[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 290
๘. กัฏฐหารสูตร
ว่าด้วยความเป็นพรหม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 290
๘. กัฏฐหารสูตร
ว่าด้วยความเป็นพรหม
[๗๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่งในแคว้นโกศล.
ก็สมัยนั้น พวกมาณพหลายคน ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง เที่ยวหาฟืนพากันเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น แล้วได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในไพรสณฑ์นั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์ ภารทวาชโคตรถึงที่อยู่แล้วบอกพราหมณ์ ภารทวาชโคตรว่า ขอท่านพึงทราบ พระสมณโคดมประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในไพรสณฑ์.
[๗๑๐] ลำดับนั้น พราหมณ์ ภารทวาชโคตรพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้นเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นเห็นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้น แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
ภิกษุ ท่านเข้าไปสู่ป่าที่ว่างเปล่า ปราศจากคนในป่าหนาทึบ น่าหวาดเสียวนัก มีกายไม่หวั่นเป็นประโยชน์ งามเพ่งพินิจฌานอย่างดีหนอ ท่านเป็นมุนีอาศัยป่า อยู่ในป่าผู้เดียว ซึ่งไม่มีการขับร้อง และการบรรเลง การที่ท่านมีจิตยินดี อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวนี้ ปรากฏเป็นข้อน่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 291
ปรารถนาไตรทิพย์อันสูงสุด จึงมุ่งหมายความเป็นสหายกับท้าวมหาพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก เหตุไร ท่านจึงชอบใจป่าที่ปราศจากคน ท่านทำความเพียรในที่นี้เพื่อบังเกิดเป็นพรหมหรือ.
[๗๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ความมุ่งหวังหรือความเพลิดเพลินอย่างใดๆ ในอารมณ์หลายชนิด ซึ่งมีประจำอยู่ทุกเมื่อ นานาประการ หรือตัณหาอันเป็นเหตุให้กระชับแน่น ซึ่งมีอวิชชาเป็นมูลราก ก่อให้เกิดทั้งหมด เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว เราจึงไม่มีความมุ่งหวัง ไม่มีตัณหาประจำ ไม่มีตัณหาเข้ามาใกล้ มีปกติเห็นหมดจดในธรรมทั้งปวง บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด ประเสริฐ เราควรเป็นพรหมแกล้วกล้าเพ่งอยู่.
[๗๑๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว พราหมณ์ ภารทวาชโคตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 292
พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
อรรถกถากัฏฐหารสูตร
ในกัฏฐหารสูตรที่ ๘ วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนฺเตวาสิกา ได้แก่ มีผู้ทำการขวนขวายเล่าเรียนศิลปะ ชื่อว่า ธัมมันเตวาสิก. บทว่า นิสินฺนํ ได้แก่ ประทับนั่งเปล่งพระรัศมีมีวรรณะ ๖. บทว่า คมฺภีรรูเป ได้แก่ มีสภาพลึก.
บทว่า พหุเภรเว ได้แก่ อันน่าสะพึงกลัวมาก เพราะสิ่งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณที่น่าสะพึงกลัวซึ่งอยู่ในที่นั้น. บทว่า วิคาหิย ได้แก่ เข้าไปแล้วโดยลำดับ. บทว่า อนิญฺชมาเนน เป็นต้นเป็นกายพิเศษ. อธิบายว่าด้วยทั้งกายเห็นปานนี้. ด้วยคำว่า สุจารุรูปํ วต ท่านกล่าวว่า ท่านเพ่งฌานดียิ่งหนอ.
บทว่า วนวสฺสิโต มุนิ ได้แก่ พระมุนีคือพระพุทธเจ้าทรงอาศัยป่า. บทว่า อิทํ ความว่า เหตุที่ท่านนั่งในป่าอย่างนี้นี่ ย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า. บทว่า ปีติมโน ได้แก่ ผู้มีจิตยินดี. บทว่า วเน วเส ได้แก่ อยู่ในป่า.
บทว่า มญฺามหํ ความว่าข้าพเจ้า ย่อมสำคัญ บทว่า โลกาธิปติสหพฺยตํ ได้แก่ ความเป็นสหายของท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลก. บทว่า อากงฺขมาโน แปลว่า ปรารถนาอยู่. คำว่า ติวิธํ อนุตฺตรํ นี้ ท่านกล่าวหมายพรหมโลกนั่นแหละ. บทว่า กสฺมา ภวํ วิชนมรญฺมสฺสิโต ความ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 293
ว่า ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ เราเข้าใจว่าท่านหวังพรหมโลกอันดับแรก พราหมณ์ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจงบอกแก่เรา เหตุไร ท่านจึงชอบอยู่ป่า. บทว่า พฺรหฺมปตฺติยา แปลว่า เพื่อถึงความเป็นผู้ประเสริฐในที่นี้ ข้อนี้ พราหมณ์ถามโดยอาการอื่นอีกว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงทำความเพียร.
บทว่า กงฺขา ได้แก่ตัณหา. ด้วยบทว่า อภินนฺทนา นี้ แม้ตัณหาท่านก็เรียกว่า อภินันทนา. บทว่า อเนกธาตูสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลายมีสภาวะมากมาย. บทว่า ปุถู ได้แก่ ตัณหาหรือกิเลสที่เหลือมีประการต่างๆ บทว่า สทา สิตา ได้แก่ อยู่ในอำนาจตลอดกาลเป็นนิตย์. บทว่า อาณมูลปฺปภวา ได้แก่ ตัณหาเป็นธรรมชาติมีอวิชชาเป็นมูลราก. ด้วยบทว่า ปชปฺปิตา นี้ ก็ตัณหาท่านเรียกว่า ปชัปปิตา โดยเป็นเหตุให้กระซิบว่า แม้นี้เป็นของเรา แม้นี้ เป็นของเรา. บทว่า สพฺพา มยา พยนฺตีกตา ความว่าตัณหาทั้งหมดอันเราทำให้สิ้นสุดคือหมดที่สุดแล้วด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า สมูลิกา ได้แก่ พร้อมด้วยสิ่งที่มีอวิชชาเป็นมูล.
บทว่า อนุปโย ได้แก่ ไม่มีตัณหาเข้าไปใกล้. ด้วยบทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ วิสุทฺธทสฺสโน นี้ ทรงแสดงถึงพระสัพพัญญุตญาณ. ด้วยบทว่า สมฺโพธิมนุตฺตรํ ตรัสหมายเอาพระอรหัต. บทว่า สิวํ ได้แก่ ประเสริฐสุด. บทว่า ฌายามิ ความว่า เราย่อมเพ่งด้วยฌาน ๒. บทว่า วิสารโท ได้แก่ ปราศจากความกำหนัด.
จบอรรถกถากัฏฐหารสูตรที่ ๘