[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 669
๙. รัชชุสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายเหมือนเชือกหางสัตว์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 669
๙. รัชชุสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายเหมือนเชือกหางสัตว์
[๕๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก.
[๕๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง เอาเชือกหางสัตว์อย่างเหนียว พันแข้ง แล้วสีไปสีมา เชือกนั้นพึงบาดผิว แล้วบาดหนัง แล้วบาดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเหยื่อในกระดูก ฉันใด ลาภสักการะและสรรเสริญ ย่อมตัดผิว แล้ว
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 670
ตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณอย่างนี้แล ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบรัชชุสูตรที่ ๙
อรรถกถารัชชุสูตรที่ ๙
พึงทราบวินิจฉัยในรัชชุสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
บทว่า พาลรชฺชุยา ได้แก่ เชือกทำด้วยด้ายเป็นต้น อ่อน เชือกทำด้วยหางสัตว์ แข็ง หยาบ เพราะฉะนั้น ท่านถือเอาเชือกนี้แล.
จบอรรถกถารัชชุสูตรที่ ๙