[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 492
ปัณณาสก์
ทานวรรคที่ ๔
๙. ปุญญาภิสันทสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 492
๙. ปุญญาภิสันทสูตร
[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้ นำ ความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ. มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑ นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์ เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ นำพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็น สรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะ. นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้. เป็นมหาทาน อัน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็น ของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่ รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ทาน ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม. วินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 493
ให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หา ประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน ประมาณมิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย กระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็น วิญญูไม่เกลียด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการ ที่ ๔ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจาก อทินนาทาน ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการ ที่ ๗ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้ง แห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 494
ไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความ ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อม เป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่ง พระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญู ไม่เกลียด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไป เพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.
จบ ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙
อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙
ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทานานิ ได้แก่ เจตนาทาน. ความของบทมีอาทิว่า อคฺคญฺานิ ดังนี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
จบ อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙