๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ ว่าด้วยบุคคลไม่ตระหนี่
โดย บ้านธัมมะ  17 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40347

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 30

๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ

ว่าด้วยบุคคลไม่ตระหนี่


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 30

๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ

ว่าด้วยบุคคลไม่ตระหนี่

[๘๙] บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือ ท้าวธตรฐ ๑ ท้าววิรุฬหก ๑ ท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์แล้ว พึงให้ทาน ท่านเหล่านั้นเป็นอันบุคคลได้บูชาแล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความ เศร้าโศก หรือความร่ำไห้อย่างอื่นไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ อันทักษิณาทานนี้ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุรพเปตชนโดยทันทีสิ้นกาลนาน.

จบ ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 31

อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี ทรงปรารภทานของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ตรัสคำนี้ เริ่มต้นว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ดังนี้ :-

ได้ยินว่า พี่เลี้ยงของเด็กหญิง ธิดาของลูกสาวท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ให้ตุ๊กตาแป้งด้วยสั่งว่า นี้ลูกสาวของเจ้า เจ้าจงอุ้มมันไปเล่นเถอะ. เด็กหญิงนั้นเกิดความเข้าใจในตุ๊กตาแป้งนั้นว่า เป็นลูกสาว. ครั้นวันหนึ่งเมื่อเธออุ้มตุ๊กตานั้นเล่น ตุ๊กตาตกแตก เพราะความเลินเล่อ. แต่นั้นเด็กหญิงจึงร้องร่ำไห้ ลูกสาวเราตายแล้ว. เธอกำลังร้องไห้อยู่ คนในเรือนบางคนก็ไม่สามารถจะชี้แจงให้เธอเข้าใจได้. ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนปัญญัตาอาสน์ ในเรือนของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. และท่านมหาเศรษฐี ก็ได้นั่งอยู่ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. หญิงพี่เลี้ยง ได้พาเด็กหญิงนั้นไปหาท่านเศรษฐี. ท่านเศรษฐีเห็นเข้า จึงกล่าวว่า เด็กหญิงนี้ร้องไห้เพื่ออะไรกัน. พี่เลี้ยงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่านเศรษฐีแล้ว. เศรษฐีได้ให้เด็กหญิงนั้นนั่งบนตักแล้วให้เข้าใจว่า ฉันจะให้ทานอุทิศแก่ลูกของหนู ดังนี้แล้วจึงกราบทูลแต่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะให้ทานอุทิศแก่ ตุ๊กตาแป้ง ซึ่งเป็นลูกสาวของหลานของข้าพระองค์, ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป จงรับทานนั้นของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 32

ครั้นในวันที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป เสด็จไปยังเรือนของท่านเศรษฐี เสวยพระกระยาหารแล้ว เมื่อจะทำอนุโมทนา จึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือท้าวธตรฐ ๑ วิรุฬหก ๑ วิรูปักษ์ ๑ และท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์แล้วพึงให้ทาน ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว ทั้งทายกก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความเศร้าโศกหรือความร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้ เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ อันทักษิณาทานนี้ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์ โดยฉับพลันแก่บุรพเปตชนนั้นสิ้นกาลนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ความว่า ปรารภ คือ อุทิศ เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุมีเหตุที่เป็นมงคลเป็นต้น. บทว่า ทชฺชา แปลว่า พึงให้. บทว่า อมจฺฉรี ความว่า ชื่อว่า อมัจฉรี เพราะไม่มีความตระหนี่ อันมีลักษณะไม่อดทนต่อสมบัติของตนที่ทั่วไปกับผู้อื่น, อธิบายว่า ผู้มีปกติบริจาค ทำ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 33

มลทินแห่งจิตมีมัจฉริยะและโลภะเป็นต้น ให้ห่างไกลแล้ว พึงให้ทาน. บทว่า ปุพฺพเปเต จ อารพฺภ ได้แก่ อุทิศบุรพเปตชน. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า วตฺถุเทวดา ปรารภเทวดาผู้สิงอยู่ในสถานที่ต่างๆ มีที่เรือนเป็นต้น. ด้วยคำว่า อถ วา นี้ ทรงแสดงว่า ปรารภเปตชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีเทวดาและมนุษย์เป็นต้น แม้เหล่าอื่นแล้ว พึงให้ทาน.

ในคำเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเทพผู้ปรากฏบางพวกในบรรดาเทพเหล่านั้นก่อน จึงตรัสว่า จตฺตาโร จ มหาราเช เมื่อจะระบุเทพเหล่านั้น โดยชื่ออีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า กุเวรํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุเวรํ ได้แก่ท้าวเวสสวรรณ. บทว่า ธตรฏํ เป็นต้น เป็นชื่อของท้าวโลกบาลทั้ง ๓ ที่เหลือ. บทว่า เต เจว ปูชิตา โหนฺติ ความว่า ก็ท้าวมหาราชเหล่านั้น และบุรพเปตชนและวัตถุเทวดา เป็นผู้อันเขานับถือด้วยการทำอุทิศ. บทว่า ทายกา จ อนิปฺผลา ความว่า และทายกผู้ให้ทานย่อมไม่ไร้ผล เพราะเหตุเพียงการอุทิศแก่เปตชนเหล่าอื่น ทั้งเป็นผู้มีส่วนแห่งผลทานของตนเหมือนกัน.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า การร้องไห้เป็นต้นนั้น ของเหล่านั้น ร้องไห้ ร่ำไร เศร้าโศก เพราะญาติของตนตายไป ไม่มีประโยชน์ เป็นแต่เพียงทำตนให้เดือดร้อนเท่านั้น จึงตรัสคาถาว่า น หิ รุณฺณํ วา ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณํ แปลว่า ร้องไห้ คือหลั่งน้ำตา. บาลีที่เหลือพึงนำมาเชื่อเข้าด้วยบทว่า น หิ กาตพฺพํ.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 34

บทว่า โสโก ได้แก่ ความเศร้าโศก คือ ความเร่าร้อนภายในใจ, อธิบายว่า ความหม่นไหม้ในภายใน. บทว่า ยา จญฺา ปริเทวนา ได้แก่ ความพิไรรำพันอย่างอื่นจากการร้องไห้และความเศร้าโศกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การบ่นเพ้อด้วยวาจามีอาทิว่า ลูกคนเดียวอยู่ไหน? อธิบายว่า แม้การบ่นเพ้อด้วยวาจานั้นก็ไม่ควรทำ. วา ศัพท์ในบททั้งปวงเป็นวิกัปปัตถะ แปลว่า บ้าง, หรือ, ก็ดี,. บทว่า น ตํ เปตสฺส อตฺถาย ความว่า เหตุมีอาทิว่า การร้องไห้ก็ดี ความเศร้าโศกก็ดี การร่ำไรก็ดี ทั้งหมดนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่มีอุปการะแก่ผู้ละไปแล้ว คือ ผู้ตายไปแล้ว ฉะนั้น เหตุมีการร้องไห้เป็นต้นนั้น จึงไม่ควรทำ, อธิบายว่า แม้ถึงอย่างนั้น พวกญาติก็ไม่รู้เรื่องด้วยคงดำรงอยู่อย่างนั้น.

พระคาสดาครั้นทรงแสดงถึงเหตุแห่งทุกข์ธรรมมีการร้องไห้เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทักษิณาที่ทายกปรารภบุรพเปรตเป็นต้น แล้วถวายแด่พระสงฆ์ว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์ จงตรัสคาถาว่า อยญฺจ โข ทกฺขิณา ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงถึงทานที่ทายกให้แล้วนั้น โดยประจักษ์จึงตรัสไว้. คัพท์ เป็น พยติเรกัตถะ แปลว่า อัน. ด้วย ศัพท์นั้นย่อมส่องอรรถอันพิเศษเฉพาะที่กำลังจะกล่าวว่า ทักษิณานี้หาได้เป็นเหมือนเหตุมีการร้องไห้ เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ใครๆ ผู้ละไปแล้วไม่ อันทักษิณานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้จะไปแล้วนั้นตลอดกาลนาน. ศัพท์ว่า


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 35

โข ใช้ในอรรถว่า อวธารณะ แปลว่า ห้ามเนื้อความอื่น. บทว่า ทกฺขิณา ได้แก่ ทาน. บทว่า สงฺฆมฺหิ สุปติฏฺิตา ได้แก่ ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม. บทว่า ทีฆรตฺตํ หิตายสฺส ได้แก่ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เปรตนั้นตลอดกาลนาน. บทว่า านโส อุปกปฺปติ ได้แก่ ย่อมสำเร็จในขณะนั้นนั่นเอง. อธิบายว่า ไม่ใช่ในกาลอื่น. จริงอยู่ นี้เป็นธรรมดาในข้อนั้นว่า หากเปรตอนุโมทนาทาน ในเมื่อทายกถวายทานอุทิศเปรต เปรตก็จะหลุดพ้นไปด้วยผลแห่งทานนั้นในขณะนั้นนั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว ทรงกระทำให้มหาชนมีใจยินดียิ่งในทานที่อุทิศเปรตแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป. วันรุ่งขึ้น ภริยาเศรษฐี และพวกญาติที่เหลือ เมื่อคล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ ๓ เดือน ด้วยอาการอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย จึงไม่ไปเรือนของหม่อมฉัน ประมาณ ๑ เดือนแล้ว. เมื่อพระศาสดาตรัสบอกเหตุนั้นแล้ว ฝ่ายพระราชาเมื่อจะทรงคล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ชาวเมืองเห็นดังนั้น เมื่อจะอนุวัตรตามพระราชา จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ ๑ เดือน. ชาวเมืองให้


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 36

มหาทาน ซึ่งมีตุ๊กตาแป้งเป็นเหตุเป็นไปตลอด ๒ เดือน ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ ๔