ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรม ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาใน วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ถอดเทปบันทึกเสียง โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
"การบวช" คืออะไร
ในอรรถกถา ท่านใช้คำว่า "บวช" หรือ "เนกขัมมะ" ในภาษาบาลี ท่านหมายถึง "การเว้นทั่ว" เว้นอะไร เว้นจากอกุศลธรรม หรือ เว้นจากบาปธรรม นี่คือ "การบวช"
"การบวชด้วยเพศ" คือ พระโพธิสัตว์ ฤาษี บรรพชิต ๑ และ การบวชด้วยข้อปฏิบัติ หรือ "เนกขัมมะ" ๑
ก่อนอื่น ควรเข้าใจความหมายของคำว่า "เนกขัมมะ" เนกขัมมะ หมายถึง การออกจากกาม หรือ การเว้นจากบาปธรรมอกุศลธรรมด้วยข้อปฏิบัติ "ข้อปฏิบัติ" หมายถึง การอบรมเจริญปัญญา ได้แก่ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนาเป็นการอบรมเจริญปัญญา เพื่อการออกจากกาม (เนกขัมมะ)
เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึง "การบวช" หรือ "การออกจากกาม" ก็ต้องหมายถึง สองอย่าง คือ โดยเพศ และ โดยข้อประพฤติปฏิบัติ "การบวช" ไม่ได้หมายถึง การบวชเป็น "บรรพชิต" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวได้ว่า "การบวช" มีสองอย่าง คือ การบวชกาย และ การบวชใจ หมายถึง การบวชด้วยเพศ และ การบวชด้วยข้อประพฤติปฏิบัติ และควรเข้าใจให้ถูกต้อง ว่า "การประพฤติ-ปฏิบัติธรรม" คืออะไร
ขออนุโมทนา
ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุญาตนำบทสนทนาธรรมนี้ ส่งต่อไปให้เพื่อนๆ อ่านนะคะ เพราะขณะนี้กระแส "แม่ชีน้อย" กำลังระบาดอยู่ในโลกไซเบอร์ การกระทำใดๆ ก็ตาม ถ้าทำโดยปราศจากความเข้าใจแล้ว ไม่มีประโยชน์เลยจริงๆ
บทความนี้มีประโยชน์
กุศลจิต เกิดขึ้นตั้งแต่มีเจตนา เพียงว่าเราคิดดี-หวังดีต่อผู้อื่น ไม่คิดทำร้ายใคร ก็เป็นกุศลจิตแล้ว แต่คนทั่วไป คิดว่า ต้องไปบวช จึงจะได้กุศล เพื่อ "หวังให้มี (มงคล) สิ่งดีๆ เกิดขึ้นแก่ตน" แบบนี้จะเรียกว่า เป็นกุศล ได้อย่างไรกัน สิ่งใดที่ทำเพื่อตน ไม่ว่าทางกาย วาจา ใจ นั่นมิใช่ กุศล
ขออนุโมทนา ดวงจิตผู้ใฝ่พระธรรม
ขออนุโมทนา และขอขอบคุณที่ท่านนำความรู้มาเผยแพร่ให้ทราบครับ
ขออนุโมทนาที่ทำให้คนทีได้อ่านได้ประโยชน์ครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะสำหรับผู้ที่ต้องการบวชทั้งกาย และใจ
ขออนุโมทนาครับ