[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ [เล่มที่ 76] - หน้า 251
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถาอากาศธาตุนิทเทส ว่าด้วยวิการรูป ๓
ก็วิการรูปทั้ง ๓ เหล่านี้ไม่ละซึ่งกันและกัน เมื่อความเป็นอย่างนั้น มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งรูปทั้ง ๓ เหล่านั้น อย่างนี้ว่า
ภาวะที่เบาคือ ความไม่เชื่องช้าแห่งรูปทั้งหลาย มีอาการเป็นไปได้เร็ว เหมือนคนไม่มีโรคมีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัย ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบ ซึ่งทำให้รูปเชื่องช้าอันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า ลหุตารูป
ความที่รูปทั้งหลายมีความอ่อนดุจหนังที่ขยำไว้ดีแล้ว มีอาการทำให้อ่อนเป็นไปตามอำนาจในการกระทำทั้งปวงได้ต่างๆ กัน มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบอันทำให้รูปแข็ง อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า มุทุตารูป
แต่ความที่รูปทั้งหลายควรแก่การงาน เหมือนทองคำที่หลอมไว้ดีแล้ว มีอาการคล้อยตามในการกระทำของสรีระ มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบ อันทำให้รูปไม่คล้อยตามของการกระทำในสรีระ อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า กรรมมัญญตารูป
อนึ่ง วิการรูปแม้ทั้ง ๓ นั่นย่อมอาจเพื่อทำการงานได้ ก็หาไม่ รูปที่เกิดจากอาหารเป็นต้น (คือเกิดแต่จิตและอุตุด้วย) เท่านั้นย่อมทำการงานได้ จริงอย่างนั้น พวกพระโยคีจึงพูดกันว่า วันนี้พวกเราได้อาหารเป็นสัปปายะ กายของเราจึงเบาอ่อนควรแก่การงาน วันนี้พวกเราได้อุตุสัปปายะ วันนี้จิตของพวกเราจึงสงบ กายของพวกเราเบาอ่อนควรแก่การงาน ดังนี้
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณมากค่ะ