ธรรมข้อนี้ ถือว่าเป็นเรื่องไกลตัวเกินความจำเป็นสำหรับฆราวาสหรือไม่ ถ้าการ ศึกษาธรรมข้อนี้มีประโยชน์ แล้วจะประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
บัณฑิตผู้มีปัญญาได้ศึกษาพระธรรมคำสอน ย่อมเห็นประโยชน์ของกุศลทุกประการเพราะกุศลย่อมนำมาซึ่งความสุขความเจริญ การอบรมเจริญสติปัฏฐานเป็นกุศลขั้นสูง ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานจนบริบูรณ์ ย่อมนำมาซึ่งความสุขความเจริญในพระ-ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ผลสูงสุดคือ เป็นพระอรหันต์ดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งหมด รองลงมาเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี ละความติดข้องในกาม ละโทสะได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ขั้นรองลงมาคือ การบรรลุเป็นพระสกทาคามีและพระโสดาบันละความเห็นผิดความสงสัยได้ ปิดประตูอบายได้ มีอันจะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ในอนาคตแน่นอน สำหรับกัลยาณปุถุชน ผู้ศึกษาอบรมเจริญสติปัฏฐานย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัย ให้ตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคลในภายภาคหน้า และประโยชน์ในปัจจุปันผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ย่อมทำให้สังคมอยู่อย่างมีความสุข คือ ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นทางกาย ทางวาจา ย่อมประพฤติแต่สิ่งที่มีประโยชน์ ละเว้นสิ่งที่มีโทษ การอบรมเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับทุกคน แต่ควรอบรมเจริญทุกเพศทุกวัยทั้งฆราวาสและบรรพชิต
เชิญคลิกอ่าน...
สติปัฏฐาน ๔ เป็นเอกายนมรรค
มีความจำเป็นมากที่จะต้องอบรมปัญญา เพื่อเป็นอุปนิสัยไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกในสังสารวัฎฎ์ สาเหตุที่เราทุกคนทุกข์ เพราะความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นสัตว์ บุคคล การเจริญสติปัฎฐานจุดประสงค์เพื่อละคลายความเห็นผิดในสัตว์ บุคคล ตัวตน และกิเลสที่เราสะสมมานาน ถ้าเรามีกิเลสน้อยลง เราก็จะไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน การกระทบกันก็ลดลง แล้วยังทำให้คนที่อยู่ใกล้มีความสุขด้วย
ขออนุโมทนาครับ...
แต่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นข้อห้าม หรือข้อบังคับว่าทุกคนต้องทำตาม ขึ้นอยู่กับผู้นั้นมีศรัทธา และปัญญา พิจารณาน้อมเอาพระธรรมมาประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นมงคลกับตนเองทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไปที่ได้พบพระธรรม
ผู้มีปัญญาที่เป็นกัลยาณปุถุชน ย่อมมีความเข้าใจพระธรรม และมีความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยมากกว่าพาลปุถุชน
ผู้ที่เป็นพระโสดาบัน ย่อมมีความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยมากกว่าปุถุชน
ผู้ที่เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยมากกว่าพระโสดาบัน
ผู้ที่เป็นพระอนาคามี ย่อมมีความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยมากกว่าพระสกทาคามี
ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยมากกว่าพระอนาคามี