก็อาจจะทำให้คิดว่ามีวิธีอื่น ที่ทำให้พันทุกข์ได้โดยไม่ต้องอบรมเจริญ
ปัญญา ซึ่งก็เป็นรื่องของการถือมงคลตี่นข่าวต่างๆ ด้วยอำนาจของความพอใจที่จะ
แสวงหาความสุขให้แก่ตนนั้นเอง ทำให้เกิด "ทิฏฐุปาทาน" คือการยึดมั่นในความ
เห็นผิดต่างๆ
นอกจากนั้น ถึงแม้ว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความยึดมั่นเห็นผิดอื่น แต่เป็นผู้ที่ได้ฟังพระ
ธรรมมีความเข้าใจในพระธรรม และมีความต้องการจะดับกิเลส แต่ถ้าการศึกษาและ
พิจารณาไม่ละเอียดรอบคอบ ก็จะเป็นเหตุที่ทำให้เข้าใจข้อปฏิบัติจากเหตุและผลซึ่ง
จะเป็น " สีลพพตุปาทาน " เช่น การคิดว่า ถ้าไม่บริโภคเนื้อสัตว์ จะทำให้ดับกิเลส
เป็นต้น นี่ก็เป็นความเข้าใจผิดที่ไม่ได้ศึกษาเหตุและผลตามความเป็นจริงว่า ถ้า
ปัญญาไม่เกิดไม่เจริญ ไม่มีอะไรเลยที่จะดับกิเลสได้