[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 279
เถราปทาน
นาคสมาลวรรคที่ ๘
สุสัญญกเถราปทานที่ ๓ (๗๓)
ว่าด้วยผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุลจีวร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 279
สุสัญญกเถราปทานที่ ๓ (๗๓)
ว่าด้วยผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุลจีวร
[๗๕] เราได้เห็นผ้านุ่งสุกุลจีวรของพระศาสดาห้อยอยู่บนยอดไม้ แล้วได้ประนมอัญชลีไปทางนั้นไหว้บังสุกุลจีวร ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ๔ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่ รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในบังสุกุลจีวร.
ในกัปที่ ๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีจอมกษัตริย์ พระนามว่าทุมหระ (๑) ทรงครอบครองแผ่นดินมีสมุทรสาคร ๔ เป็นที่สุด มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ประการฉะนี้แล.
จบสุสัญญกเถราปทาน
๗๓. อรรถกถาพุทธสัญญากเถราปทาน (๒)
อปทานของท่านพระพุทธสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ทุมคฺเค ปํสุกูลิกํ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
๑. ม. ทุมสาระ. ๒. บาลีว่า สุสัญญกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 280
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัย แล้ว เกิดศรัทธา เห็นผ้าบังสุกุลจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าคล้องไว้ที่ ปลายไม้ มีจิตเลื่อมใสคิดว่า นี้เป็นธงแห่งพระอรหันต์ จึงได้ทำสักการะ มีการไหว้ และบูชาเป็นต้น. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจงเสวยเทวสมบัติ และมนุษย์สมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง หนึ่งอันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เกิดศรัทธาแล้ว บรรพชา ไม่นานนัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุญกรรมของตนเกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน. จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทุมคฺเค ปํสุกูลิกํ เป็นต้น ในที่เหล่านั้นมีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ทุมะ เพราะอรรถว่า กำจัดคือหวั่นไหว. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ทุมะ เพราะอรรถว่า ทำพื้นแห่ง อากาศให้เต็ม. ชื่อว่าทุมัคคะ เพราะเป็นที่สุดคือปลายแห่งไม้. ในที่ปลาย แห่งไม้นั้น. ชื่อว่า บังสุกุล เพราะอรรถว่า ไป คือถึงภาวะที่น่าเกลียด คือภาวะที่น่าไม่พอใจ ประดุจกับฝุ่นฉะนั้น. บังสุกุลนั้นแล เป็นบังสุกูลิกะ อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลของพระศาสดาที่คล้องไว้ที่ปลายไม้ ประคองอัญชลี ได้ไหว้คือกระทำความนอบน้อมผ้าบังสุกุลนั้น. บทว่า ตํ เป็นเพียงนิบาต. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบพุทธสัญญกเถราปทาน