๑. ผู้ว่าง่าย เพราะหลงเชื่อตามอำนาจแห่งอกุศล มีได้ไหม
๒. ผู้ว่ายาก เพราะไม่หลงเชื่อตามอำนาจแห่งกุศล มีได้ไหม
๓. ในพระไตรปิฎก ผู้ว่าง่าย มีความหมายในทางอกุศล หรือไม่
๔. ผู้ว่ายาก มีความหมายในทางกุศล หรือไม่
๑. ผู้ว่าง่ายกับผู้เชื่อง่ายต่างกัน ผู้ว่าง่ายเป็นไปกับกุศลอย่างเดียว
๒. ผู้ว่ายาก สอนยาก หัวดื้อ ไม่ยอมทำตามคำแนะนำบัณฑิต เป็นอกุศลอย่างเดียว
๓. เหมือนข้อ ๑ และข้อ ๒ เพราะผู้ว่าง่าย เป็นมงคล ผู้ว่ายากเป็นอวมงคล
ดังข้อความในมังคลัตถทีปนีว่า...
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่...
ความเป็นผู้ว่าง่าย [มังคลัตถทีปนีแปล]
ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ว่า ท่านราธะบวชตอนแก่ ท่านพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ ท่านราธะเป็นผู้ว่าง่าย ภายหลังก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ค่ะ
ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย
1. ผู้ว่าง่ายเพราะพิจารณาด้วยปัญญาแล้วเห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งใดถูก ผิด จึงว่าง่าย น้อมประพฤติปฏิบัติเพราะพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ดังนั้นเมื่อเป็นปัญญาจึงไม่ใช่ทำตามเพราะอกุศล เพราะปัญญาเป็นอกุศลไม่ได้เลย ผู้เชื่อง่ายเพราะไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญา เชื่อตามเพราะตรงตามความคิดของตนและขาดปัญญา เป็นต้น จึงเป็นอกุศล
2. ผู้ว่ายาก ว่ายากเป็นศัพท์ที่แสดงถึง การไม่ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง แม้จะได้รับคำแนะนำจากบัณฑิต ดังนั้นการนำศัพท์นี้มาใช้ในทางที่ว่ายากที่จะไม่เชื่อในทางผิด หรือเป็นอกุศลก็ต้องให้เข้าใจให้ตรงกัน ดังที่มีคำพูดที่ว่า ดื้อที่จะไม่เป็นอกุศล ดื้อที่จะไม่เชื่อในสิ่งที่ผิด แต่ถ้าเป็นผู้ว่ายาก จะใช้กับความหมายที่ว่า ไม่ประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ถูก เมื่อผู้อื่นแนะนำหรือพระธรรมที่ทรงแสดงไว้
3. ผู้ว่าง่ายเป็นกุศลเท่านั้นเพราะพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงว่าง่ายน้อมประพฤติปฏิบัติตาม ว่ายากเป็นอกุศลเท่านั้นเพราะ ไม่เชื่อในสิ่งที่ถูกและไม่ประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ถูกจึงเป็นอกุศล
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ