๔. ตติยสังขิตตสูตร อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน
โดย บ้านธัมมะ  11 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 37924

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 20

๔. ตติยสังขิตตสูตร

อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 20

๔. ตติยสังขิตตสูตร

อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน

[๘๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามาฉะนี้แล บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตตผล บุคคลผู้บำเพ็ญ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 21

มรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ว่าไม่เป็นหมันเลย.

จบตติยสังขิตตสูตรที่ ๔

อรรถกถาตติยสังขิตตสูตร

สูตรที่ ๔.

คำว่า ปริปูรํ ปริปูรการี อาราเธติ คือ ผู้กระทำอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมสำเร็จอรหัตตผล.

คำว่า ปเทสํ ปเทสการี คือ ผู้กระทำมรรคบางส่วน ที่เหลืออีกสาม ก็ย่อมสำเร็จผลสามเป็นบางส่วนเท่านั้น.

ใน ๔ สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอินทรีย์คละกันไป ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาตติยสังขิตตสูตรที่ ๔