การผูกใจในทานเป็นอันถูกขจัดไป
โดย เมตตา  14 เม.ย. 2553
หัวข้อหมายเลข 15889

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 658

ในกาลใด เมื่อไทยธรรม (ของที่จะให้) มีอยู่แก่พระมหาโพธิสัตว์ และเมื่อยาจกปรากฏ จิตในกาลให้ไม่แล่นไปไม่ก้าวไป. ด้วยเหตุนั้น ควรแน่ใจในข้อนั้นได้ว่า

เมื่อก่อนเรามิได้สะสมในการให้เป็นแน่. ดังนั้นในบัดนี้ ความใคร่ที่จะให้ของเราจึง

ไม่ตั้งอยู่ในใจ. พระมหาโพธิสัตว์นั้น บริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละมีผู้ขอ ยินดีในการแจกทาน ย่อมให้ทานด้วยคิดว่า ต่อแต่นี้ไป เราจักมีใจยินดีในทาน

เป็นอย่างยิ่ง. เอาเถิดเราจักให้ทาน ตั้งแต่วันนี้ไป. การผูกใจในทานข้อที่หนึ่ง

เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไปด้วยประการฉะนี้.



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 14 เม.ย. 2553

2. อนึ่ง พระมหาสัตว์ เมื่อไทยธรรมมีน้อยและบกพร่อง ย่อมสำเหนียก

ว่า เมื่อก่อนเพราะเราไม่ชอบให้ บัดนี้เราจึงขาดแคลนปัจจัยอย่างนี้. เพราะ

ฉะนั้น บัดนี้แม้เราจะเบียดเบียนตนด้วยไทยธรรม ตามที่ได้นิดหน่อยก็ตาม

เลวก็ตาม จะต้องให้ทานจนได้. เราจักบรรลุทานบารมีแม้ต่อไปจนถึงที่สุด.

พระมหาสัตว์นั้น บริจาค มีฝ่ามือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ของยินดี

ในการแจกจ่ายทาน ให้ทานตามมีตามได้. การผูกใจในทานข้อที่ ๒. เป็น

อันถูกขจัดไป ตัดขาดไป ด้วยอาการอย่างนี้.


ความคิดเห็น 2    โดย เมตตา  วันที่ 14 เม.ย. 2553
3. อนึ่ง พระมหาสัตว์ เมื่อจิตใคร่จะไม่ให้เกิดขึ้นเพราะเสียดายไทย-

ธรรม ย่อมสำเสนียกว่า ดูก่อนสัตบุรุษ ท่านปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ

อย่างสูงสุด ประเสริฐกว่าสิ่งทั้งปวงมิใช่หรือ. เพราะฉะนั้นท่านควรให้ไทย-

ธรรมที่พอใจอย่างยิ่ง เพื่อสัมมาสัมโพธิญาณนั้นเท่านั้น. พระมหาสัตว์นั้น

บริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน.

การผูกใจทานข้อที่ ๓ ของพระมหาสัตว์ เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไป ด้วย

อาการอย่างนี้. (แล้วท่านทั้งหลายปรารถนาอะไร บรรลุมรรคผล หรือ ทรัพย์)


ความคิดเห็น 3    โดย เมตตา  วันที่ 14 เม.ย. 2553
อนึ่ง พระมหาสัตว์เมื่อให้ทาน ย่อมเห็นความสิ้นเปลืองของไทย-

ธรรมในกาลใด. ย่อมสำเหนียกว่า สภาพของโภคะทั้งหลายเป็นอย่างนี้ คือ

มีความสิ้นไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่ทำทาน

เช่นนั้นมาก่อน. โภคะทั้งหลายจึงปรากฏความในรูปอย่างนี้. เอาเถิดเราจะ

พึงให้ทานด้วยไทยธรรมตามที่ได้น้อยก็ตาม ไพบูลย์ก็ตาม. เราจักบรรลุถึง

ที่สุดแห่งทานบารมีต่อไป. พระมหาสัตว์นั้น บริจาค มีมือสะอาด ยินดี

ในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ให้ทานด้วยของตามที่ได้.