ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙ - รตนวรรค
โดย บ้านธัมมะ  11 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42782

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒

มหาวิภังค์ ทุติยภาค

ปาจิตติยภัณฑ์

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล 731/800

โทษ ๑๐ อย่างในการเข้าสู่พระราชฐานช้นใน ั 733/803

พระบัญญัติ 806

สิกขาบทวิภังค์ 735/807

บทภาชนีย์ 736/807

อนาปัตติวาร 737/808

ปาจิตตีย์ ราชวรรคที่ ๙

อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑ 808

แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่๑ 808

รตนวรรค สิกขาบทที่๒ 810

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 738/810

พระบัญญัติ 811

เรื่องนางวิสาขามิคารมาตา 739/811

พระอนุบัญญัติ ๑ 812

เรื่องคนใช้ของอนาถบิณฑิกคหบดี 740/812

พระอนุบัญญัติ ๒ 814

สิกขาบทวิภังค์ 741/814

อนาปัตติวาร 743/815

รตนสิกขาบทที่ ๒ 816

ว่าด้วยสถานที่และของตกที่ควรเก็บไม่ควรเก็บ 816

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓ 819

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 744/819

พระบัญญัติ 820

เรื่องภิกษุหลายรูป 745/820

พระอนุบัญญัติ ๑ 821

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 746/821

พระอนุบัญญัติ ๒ 822

เรื่องภิกษุถูกงูกัด 747/822

พระอนุบัญญัติ ๓ 823

สิกขาบทวิภังค์ 748/823

บทภาชนีย์ 749/824

อนาปัตติวาร 750/825

วิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทที่ ๓ 825

ว่าด้วยการบอกลาก่อนเข้าบ้านในเวลาวิกาล 825

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๔ 827

เรื่องภิกษุหลายรูป 751/827

พระบัญญัติ 828

สิกขาบทวิภังค์ 752/828

บทภาชนีย์ 753/829

อนาปัตติวาร 754/829

สูจิฆรสิกขาบทที่ ๔ 830

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕ 831

เรื่องพระนันทศากยบุตร 755/831

พระบัญญัติ 831

สิกขาบทวิภังค์ 756/832

บทภาชนีย์ 757/832

อนาปัตติวาร 758/833

มัญจสิกขาบทที่ ๕ 833

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖ 834

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 759/834

พระบัญญัติ 835

สิกขาบทวิภังค์ 760/835

บทภาชนีย์ 761/836

อนาปัตติวาร 762/836

ตูโลนัทธสิกขาบทที่ ๖ 836

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗ 837

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 763/837

พระบัญญัติ 838

เรื่องพระอุทายี 764/838

พระอนุบัญญัติ 839

สิกขาบทวิภังค์ 765/839

บทภาชนีย์ 766/839

อนาปัตติวาร 767/840

นิสีทนสิกขาบทที่ ๗ 840

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๘ 842

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 768/842

พระบัญญัติ 843

สิกขาบทวิภังค์ 769/843

บทภาชนีย์ 770/843

อนาปัตติวาร 771/844

กัณฑุปฏิจฉาที สิกขาบทที่ ๘ 844

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๙ 846

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 772/846

พระบัญญัติ 847

สิกขาบทวิภังค์ 773/847

บทภาชนีย์ 774/848

อนาปัตติวาร 775/848

วัสสิยสาฏิกสิกขาบทที่ ๙ 848

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 849

เรื่องพระนันทะ 776/849

พระบัญญัติ 850

สิกขาบทวิภังค์ 777/850

บทภาชนีย์ 778/850

อนาปัตติวาร 779/851

บทสรุป 780/851

นันทเถรสิกขาบทที่ ๑๐ 852

หัวข้อประจําเรื่อง 852


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 800

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล

[๗๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสสั่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระราชอุทยานว่า ดูก่อนพนาย เจ้าจง ไปตกแต่งอุทยานให้เรียบร้อย เราจักประพาสอุทยาน.

เจ้าหน้าที่รักษาพระราชอุทยานผู้นั้น รับสนองพระบรมราชโองการ แล้วตกแต่งพระราชอุทยานอยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ โคน ไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชอุทานเรียบร้อยแล้ว และพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคนไม้ใน พระราชอุทยานนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ท้าวเธอรับสั่งว่า ช่างเถอะพนาย เราจักเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ครั้นแล้วเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เข้าเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะนั้นมี อุบาสกผู้หนึ่งนั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ใกล้ๆ ท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็น อุบาสกนั้นนั่งเฝ้าอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตกพระทัยยืนชะงักอยู่ ครั้น แล้วทรงพระดำริว่า บุรุษผู้นี้คงไม่ใช่คนต่ำช้า เพราะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ใกล้ๆ ได้ ดังนี้ แล้วเข้าไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ราชอาสน์อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 801

ส่วนอุบาสกนั้นไม่ถวายบังคม ไม่ลุกรับเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วย ความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระทัยว่า ไฉนบุรุษนี้ เมื่อเรามาแล้ว จึงไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระ - ทัย จึงตรัสขึ้นในขณะนั้นว่า มหาบพิตร อุบาสกผู้นี้ เป็นพหูสูต เป็นคน เล่าเรียนพระปริยัติธรรมมาก เป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระดำริว่า อุบาสกผู้นี้ไม่ใช่ เป็นคนต่ำต้อย แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสชมเขา แล้วรับสั่งกะอุบาสก นั้นว่า ดูก่อนอุบาสก. เธอพึงพูดได้ตามประสงค์เถิด.

อุบาสกนั้นกราบทูลว่า เป็นพระมหากรุณาคุณอย่างล้นเกล้า พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.

[๗๓๒] ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่ ณ พระมหาปราสาท ชั้นบน ได้ทอดพระเนตรเห็นอุบาสกนั้นเดินกั้นร่มไปตามถนน จึงโปรดให้ เชิญตัวมาเฝ้าแล้วรับสั่งว่า ดูก่อนอุบาสก ได้ทราบว่า เธอเป็นพหูสูต เป็น คนเล่าเรียนพระปริยัติธรรมมาก ดีละอุบาสก ขอเธอจงช่วยสอนธรรมแก่ฝ่าย ในของเรา.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 802

อุบาสกนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมด้วยอำนาจ แห่งพระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้าเท่านั้นจักสอนธรรมแก่ฝ่ายในของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้.

พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งขึ้นในขณะนั้นว่า อุบาสกพูดจริงแท้ ดังนี้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ราชอาสน์ อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ภิกษุรูปหนึ่ง ไปเป็นผู้สอนธรรมแก่ฝ่ายใน ของหม่อมฉัน พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำทักษิณเสด็จกลับไปแล้ว.

ทรงแต่งตั้งท่านพระอานนท์เป็นครูสอนธรรม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงสอนธรรมแก่ฝ่ายในของพระเจ้าแผ่นดิน.

ท่านพระอานนท์ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปสอนธรรมแก่ ฝ่ายในของพระเจ้าแผ่นดินทุกเวลา ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์ครอง อันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่ในห้องพระบรรทมกับพระนางมัลลิกาเทวี พระนางได้ ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกลเทียว จึงผลีผลามลุกขึ้น พระภูษา ทรงสีเหลืองเลี่ยนได้เลื่อนหลุด ท่านพระอานนท์กลับจากสถานที่นั้นในทันที


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 803

ไปถึงอารามแล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอานนท์ยังไม่ได้รับบอกก่อน จึงได้เข้าสู่พระราชฐานชั้นในเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ข่าวว่า เธอไม่ได้รับบอกก่อนเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน จริงหรือ.

ท่านอานนท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนอานนท์ ไฉนเธอยัง ไม่ได้รับบอกก่อนจึงได้เข้าสู่พระราชฐานชั้นในเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลาย ดังต่อไปนี้:-

โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน

[๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นในมี ๑๐ อย่าง ๑๐ อย่างอะไรบ้าง.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในพระราชฐานชั้นในนี้ พระเจ้าแผ่นดิน กำลังประทับอยู่ในตำหนักที่ผทมกับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในพระราชฐานชั้น ในนั้น พระมเหสีเห็นภิกษุแล้วทรงยิ้มพรายให้ปรากฏก็ดี ภิกษุเห็นพระมเหสี แล้วยิ้มพรายให้ปรากฎก็ดี ในข้อนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า คนทั้งสองนี้รักใคร่กันแล้วหรือจักรักใคร่กันเป็นแม่นมั่น นี้เป็นโทษข้อที่หนึ่ง ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 804

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า แผ่นดินทรงมีพระราชกิจมาก ทรงมีพระราชกรณียะมาก ทรงร่วมกับพระสนม คนใดคนหนึ่ง แล้วทรงระลึกไม่ได้ พระสนมนั้นตั้งพระครรภ์เพราะเหตุที่ทรง ร่วมนั้น ในเรื่องนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐาน ชั้นในนี้ คนอื่นเข้ามาไม่ได้สักคน นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำ ของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สองในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก รัตนะ บางอย่างในพระราชฐานชั้นในหายไป ในเรื่องนั้น พระเจ้าแผ่นดินจะทรง ระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้ คนอื่นสักคนก็เข้ามาไม่ได้ นอกจาก บรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สาม ในการ เข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก ข้อ ราชการลับที่ปรึกษากันเป็นการภายในพระราชฐานชั้นในเปิดเผยออกมาภายนอก ในเรื่องนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้ คนอื่นสักคนก็เข้ามาไม่ได้นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของ บรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สี่ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก ในพระราชฐานชั้นใน พระราชโอรสปรารถนาจะปลงพระชนม์พระราชบิดา หรือ พระราชบิดาปรารถนาจะปลงพระชนม์พระราชโอรส ทั้งสองพระองค์นั้นจะ ทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้ ไม่มีใครคนอื่นจะเข้ามาได้ นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่ห้า ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 805

๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า แผ่นดินทรงเลื่อนข้าราชการผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งต่ำไว้ในฐานันดรอันสูง พวก ชนที่ไม่พอใจการที่ทรงเลื่อนข้าราชการผู้นั้นขึ้น จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้า แผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้ เป็นโทษข้อที่หก ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า แผ่นดินทรงลดข้าราชการผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสูงไว้ในฐานันดรอันต่ำ พวกชน ที่ไม่พอใจการที่ทรงลดตำแหน่งข้าราชการผู้นั้นลง จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้า แผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็น โทษข้อที่เจ็ด ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า แผ่นดินทรงส่งกองทัพไปในกาลไม่ควร พวกชนที่ไม่พอใจพระราชกรณียะนั้น จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็น การกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่แปด ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า แผ่นดินทรงส่งกองทัพไปในกาลอันควร แล้วรับสั่งให้ยกกลับเสียในระหว่างทาง พวกชนที่ไม่พอใจพระราชกรณียะนั้นจะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรง คลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่เก้า ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระราชฐานชั้นในเป็นสถานที่รื่นรมย์เพราะ ช้าง ม้า รถ และมีอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดเช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งไม่สมควรแก่ บรรพชิต นี้แลเป็นโทษข้อที่สิบ ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 806

เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐาน ชั้นใน.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

[๗๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอานนท์ โดยอเนก ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ... แล้วตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๒ ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณี เข้าไปในห้องของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ที่พระราชายังไม่ได้เสด็จออก ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๓๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ผู้กษัตริย์ คือ เป็นผู้เกิดดีแล้วทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายพระ ราชมารคา และพระราชบิดา เป็นผู้มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีแล้ว ตลอดเจ็ดชั่วบุรพชนก ไม่มีใครคัดค้านติเตียนโดยกล่าวถึงชาติได้.

ที่ชื่อว่า ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว คือ ได้รับอภิเษกโดยสรงสนาน ให้เป็นกษัตริย์แล้ว.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 807

บทว่า ที่พระราชายังไม่เสด็จออก คือ พระเจ้าแผ่นดินยังไม่ เสด็จออกจากตำหนักที่ผทม.

บทว่า ที่รัตนะยังไม่ออก คือ พระมเหสียังไม่เสด็จออกจาก ตำหนักที่ผทม หรือทั้งสองพระองค์ยังไม่เสด็จออก.

บทว่า ยังไม่ได้รับบอกก่อน คือ ไม่มีใครนิมนต์ไว้ก่อน.

ที่ชื่อว่า ธรณี ได้แก่ สถานที่เขาเรียกกันว่าธรณีแห่งตำหนักที่ผทม.

ที่ชื่อว่า ตำหนักที่ผทม ได้แก่ที่ผทมของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเจ้า พนักงานจัดแต่งไว้ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุดแม้วงด้วยพระสูตร.

คำว่า ก้าวล่วงธรณีเข้าไป คือ ยกเท้าที่ ๑ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ ที่ยกเท้า ๒ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๓๖] ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับบอก ก้าวล่วง ธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสงสัยอยู่ ก้าวล่วงธรณีเข้าไปต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสำคัญว่าได้รับบอกแล้ว ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกทุกกฏ

ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับบอก ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสงสัยอยู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับบอกแล้ว ... ไม่ต้องอาบัติ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 808

อนาปัตติวาร

[๗๓๗] ได้รับบอกแล้ว ๑ ไม่ใช่กษัตริย์ ๑ ไม่ได้รับอภิเษกโดย สรงสนานให้เป็นกษัตริย์ ๑ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกจากดำหนักที่ผทมแล้ว ๑ พระมเหสีเสด็จออกจากทำหนักที่ผทมแล้ว ๑ หรือทั้งสองพระองค์เสด็จออก จากที่ผทมแล้ว ๑ ไม่ใช่ตำหนักที่ผทม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ

ปาจิตตีย์ ราชวรรคที่ (๑)

อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑

วนิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งราชวรรค พึงทราบดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑]

บทว่า โอรโก แปลว่า ต่ำต้อย.

บทว่า อฺปริปาสาทวรคโต แปลว่า ประทับอยู่ ณ เบื้องบนแห่ง ปราสาทอันประเสริฐ.

สองบทว่า อยฺยานํ วาหสา แปลว่า เพราะเหตุแห่งพระผู้เป็นเจ้า ทั้งหลาย มีคำอธิบายว่า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรม เพราะพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น ได้ชั่วให้เกิดขึ้น.

สองบทว่า ปิตรํ ปฏฺเติ ได้แก่ พระราชโอรสต้องการจะเห็นโทษ แล้วปลงพระชนม์พระราชบิดา.


(๑) บาลีเป็น รตนวรรค.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 809

ในคำว่า ราชนฺเตปุรํ หตฺถิสมฺมทฺทํ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่าที่พระราชฐานชั้นในนี้อัดแอไปด้วยพวกช้าง; ฉะนั้น จึงชื่อว่า หัตถิสัมัมททะ. อธิบายว่า คับแคบไปด้วยช้าง. แม้ในบทว่าอัสสรถสังมัททะก็นัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุบางพวกสวดว่า สมฺมตํ ก็มี. คำนั้นไม่ควรถือเอา. ปาฐะว่า รญฺโ อนฺเตปุเร หตฺถิสมฺมทฺทํ. ก็มี ในปาฐะนั้น มีอรรถว่า การเหยียบย่ำไป มาแห่งช้างทั้งหลาย ชื่อว่า หัตถิสัมมัททะ. มีคำอธิบายว่า การเดินย่ำไปมา แห่งช้างมีอยู่ในพระราชวังชั้นใน. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.

บทว่า รชนียานิ ได้แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น เช่นนี้ มีอยู่ในพระราช วังชั้นในนั้น.

บทว่า มุทฺธาภิสิตฺตสฺส คือ ผู้ทรงได้รับอภิเษกสรงสนานบน พระเศียร.

บทว่า อนิกฺขนฺตราชเก มีวิเคราะห์ว่า พระราชายังไม่เสด็จออก จากพระตำหนักที่ผทมนี้; เหตุนั้น ตำหนักนั้น จึงชื่อว่า ที่พระราชายังไม่ เสด็จออก. อธิบายว่า ในคำหนักทีผทมมีพระราชายังไม่เสด็จออกนั้น. พระมเหสี พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียกว่ารัตนะ.

บทว่า นึภฏํ แปลว่า ออกแล้ว. รัตนะ (คือพระมเหสี) ยิ่งไม่ เสด็จออก จากตำหนักที่ผทมนี้ ฉะนั้น ตำหนักผทมนั้น จงชื่อว่าที่รัตนะยัง ไม่ออก. อธิบายว่า ในทำหนักที่ผทม มีรัตนะยังไม่ออกนั้น. คำที่เหลือใน สิกขาบทนี้ ดินทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทางกิริยา ทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑ จบ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 810

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๒

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๗๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ รูปหนึ่งอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี แม้พราหมณ์คนหนึ่งวางถุงเงินประมาณ ๕๐๐ กษาปณ์ไว้บนบกแล้วลงอาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดี เสร็จแล้วได้ลืมถุงทรัพย์ นั้นไว้ ไปแล้ว จึงภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยสำคัญว่า นี้ถุงทรัพย์ของพราหมณ์ นั้น อย่าได้หายเสียเลย ฝ่ายพราหมณ์นั้นนึกขึ้นได้ รีบวิ่งมาถามภิกษุนั้นว่า ข้าแด่พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าเห็นถุงทรัพย์ของข้าพเจ้าบ้างไหม.

ภิกษุนั้นได้คืนให้พร้อมกับกล่าวว่า เชิญครับไปเถิดท่านพราหมณ์.

พราหมณ์ฉุกคิดขึ้นได้ในขณะนั้นว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจึง จะไม่ต้องให้ค่าไถ่ร้อยละห้าแก่ภิกษุนี้ จึงพูดเป็นเชิงขู่ขึ้นว่า ทรัพย์ของข้าพเจ้า ไม่ใช่ ๕๐๐ กษาปณ์ ของข้าพเจ้า ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ดังนี้ แล้วปล่อยตัวไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้เก็บเอาสิ่งรัตนะเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค เจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอเก็บเอารัตนะไว้ จริงหรือ.

ภิกษุรูปนั้น กราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 811

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ จึงได้เก็บเอารัตนะเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๓. ๒. อนึ่ง ภิกษุใดเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา

[๗๓๙] สมัยต่อมา ในพระนครสาวัตถีมีมหรสพ ประชาชนต่าง ประดับประดาตกแต่งร่างกาย แล้วพากันไปเที่ยวชมสวน แม้นางวิสาขามิคารมาตาก็ประดับประดาตกแต่งร่างกายออกจากบ้านไปด้วยตั้งใจว่าจักไปเที่ยวชม สวน แล้วหวนคิดขึ้นว่า เราจักไปสวนทำไม เราเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ดีกว่า ดังนี้แล้วได้เปลื้องเครื่องประดับออก ห่อด้วยผ้าห่มมอบใให้แก่ทาสี สั่งว่า แม่สาวใช้ เธอจงถือห่อเครื่องประดับนี้ไว้ ครั้นเล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 812

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมาตา ผู้นั่งเรียบร้อย แล้วให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

ครั้นนางวิสาขามิคารมาตาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบัง คมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว.

ฝ่ายทาสีคนนั้นได้ลืมห่อเครื่องประดับนั้นไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายพบ เห็นจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงเก็บเอามารักษาไว้.

พระพุทธานุญาตพิเศษให้เก็บรัตนะ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาติให้เก็บ หรือใช้ให้เก็บ ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่า รัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ แล้วรักษาไว้ ด้วยหมายว่าของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๓๓. ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา จบ

เรื่องคนใช้ของอนาถบิณฑิกคหบดี

[๗๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล อนาถบัณฑิกคหบดี มีโรงงานอยู่โนกาสี ชนบท และคหบดีนั้นได้สั่งบุรุษคนสนิทไว้ว่า ถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายมา เจ้า


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 813

พึงแต่งอาหารถวาย ครั้นต่อมาภิกษุหลายรูป ไปเที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้ เดินผ่านเข้าไปทางโรงงานของอนาถบิณฑิกคหบดี บุรุษนั้นได้แลเห็นภิกษุ เหล่านั้นเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น กราบไหว้ แล้ว ได้กล่าวอาราธนาว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงรับนิมนต์ฉัน ภัตตาหารของท่านคหบดีในวันพรุ่งนี้.

ภิกษุเหล่านั้นรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.

จึงบุรุษนั้น สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยล่วงราตรีนั้น แล้วให้คนไปบอกภัตกาล แล้วถอดแหวนวางไว้ อังคาสภิกษุเหล่านั้นด้วย ภัตตาหารแล้วกล่าวว่า นิมนต์พระคุณเจ้าฉันแล้วกลับได้ แม้กระผมก็จักไปสู่ โรงงานดังนี้ ได้ลืมแหวนนั้น ไปแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว ปรึกษากันว่า ถ้าพวกเราไปเสีย แหวน วงนี้จักหาย แล้วได้อยู่ในที่นั้นเอง.

ครั้นบุรุษนั้นกลับมาจากโรงงาน เห็นภิกษุเหล่านั้นจึงถามว่า เพราะ เหตุไร พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงยังอยู่ในที่นี้เล่า ขอรับ.

จึงภิกษุเหล่านั้นได้บอกเรื่องราวนั้นแก่เขา ครั้นเธอไปถึงพระนคร สาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธาานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเอาก็ดี ใช้ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของ ที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บรักษาไว้ด้วยหมาย ว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 814

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๓๓. ๒. ข. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ใน ที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์ และภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่ง รัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วพึงเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป นี้เป็นสามีจิ- กรรมในเรื่องนั้น.

เรื่องคนใช้ของอนาถบิณฑิกคหบดี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๔๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ทีชื่อว่า รัตนะ ได้แก่ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม แก้วลาย นี้ชื่อว่ารัตนะ.

ที่ชื่อว่า ของที่สมมติว่ารัตนะ ได้แก่ เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค ของมวลมนุษย์ นี้ชื่อว่าของที่สมมติว่ารัตนะ.

คำว่า เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี คือ ยกเว้นแต่ ภายในวัดที่อยู่ ภายในที่อยู่พัก.

ที่ชื่อว่า ภายในวัดที่อยู่ คือ สำหรับวัด ที่มีเครื่องล้อม กำหนดภาย ในวัด สำหรับวัดที่ไม่มีเครื่องล้อม กำหนดอุปจารวัด.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 815

ที่ชื่อว่า ภายในที่อยู่พัก คือ สำหรับที่อยู่พักที่มีเครื่องล้อม ได้แก่ ภายในที่อยู่พัก สำหรับที่อยู่พักที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่อุปจารที่อยู่พัก.

บทว่า เก็บเอา คือ ถือเอาเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทว่า ให้เก็บเอา คือ ให้คนอื่นถือเอา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

[๗๔๒] คำว่า และภิกษุเก็บเอาก็ดี.ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วพึงเก็บไว้ นั้น ความว่า ภิกษุพึงทำเครื่องหมายตามรูปหรือตามนิมิต เก็บไว้ แล้วพึงประกาศว่า สิ่งของๆ ผู้ใดหาย ผู้นั้นจงมารับไป ถ้าเขามาใน ที่นั้น พึงสอบถามเขาว่า สิ่งของๆ ท่านเป็นเช่นไร ถ้าเขาบอกรูปพรรณ หรือตำหนิถูกต้อง พึงให้ไป ถ้าบอกไม่ถูกต้อง พึงบอกเขาว่า จงค้นหาเอาเอง เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น พึงมอบไว้ในมือของภิกษุผู้สมควรที่อยู่ในวัดนั้น แล้วจึงหลีกไป ถ้าภิกษุผู้สมควรไม่มี พึงมอบไว้ในมือของคหบดีผู้สมควรที่ อยู่ในตำบลนั้น แล้วจึงหลีกไป.

คำว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นมารยาทที่ดี ยิ่งในเรื่องนั้น.

อนาปัตติวาร

[๗๔๓] ภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติ ว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป ดังนี้ ๑ ภิกษุถือวิสาสะของที่สมมติว่ารัตนะ ๑ ภิกษุถือเป็น ของขอยืม ๑ ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสกุล ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 816

รัตนสิกขาบทที่ ๒

ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยสถานที่ และของตกที่ควรเก็บไม่ควรเก็บ]

บทว่า วิสฺสริตฺวา แปลว่า ได้ลืมไว้. ๕ เหรียญกษาปณ์ จาก ๑๐๐ เหรียญ ชื่อว่า ปุณณปัตตะ (ร้อยละ ๕).

คำว่า กฺยาหํ กริสฺสามิ แปลว่า เราจักกระทำอย่างไร

คำว่า อาภรณํ โอมุญฺจิตฺวา คือ ได้เปลื้องเครื่องประดับชื่อ มหาลดามีด่า ๙ โกฏิออกไว้.

บทว่า อนฺเตวาสี แปลว่า สาวใช้. ๒ ชั่วขว้างก้อนดินตกแห่งวัดที่อยู่ ชื่อว่า อุปจาร ในคำว่า อปริกฺ- ขิตสฺส อุปจาโร นี้. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า สำหรับที่อยู่พัก ชั่วเหวี่ยง กระด้งตก หรือชั่วเหวี่ยงสากตก (ชื่อว่า อุปจาร).

ในคำว่า อุคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ. ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งรัตนะมีมุกดา เป็นต้นที่เหลือ เพื่อประโยชน์แก่ตนหรือแก่สงฆ์เป็นต้น เป็นทุกกฏ. สิ่งที่ เป็นกัปปิยวัตถุก็ดี เป็นอกัปปิยวัตถุก็ดี อันเป็นของคฤหัสถ์ ชั้นที่สุดแม้ใบ ตาลเป็นเครื่องประดับหูเป็นของมารดา เมื่อภิกษุรับเก็บโดยมุ่งวัตรแห่งภัณฑาคาริกเป็นใหญ่ เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน. แต่ถ้าของๆ มารดาบิดาเป็นกัปปิยภัณฑ์อันควรที่ภิกษุจะเก็บไว้ได้แน่นอน พึงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์ตน. แต่


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 817

เมื่อเขากล่าวว่า ท่านโปรดเก็บของนี้ไว้ให้ด้วย พึงห้ามว่า ไม่ควร. ถ้าพวก คฤหัสถ์โยนของทิ้งไว้กล่าวว่า นิมนต์ท่านเก็บไว้ให้ด้วย แล้วไปเสีย, จัดว่า เป็นธุระ สมควรจะเก็บไว้. พวกคนงาน มีนายช่างไม้เป็นต้น ผู้กระทำการ งานในวิหารก็ดี พวกราชพัลลภก็ดี ขอร้องให้ช่วยเก็บเครื่องมือ หรือเครื่อง นอนของตนว่า นิมนต์ ท่านช่วยเก็บไว้ให้ด้วย. อย่าพึงกระทำ เพราะชอบ กันบ้าง เพราะกลัวบ้าง. แต่จะแสดงที่เก็บให้ ควรอยู่. ส่วนในเหล่าชนผู้โยน ของทิ้งไว้โดยพลการแล้วไปเสีย จะเก็บไว้ให้ก็ควร.

ในคำว่า อชฺฌาราเม วา อชฺฌาวสเถ วา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าอารามใหญ่เช่นกับมหาวิหาร, ภิกษุเก็บเองก็ดี ใช้ให้เก็บก็ดี ซึ่งของคฤหัสถ์ ที่ตกในสถานที่ เช่นกับที่ซึ่งจะเกิดมีความระแวงสงสัยว่า จักถูกพวกภิกษุและ สามเณรฉวยเอาไป แล้วพึงเก็บไว้ในบริเวณที่มีกำแพงกั้นในอารามใหญ่นั้น. แต่ที่ตกในสถานที่สัญจรของมหาชน เช่นที่ซุ้มประตูแห่งมหาโพธิ์และลานต้น มะม่วง ไม่ควรเก็บ. ไม่ใช่ธุระหน้าที่ (ของภิกษุ). แต่ในกุรุนที่กล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางไปเห็นภัณฑะบางอย่าง ในสถานที่ไม่มีคน. แม้เมื่อ เกิดมีคนพลุกพล่าน พวกชาวบ้านก็จะสงสัยภิกษุนั้นทีเดียว เพราะฉะนั้น ภิกษุ นั้นพึงแวะออกจากทางแล้วนั่งพัก. เมื่อพวกเจ้าของมา พึงบอกทรัพย์นั้น. ถ้าไม่พบเจ้าของ เธอจักต้องทำให้เป็นของสมควร (มีถือเอาเป็นของบังสุกุล เป็นต้น).

ในคำว่า รูเปน วา นิมิตเตน วา สญฺาณํ กตฺวา นี้ ที่ชื่อ ว่า รูป ได้แก่ ภัณฑะภายในห่อ. เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงแก้ห่อภัณฑะออก นับดู แล้วกำหนดไว้ว่า เหรียญกษาปณ์เท่านี้ หรือเงินและทองเท่านี้.

ดวงตราเครื่องหมาย (ดุน) เป็นต้น ชื่อว่า นิมิต (เครื่องหมาย). เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงกำหนดเครื่องหมายทุกอย่าง ในห่อภัณฑะที่ประทับตรา


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 818

เครื่องหมายมีอาทิอย่างนี้ คือ ประทับตราด้วยดินเหนียว หรือว่า ประทับตรา ด้วยครั่ง, ห่อภัณฑะที่เขาห่อด้วยผ้าสีเขียว หรือว่า ที่เขาห่อด้วยผ้าสีเหลือง.

สองบทว่า ภิกฺขู ปฏิรูปา ได้แก่ ภิกษุทั้งหลายผู้มีความละอายมัก รังเกียจสงสัย. เพราะจะมอบไว้ในมือของพวกคนผู้มีนิสัยโลเลไม่ได้. ก็ภิกษุใด ยังไม่หลีก ไปจากอาวาสนั้นหรือยังไม่พบพวกเจ้าของ, แม้ภิกษุนั้น อย่าพึงทำ ให้เป็นมูลค่าแห่งจีวรเป็นต้น เพื่อตนเอง. แต่พึงให้สร้างเสนาสนะ หรือเจดีย์ หรือสระโบกขรณีที่เป็นของถาวร. ถ้าว่า โดยกาลล่วงไปนาน เจ้าของจึงมา ทวง, พึงบอกเขาว่า อุบาสก ของชื่อนี้ เขาสร้างด้วยทรัพย์ของท่าน, ท่าน จงอนุโมทนาเถิด. ถ้าหากว่าเขาอนุโมทนาด้วย ข้อนั้นเป็นการดี ด้วยประการ ฉะนี้, ถ้าเขาไม่อนุโมทนาด้วย กลับทวงว่า ขอท่านจงให้ทรัพย์ผมคืน พึง ชักชวนคนอื่นคืนให้ทรัพย์เขาไป.

ในคำว่า รตนสมฺมตํ วิสฺสาสํ คณฺหาติ เป็นต้น ตรัสหมาย เอาอามาสวัตถุ (ของควรจับต้องได้) เท่านั้น. ของอนามาส ไม่ควรเลย. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

รัตนสิกขาบทที่ ๒ จบ


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 819

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าบ้านในเวลาวิกาลแล้ว นั่งในที่ชุมนุมชนกล่าวดิรัจฉานกถามีเรื่อง ต่างๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องขุนพล เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของ หอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องสุรา เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการ นั้นๆ.

ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกพระสมณะ เธอสายพระศากยบุตร จึงได้เข้าบ้านในเวลาวิกาล แล้วนั่งในที่ชุมนุมชนกล่าว ดิรัจฉานกถาเรื่องต่างๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ... เรื่องความเจริญ และความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุ ทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ เข้าบ้านในเวลาวิกาลแล้วนั่งในที่ชุมนุมชน กล่าวดิรัจฉานกถามีเรื่องต่างๆ คือพูดเรื่องพระราชา ... เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ เล่า.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 820

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอเข้าบ้านในเวลาวิกาลแล้วนั่งในที่ชุมนุมชน กล่าวดิรัจฉานกถา มีเรื่องต่างๆ คือ เรื่องพระราชา ... เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย ประการนั้นๆ จริงหรือ.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้เข้าบ้านในเวลาวิกาล แล้วนั่งในที่ชุมนุมชน กล่าวดิรัจฉานกถามีเรื่องต่างๆ คือ เรื่องพระราชา ... เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วย ประการนั้นๆ เล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๔. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล เป็น ปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๗๔๕] ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไปพระนครสาวัตถีใน โกศลชนบท ได้เข้าไปถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น พวกชาวบ้านเห็นภิกษุ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 821

เหล่านั้นแล้ว ได้กล่าวอาราธนาว่า นิมนต์เข้าไปเถิดขอรับ ภิกษุเหล่านั้น รังเกียจอยู่ว่า การเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงไม่ได้เข้าไป พวกโจรได้แย่งชิงภิกษุเหล่านั้น ครั้นภิกษุเหล่านั้นไปถึง พระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตให้เข้าบ้าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้อำลาแล้ว เข้าสู่บ้านในเวลาวิกาลได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑

๑๓๔. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาแล้วเข้าไปสู่บ้านใน เวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๗๔๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถีในโกศล ชนบท ได้เข้าถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น พวกชาวบ้านเห็นภิกษุนั้นแล้ว


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 822

ได้กล่าวอาราธนาว่า นิมนต์เข้าไปเถิดขอรับ ภิกษุนั้นรังเกียจอยู่ว่า การไม่ อำลาแล้ว เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ดังนี้ จึง ไม่ได้เข้าไป พวกโจรได้แย่งชิงภิกษุนั้น ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระนครสาวัตถี แล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒

๑๓๔ ๔. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่ บ้านในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุถูกงูกัด

[๗๔๗] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุอีกรูปหนึ่งจะ เข้าไปสู่บ้านหาไฟมา แต่เธอรังเกียจอยู่ว่า การไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่ บ้านในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ดังนี้ จึงไม่ได้เข้าไป แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 823

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตไว้ ในเมื่อมีกรณียะรีบด่วนเห็นปานนั้น ไม่ต้องอำลา ภิกษุที่มีอยู่ เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาลได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๓

๑๓๔. ๓. ค. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่ บ้านในเวลาวิกาล เว้นไว้แต่กิจรีบด่วนมีอย่างนั้น เป็นรูป เป็น ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุถูกงูกัด จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๔๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ภิกษุที่ชื่อว่า มีอยู่ คือ มีภิกษุที่คนสามารถจะอำลาแล้วเข้าไปสู่บ้าน ได้.

ภิกษุที่ชื่อว่า ไม่มีอยู่ คือ ไม่มีภิกษุที่ตนสามารถจะอำลาแล้ว เข้า ไปสู่บ้านได้.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 824

ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล ได้แก่ เวลาเที่ยงวันแล้วไป ตราบเท่าถึงอรุณ ขึ้นมาใหม่.

คำว่า เข้าไปสู่บ้าน ความว่า เมื่อเดินล่วงเครื่องล้อมของบ้านที่มี เครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินล่วงอุปจารบ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

คำว่า เว้นไว้แต่กิจรีบด่วนมีอย่างนั้นเป็นรูป คือ เว้นไว้แต่มี กิจจำเป็นที่รีบด่วนเห็นปานนั้น.

บทภาชนีย์

ติกปาจิตตีย์

[๗๔๙] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเวลาวิกาล ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าไปสู่บ้าน เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เวลาวิกาล ภิกษุสงสัยอยู่ ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้าน เว้นไว้ แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าในกาล ไม่อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้าน เว้นไว้แต่มีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ในกาล ภิกษุสำคัญว่าเวลาวิกาล ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ในกาล ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ

ในกาล ภิกษุสำคัญว่าในกาล ... ไม่ต้องอาบัติ.


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 825

อนาปัตติวาร

[๗๕๐] เข้าไปสู่บ้านเพราะมีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ๑ อำลาภิกษุที่ มีอยู่แล้วเข้าไป ๑ ภิกษุไม่มี ไม่อำลา เข้าไป ๑ ไปสู่อารามอื่น ๑ ภิกษุไป สู่สำนักภิกษุณี ๑ ภิกษุณีไปสู่สำนักเดียรถีย์ ๑ ไปสู่โรงฉัน ๑ เดินไปตามทาง อันผ่านบ้าน ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

วิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทที่ ๓

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-

[ว่าด้วยการบอกลาก่อนเข้าบ้านในเวลาวิกาล]

บทว่า ติรจฺฉานกถํ ได้แก่ ถ้อยคำเป็นเหตุขัดขวางต่ออริยมรรค.

บทว่า ราชกถํ ได้แก่ ถ้อยคำอันเกี่ยวด้วยพระราชา. แม้ในโจรกถาเป็น ต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่ควรกล่าวในคำว่า สนฺตํ ภิกขุ นี้ มี นัยดังกล่าวแล้วในจาริตตสิกขาบทนั่นแล.

ถ้าว่า ภิกษุมากรูปด้วยกัน จะเข้าไปยังบ้านด้วยการงานบางอย่าง, เธอ ทุกรูปพึงบอกลากันและกันว่า วิกาเล คามปฺปเวสนํ อาปุจฺฉาม แปลว่า พวกเราบอกลาการเข้าบ้านในเวลาวิกาล. การงานนั้นในบ้านนั้นยังไม่สำเร็จ เหตุนั้น ภิกษุจะไปสู่บ้านอื่น แม้ตั้งร้อยบ้านก็ตามที, ไม่มีกิจที่จะต้องบอกลา อีก. ก็ถ้าว่า ภิกษุระงับความตั้งใจแล้ว กำลังกลับไปยังวิหาร ใคร่จะไปสู่ บ้านอื่นในระหว่างทางต้องบอกลาเหมือนกัน. ทำภัตกิจในเรือนแห่งสกุลก็ดี ที่


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 826

โรงฉันก็ดี แล้วใคร่จะเที่ยวภิกษาน้ำมัน หรือภิกษาเนยใส. ก็ถ้ามีภิกษุอยู่ ใกล้ๆ พึงบอกลาก่อนแล้วจึงไป. เมื่อไม่มี พึงไปด้วยใส่ใจว่า ภิกษุไม่มี ย่างลงสู่ทางแล้วจึงเห็นภิกษุ ไม่มีกิจที่จะต้องบอกลา แม้ไม่บอกลาก็ควรเที่ยว ไปได้เหมือนกัน. มีทางผ่านไปท่ามกลางบ้าน เมื่อภิกษุเดินไปตามทางนั้น เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักเที่ยวภิกษาน้ำมันเป็นต้น ถ้ามีภิกษุอยู่ใกล้ๆ พึง บอกลาก่อนจึงไป. แต่เมื่อใม่แวะออกกจากทางเดินไปไม่มีกิจจำเป็นต้องบอก ลา. บัณฑิตพึงทราบอุปจารแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม โดยนัยดังกล่าวแล้วใน อทินนาทานสิกขาบทนั่นแล.

ในคำว่า อนฺตรารามํ เป็นต้น ไม่ใช่แต่ไม่บอกลาอย่างเดียว, แม้ ภิกษุไม่คาดประคดเอว ไม่ห่มสังฆาฏิไป ก็ไม่เป็นอาบัติ.

บทว่า อาปทาสุ มีความว่า สีหะก็ดี เสือก็ดี กำลังมา, เมฆตั้ง เค้าขึ้นก็ดี อุปัทวะไรๆ อย่างอื่นเกิดขึ้นก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ในอันตรายเห็น ปานนี้ จะไปยังภายในบ้านจากภายนอกบ้าน ควรอยู่. คำที่เหลือในสิกขาบท นี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม จีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

วิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทที่ ๓ จบ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 827

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๔

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๗๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น ช่างงาคนหนึ่งปวารณา ต่อภิกษุทั้งหลายไว้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าใดต้องการกล่องเข็ม กระผมจะจัดกล่อง เข็มมาถวาย จึงภิกษุทั้งหลายขอกล่องเข็มเขาเป็นจำนวนมาก ภิกษุมีกล่องเข็ม ขนาดย่อม ก็ยังขอกล่องเข็มชนิดเขื่อง ภิกษุมีกล่องเข็มขนาดเขื่อง ก็ยังขอ กล่องเข็มขนาดย่อม ช่างงามัวทำกล่องเข็มเป็นจำนวนมากมาถวายภิกษุทั้งหลาย อยู่ ไม่สามารถทำของอย่างอื่นไว้สำหรับขายได้ แม้ตนเองจะประกอบอาชีพก็ ไม่สะดวก แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก.

ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเธอ สายพระศากยบุตรทั้งหลายจึงได้ไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มมาเป็น จำนวนมาก ช่างงานี้มัวทำกล่องเข็มเป็นจำนวนมากมาถวายพระเหล่านี้อยู่. จึง ไม่เป็นอันทำของอย่างอื่นขายได้ แม้ตนเองจะประกอบอาชีพก็ไม่สะดวก แม้ บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้ไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มเขา มาเป็นจำนวนมากเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มเขามากมาย จริงหรือ.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 828

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ไม่รู้จักประมาณ พากันขอกล่องเข็มเขามามากมายเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๓๕. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำกล่องเข็ม แล้วด้วยกระดูกก็ดี แล้วด้วยงาก็ดี แล้วด้วยเขาก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ต่อยเสีย.

เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๕๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า กระดูก ได้แก่ กระดูกสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง.

ที่ชื่อว่า งา ได้แก่ สิ่งที่เรียกกัน ว่างาช้าง.

ที่ชื่อว่า เขา ได้แก่ เขาสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง.

บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นให้ทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้กล่องเข็มมา ต้องต่อยให้แตกก่อน จึงแสดงอาบัติตก.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 829

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๕๓] กล่องเข็ม ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ

กล่องเข็ม ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

กล่องเข็ม ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

กล่องเข็ม ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ทุกกะทุกกฏ

ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุได้กล่องเข็มอันคนอื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๕๔] ทำลูกดุม ๑ ทำตะบันไฟ ๑ ทำลูกถวิน ๑ ทำกลักยาคา ๑ ทำไม้ป้ายยาตา ๑ ทำฝักมีด ๑ ทำธมกรก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๔


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 830

สูจิฆรสิกขาบทที่ ๔

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-

การต่อยนั่นแหละ ชื่อ เภทนกะ. เภทนกะนั้น มีอยู่แก่ปาจิตตีย์นั้น ; เพราะเหตุนั้น ปาจิตตีย์นั้น จึงชื่อว่า เภทนกะ.

บทว่า อรณิเก ได้แก่ แม่ตะบันไฟและลูกตะบันไฟ.

บทว่า วีเถ แปลว่า ลูกถวิน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้ แล

สูจิฆรสิกขาบทที่ ๔ จบ


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 831

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๗๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารานของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรกำลังนอนอยู่บนเตียงนอนอันสูง. พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกตามเสนาสนะ พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ผ่านเข้าไปทางที่อยู่ของ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรๆ ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรเตียงนอนของข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.

จึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับจากที่นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทราบโมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย ครั้นแล้ว ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยาย ... แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๓๖. ๕. อนึ่ง ภิกษุ ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่ พึงทำ ให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอทำ ให่ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.

เรื่องอุปนันทศากยบุตร จบ


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 832

สิกขาบทวิภังค์

[๗๕๖] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงการทำขึ้น.

ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าใน ขา ๑ เตียงมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑ เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑.

ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ ตั่งมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรด แม่แคร่ ๑.

บทว่า ผู้ทำให้ คือ ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี.

คำว่า พึงทำให้มีแท้เพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่ แม่แคร่เบื้องต่ำ คือ ยกเว้นแม่แคร่เบื้องต่ำ.

ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เกินประมาณนั้น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้เตียงตั่งนั้นมา ต้องตัดให้ได้ประมาณก่อน จึงแสดง อาบัติตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๕๗] เตียงตั่ง คนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

เตียงตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เตียงตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ คนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

เตียงตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 833

ทุกะทุกกฏ

ภิกษุทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

ภิกษุได้เตียงตั่งที่คนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๕๘] ทำเตียงตั่งได้ประมาณ ๑ ทำเตียงตั่งหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัดเสียก่อนแล้ว ใช้สอย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ

มัญจสิกขาบทที่ ๕

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-

ปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า เฉทนกะ มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

ในคำว่า ฉินฺทิตฺวา ปริภุญฺชติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุ ไม่ประสงค์จะตัด จะฝังลงในพื้นดินแสดงประมาณไว้ข้างบน หรือถมพื้นดิน ให้สูงขึ้นแล้วใช้สอย หรือจะยกขึ้นวางบนคานกระทำให้เป็นแคร่ใช้สอย ควร ทุกอย่าง. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖.

มัญจสิกขาบทที่ ๕ จบ


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 834

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๕๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น พวกชาวบ้านเที่ยวไปทาง วิหารเห็นเข้าแล้ว ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น เหมือนพวก คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ทำเทียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่นเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 835

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๑๓๗. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เป็นของ หุ้มนุ่น เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้รื้อเสีย.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๖๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าใน ขา ๑ เตียงมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑ เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑.

ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ๔ ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ ตั่งมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรด แม่แคร่ ๑.

ที่ชื่อว่า นุ่น ได้แก่นุ่น ๓ ชนิด คือ นุ่นเกิดจากต้นไม้ ๑ นุ่นเกิด จากเถาวัลย์ ๑ นุ่นเกิดจากดอกหญ้าเลา ๑.

บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ของมา ต้องรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 836

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๖๑] เตียงตั่งคนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เตียงตั่งตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เตียงตั่งคนอื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เตียงตั่งคนอื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ได้เตียงตั่งอันคนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๖๒] ทำสายรัดเข่า ๑ ทำประคดเอว ๑ ทำสายโยกบาตร ๑ ทำ ถุงบาตร ๑ ทำผ้ากรองน้ำ ๑ ทำหมอน ๑ ได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมา ทำลายก่อนใช้สอย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ

ตูโลนัทธสิกขาบทที่ ๖

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

เตียงและตั่งที่ชื่อว่าหุ้มนุ่น เพราะอรรถว่า เป็นที่มีนุ่นถูกหุ้มไว้. มี คำอธิบายว่า ภิกษุยัดนุ่นแล้วหุ้มด้วยผ้าลาดพื้นข้างบน. คำที่เหลือในสิกขาบท นี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖.

ตูโลนันธสิกขาบทที่ ๖ จบ


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 837

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๖๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มี ประมาณ ให้ห้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง แห่งเตียงบ้าง แห่งตั่งบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มีประมาณเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มีประมาณ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ใช้ผ้าปูนั่งไม่มีประมาณเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 838

พระบัญญัติ

๑๓๘. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง ต้องให้ทำ ให้ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบ ครึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ ตัดเสีย.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระอุทายี

[๗๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุทายีเป็นผู้มีร่างกายใหญ่ ท่าน ปูผ้าสำหรับนั่งลงตรงเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งดึงออกอยู่โดย รอบ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอุทายีในขณะนั้นว่า ดูก่อนอุทายี เพราะเหตุไร เธอปูผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงดึงออกโดยรอบ เหมือนช่างหนังเก่า.

ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า จริงดั่งพระดำรัส พระพุทธเจ้าข้า เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่ง แก่ภิกษุทั้งหลายเล็กเกินไป.

พระพุทธานุญาตพิเศษ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชายแห่งผ้าสำหรับนั่งเพิ่มอีกคืบหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 839

พระอนุบัญญัติ

๑๓๘. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง พึงให้ทำให้ ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไปเป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๖๕] ที่ชื่อว่า ผ้าสำหรับนั่ง ได้แก่ผ้าที่เขาเรียกกันว่าผ้ามีชาย.

บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้ ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้เกินประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏ ในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้าสำหรับนั่งนั้นมา พึงตัดก่อนจึงแสดงอาบัติ ตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๖๖] ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 840

ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ได้ผ้าสำหรับนั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๖๗] ภิกษุทำผ้าสำหรับนั่งได้ประมาณ ๑ ทำผ้าสำหรับนั่งหย่อน กว่าประมาณ ๑ ได้ผ้าสำหรับนั่ง ที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วเกินประมาณมาตัดเสีย แล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

นิสีทนสิกขาบทที่ ๗

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า นิสีทนํ อนุญฺาตํ โหติ มีความว่า นิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ณ ที่ไหน? (ทรงอนุญาตไว้) ในเรื่อง ปณีตโภชนะ ในจีวรขันธกะ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจีวร. ขันธกะนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย เพื่อรักษาจีวร เพื่อรักษาเสนาสนะ (๑) ดังนี้.


(๑) วิ. มหาวคฺค ๕/๒๑๖.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 841

สองบทว่า เสยฺยถาปิ ปุราณสิโกฏฺโ มีความว่า เปรียบเหมือน นายช่างหนังเก่า. เหมือนอย่างว่า นายช่างทำหนังเก่าดึงออก คือ รีดออก ทางโน้นทางนี้ ด้วยคิดว่า เราจักทำหนังให้ขยายออก ฉันใด, แม้พระอุทายี นั้น ก็ดึงผ้านิสีทนะนั้นออกฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะ พระอุทายีนั้นอย่างนี้.

ข้อว่า นิสีทนนฺนาม สทสํ วุจฺจติ มีความว่า ภิกษุปูผ้าเช่นกับ สันถัตลงแล้ว ผ่าที่ ๒ แห่งในเนื้อที่ประมาณคืบ ๑ โดยคืบพระสุคตที่ชาย ด้านหนึ่งให้เป็น ๓ ชาย, นิสีทนะนั้นเรียกกันว่าผ้ามีชายด้วยชายเหล่านั้น. คำ ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฎฐาน ๖.

นิสีทนสิกขาบทที่ ๗


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 842

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าปิดฝีแล้ว จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ ปล่อย
เลื้อยไปข้างหน้าข้างหลังบ้างเที่ยวไป บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . ต่างก็
เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ
เล่า. . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน
ที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 843

พระบัญญัติ

๑๓๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี พึงให้ทำให้ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต เธอให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๖๙] ที่ชื่อว่า ผ้าปิดฝี ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตแก่ภิกษุอาพาธ เป็นฝีเป็นสุกใส เป็นโรคอันมีน้ำหนองน้ำเหลืองเปรอะเปื้อน หรือเป็นฝีดาษ ที่ใต้สะดือลงไป เหนือหัวเข่าขึ้นมา เพื่อจะได้ใช้ปิดแผล.

บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้ ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น คือ โดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ด้วย คืบสุคต.

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๗๐] ผ้าปิดฝี ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ผ้าปิดฝี คนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 844

ผ้าปิดฝี ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ผ้าปิดฝี ผู้อื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อานาปัตติวาร

[๗๗๑] ทำผ้าปิดฝีได้ประมาณ ๑ ทำผ้าปิดฝีให้หย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้เกินประมาณมาตัดแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอน ก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ

กัณฑุปฏิจฉาที สิกขาบทที่ ๘

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า กณฺฑุปฏิจฺฉาที อนุญฺาตา โหติ มีความว่า ผ้าปิดฝี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ในที่ไหน? (ทรงอนุญาตไว้) ในเรื่องพระเวฬัฏฐสีสะในจีวรขันธกะ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุผู้มีอาพาธเป็นฝีก็ดี เป็น สุกใสก็ดี เป็นโรคอันมีน้ำหนองน้ำเหลืองเปรอะเปื้อนก็ดี เป็นลำลาบเพลิงก็ดี ดังนี้.


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 845

คำว่า ยสฺส อโธนาภิ อพฺภชานุมณฺฑลํ ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาต แก่ภิกษุผู้เป็นอาพาธที่ภายใต้สะดือลงไป เหนือมณฑลเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา. หิด เปื่อย ชื่อว่า กัณฑุ. ต่อเม็ดเล็กๆ มีเมล็ดโลหิต ชื่อว่า ปีฬกา. น้ำเหลือง ไม่สะอาดไหลออกด้วยอำนาจริดสีดวงทวารบานทะโรค และเบาหวานเป็นต้น ชื่อว่า โรคน้ำเหลือเสีย. อาพาธเป็นเม็ดยอดใหญ่ ท่านเรียกว่า เป็นลำลาบ เพลิง. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖.

กัณฑุปฏิจฉาทีสิกขาบทที่ ๘ จบ


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 846

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๗๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว จึงใช้ผ้า อาบน้ำฝนไม่มีประมาณ ปล่อยเลื้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้นุ่งผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณ จริงหรือ.

พระฉัพพัคคีย์ทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉน พวก เธอจึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ...


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 847

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๑๔๐. ๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงให้ทำให้ได้ ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ ครึ่งด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้น เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ ตัดเสีย.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๗๓] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำฝน ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ สี่เดือนแห่งฤดูฝน.

บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้ ประมาณ นี้ประมานในคำนั้น คือ โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วย คืบสุคต.

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้ล่วงประมาณนั้น ไป เป็นทุกกฏใน ประโยคเป็นปาจิตตีย์ ด้วยได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๗๔] ผ้าอาบน้ำฝน ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.

ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 848

ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๗๕] ทำผ้าอาบน้ำฝนได้ประมาณ ๑ ทำผ้าอาบน้ำฝนหย่อนกว่า ประมาณ ๑ ได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัดแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็น ผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูที่นอน ทำเป็นผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

วัสสิกสาฏิก สิกขาบทที่ ๙

วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้.

คำว่า วสฺสิกสาฏิกา อนุญฺาตา โหติ มีความว่า ผ้าอาบน้ำฝน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ในที่ไหน? ทรงอนุญาตไว้ในเรื่องนางวิสาขา ในจีวรขันธกะ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ในจีวรขันธกะนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน ดังนี้. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบท นี้ มีสมุฎฐาน ๖.

วัสสิกสาฏกสิกขาบทที่ ๙ จบ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 849

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระนันทะ

[๗๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระนันทะโอรสพระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ทรงโฉมเป็นที่ต้อง ตาต้องใจ ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๔ องคุลี ท่านทรงจีวรพระสุคต ภิกษุ เถระได้เห็นท่านพระนันทะมาแต่ไกล ครั้นแล้วลุกจากอาสนะสำคัญว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ท่านพระนันทะเข้ามาใกล้จึงจำได้ แล้วเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระนันทะจึงได้ทรงจีวรเท่าจีวรของพระสุคตเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระนันทะว่า ดูก่อนนันทะ ข่าว ว่า เธอทรงจีวรเท่าจีวรสุคต จริงหรือ

ท่านพระนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนนันทะ ไฉนเธอจึง ได้ทรงจีวรเท่าจีวรของสุคตเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุนชนที่เลื่อม ใสแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 850

พระบัญญัติ

๑๔๑. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวรหรือ ยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของ พระสุคตในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต นี้ ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต.

เรื่องพระนันทะ จบ

สิกขาบทวิภังค์

[๗๗๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มีประมาณเท่าสุคตจีวร คือ โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต.

บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้จีวรมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.

บทภาชนีย์

จตุกปาจิตตีย์

[๗๗๘] จีวรตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์

จีวรผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 851

ทุกะทุกกฏ

ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

ได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

[๗๗๙] ทำจีวรหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมา ตัดเสียแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นผ้าม่าน ก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล. รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙ จบ

บทสรุป

[๗๘๐] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายก ขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรมคือ ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่าน ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทนี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาจิตติยกัณฑ์ จบ


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 852

นันทเถรสิกขาบทที่ ๑๐

วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า จตุรงฺคุโลมโก คือ มีขนาดต่ำกว่า ๔ นิ้ว (พระนันทะมี ขนาดต่ำกว่าพระศาสดา ๔ นิ้ว). คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบท นี้ มีสมุฏฐาน ๖.

นันทเถรสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ราชวรรคที่ ๙ จบบริบูรณ์

ตามวรรณนานุกรม

คำว่า อุทฺทิฏฺา โข เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

ขุททกวรรณนาในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบบริบูรณ์

หัวข้อประจำเรื่อง

๑. อันเตปุรสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าสู่พระราชฐาน

๒. รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรตนะ

๓. วิกาเลคามปเวสนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล

๔. สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็ม

๕. มัญจสิกขาบท ว่าด้วยเตียงตั่งเกินประมาณ

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยเตียงตั่งยัดนุ่น

๗. นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าสำหรับนั่ง

๘. กัณฑุปฏิจฉาทีสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี

๙. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน

๑๐. สุคตจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการทำจีวรเท่าสุคตจีวร