เกี่ยวกับกาเมสุมิจฉาจาร เรามักจะได้เห็นหรือมีการกล่าวถึงหญิงอันเป็นวัตถุต้องห้าม สำหรับชาย เช่น หญิง ๓ จำพวกใหญ่ หรือ ๒๐ จำพวก โดยขยายกันมาบ้างแล้ว อยาก เรียนถามว่า มีส่วนไหนในชั้นพระไตรปิฎก หรือ อรรถกถา หรือ ฎีกา อนุฎีกา ที่แสดงถึง ชายอันเป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงบ้างหรือไม่ครับ เพราะเท่าที่เคยอ่านพบจาก.....
"สารานุกรมพระพุทธศาสนา ประมวลจากพระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส" พิมพ์ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ มีกล่าวไว้ว่า (ขออนุญาตคัดลอกมาอ้างอิง และเพื่อไม่ให้เยิ่นยาวไป จึงขอตัดตอนมาเฉพาะส่วนที่ตรงประเด็นเพียงบางส่วน)
ชายก็เป็นวัตถุที่ห้ามของหญิงเหมือนกัน แต่ท่านไม่ได้พรรณนายืดยาว, เมื่อยกขึ้นกล่าวก็ได้ ๒ จำพวกดังนี้: ชายอื่นนอกจากสามีเป็นที่ห้ามของหญิงมีสามี, ชายที่จารีตห้ามเป็นที่ห้ามของหญิงทั้งปวง ชายที่จารีตห้ามนั้น พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในฝ่ายวัตถุที่ห้ามของชายเถิด, ในที่นี้จะแสดงแต่ตัวอย่าง:
ภิกษุสามเณร เป็นผู้อยู่ใต้พระบัญญัติในพระพุทธศาสนา มีสิกขาบท ห้ามร่วมประเวณี และเป็นผู้ที่กฎหมายบ้านเมืองห้ามไม่ให้หญิงร่วมประเวณีด้วย, หญิงผู้ประพฤติล่วงข้อห้ามเป็นวัตถุให้ภิกษุต้องประถมปาราชิก ต้องโทษแผ่นดินดุจเดียวกันกับชาย; ถึงนักพรต ผู้ถือเมถุนวิรัติในศาสนาอื่นก็เป็นวัตถุแห่งกาเมสุมิจฉาจารเหมือนกัน หญิงยินยอมร่วม สังวาสด้วยชาย ผู้เป็นวัตถุที่ห้ามของตน เป็นกาเมสุมิจฉาจาร เว้นไว้แต่ตนไม่ยินยอม แต่ชายทำพลการ ตนไม่อาจต่อสู้หรือหลบหลีก ดังนี้ไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจารแก่หญิง เป็นแต่ชายฝ่ายเดียว ส่วนหญิงที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน เมื่อลอบลักสมคบกับชายที่ไม่ต้องห้ามในพระคัมภีร์ ท่านก็ไม่ปรับเป็นกาเมสุมิจฉาจาร นอกจากนี้แล้ว ยังได้พบความบางตอนจากหลักสูตรวิชาเบญจศีล-เบญจธรรม (ธรรม ศึกษาตรี) แสดงถึงชายที่จารีตห้าม อันเป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิง แสดงไว้ว่า ชายต้องห้ามสำหรับหญิง มี ๒ ประเภท คือ
๑. ชายอื่นนอกจากสามี เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงที่มีสามีแล้ว
๒. ชายที่จารีตห้าม เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงทั้งปวง
ชายที่จารีตห้ามนั้น มี ๓ จำพวก คือ
๑. ชายที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของตระกูล เช่น ปู่ พ่อ ตา ทวด
๒. ชายที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของธรรมเนียม เช่น รักพรต นักบวช
๓. ชายที่กฏหมายบ้านเมืองห้าม เช่น พระภิกษุ สามเณร
ชายที่ไม่เป็นวัตถุแห่งกาเมสุมิจฉาจารของหญิง มี ๔ คือ
๑. ชายที่ไม่มีภรรยา
๒. ชายที่จารีตไม่ห้าม
๓. สามีของตน
๔. ชายที่ทำโดยพลการพ้นอำนาจของหญิง (เช่นชายที่ข่มขืน)
ที่สงสัยและต้องการเรียนถามคือ ตรงข้อความสีน้ำเงิน
๑. ชายที่จารีตห้ามนั้น มีแสดงไว้คลุมไปถึงชายที่มี พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ดูแลด้วย ประเด็นนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ? ซึ่งถ้าเป็นดังนี้แล้ว หากหญิงที่ยังไม่มีสามี (หญิงมี สามีแล้วไม่กล่าวถึงเพราะผิดแน่นอน) ไปยุ่งเข้า ก็ต้องปรับกาเมฯ หญิงนั้นด้วยหรือ ไม่ครับ? แต่ถ้าชายนั้นไม่มีจารีตห้าม จารีตกรณีนี้เน้นไปที่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้ ปกครอง ดังที่มีแสดงไว้ (ซึ่งก็ยังนึกไม่ออกว่าจะหมายถึง พ่อ แม่ ฯลฯ ตายหมดหรือ อย่างไร) จึงไม่ปรับกาเมฯ หญิงนั้น ปรับแต่ชายฝ่ายเดียว
๒. ชายที่ไม่ต้องห้าม คือ ไม่เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิง ซึ่งระบุไว้ประการหนึ่ง คือ ชายที่ไม่มีภรรยา ดังนี้แล้ว หากชายนั้นมีภรรยาแล้วหญิงนั้นรู้อยู่แก่ใจ และจงใจไปยุ่งเกี่ยว เช่น เป็นเมียน้อย โดยที่เมียหลวงไม่ยินยอม (แต่กรณีนี้เมียหลวงก็ไม่ได้เป็นเจ้าของผัสสะสามีอีก แต่สามีเป็นเจ้าของผัสสะภรรยา) ดังนี้แล้ว หญิงที่จงใจเป็นเมียน้อย ก็น่าจะต้องปรับกาเมฯ ด้วยหรือไม่ครับ?
ซึ่งถ้าอ้างอิงจากกระทู้ตามลิ๊งค์ข้างล่างนี้ ตรงข้อ ๑.๒ จะไม่ปรับกาเมฯ ฝ่ายหญิง แต่ว่า ประเด็นในกระทู้นั้นก็ไม่ได้กล่าวไว้ชัดว่าหญิงนั้นรู้หรือไม่ว่าชายมีภรรยาแล้ว คำตอบจึง ออกมาว่า หญิงไม่ผิดกาเมฯ
คลิกอ่าน ..
ศีลข้อกาเมสุมิฉาจาร_2
แต่ถ้าเป็นว่าหญิงนั้นรู้และจงใจละเมิดชายที่มีภรรยาแล้วโดยยอมเป็นเมียน้อย เมียน้อย จะผิดกาเมฯ หรือไม่
เท่าที่ผู้ตอบได้ศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา ในเรื่องศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารมีข้อสรุป ตามความเข้าใจดังนี้ ศีลข้อนี้บัญญัติมุ่งเจาะจงเป็นที่เพศชาย เพราะส่วนใหญ่เพศชายเป็นฝ่ายกระทำ เพศหญิงเป็นฝ่ายถูกกระทำและเสียหาย ถึงขั้นการมีลูกได้ แต่เพศหญิงที่คู่ครอง มีสามี มีเจ้าของแล้ว เมื่ออยู่ร่วมกับชายอื่นจึงผิดกาเมฯ
ดังนั้นข้อความในอรรถกถาทั้งหลายจึงอธิบายวัตถุของกาเมสุมิจฉาจาร คือ หญิง ๒๐จำพวก คือ ชายจะละเมิดหญิงใดๆ ไม่ได้เว้นแต่ภรรยาของตนเท่านั้น แต่สำหรับหญิงที่ยังไม่มีสามี เมื่ออยู่ร่วมกับชาย ตนเองเป็นฝ่ายเสียหาย และพ่อแม่ไม่ใช่เจ้าของผัสสะจึงไม่ผิดกาเมฯ ส่วนหญิงที่มีสามีแล้ว สามีเป็นเจ้าของผัสสะ เมื่ออยู่ร่วมกับชายอื่นนอกจากสามีตน ชื่อว่า ผิดกาเมฯ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความจากอรรถกถาที่ ศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร....
ขอบคุณครับ ข้อความที่คุณ study ยกมา เคยได้เห็นและอ่านมาบ้าง จึงไม่ติดใจสงสัยอะไร แต่พอตนเองได้เห็นข้อความที่ยกมาอ้างอิงเป็นตัวอย่างในคำถามที่ได้ตั้งกระทู้เลยทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ชายที่จารีตต้องห้ามประการต่างๆ นั้น มาจากไหนหรือมีการแต่งเติมกันเองขึ้นในภายหลัง ซึ่งถ้าใช้เกณฑ์นี้จะทำให้การพิจารณาความในการปรับกาเมฯ แก่ฝ่ายหญิงนั้น แตกต่างไปจากที่เคยเลยทีเดียว เพราะชายก็มีจารีตประการต่างๆ ต้องห้ามไว้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กรณีชายไปมีเมียน้อย (โดยเมียหลวงไม่ยินยอม) และหญิงที่เป็นเมียน้อยก็เป็นอิสระแก่ตนไม่มีผู้พิทักษ์ และรู้อยู่ว่าชายนั้นมีเมียแล้ว แต่ก็ยังจงใจที่จะไปเป็นเมียน้อย เช่นนี้ แสดงว่า ชายก็ไม่ผิดกาเมฯ เพราะเมียหลวงไม่ได้เป็นเจ้าของผัสสะ และหญิงที่ยินยอมเป็นเมียน้อยก็ไม่ผิดกาเมฯ เพราะไม่มีผู้พิทักษ์ กรณีนี้น่าพิจารณาอย่างยิ่งทีเดียวว่าเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินออกมาแบบนี้ ถูกต้องแล้วใช่หรือไม่ครับ
ต้องขอประทานโทษเป็นอย่างยิ่ง ข้อความในความเห็นที่ ๒ มีผิดพลาดไม่สมบูรณ์ ให้ใช้ข้อความในความเห็นนี้แทนครับ หรือถ้าจะกรุณาแก้ไขหรือลบความเห็นที่สองออกไป ก็จะช่วยให้ผู้อ่านไม่สับสน ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ ข้อความที่คุณ study ยกมา เคยได้เห็นและอ่านมาบ้าง จึงไม่ติดใจสงสัยอะไร แต่พอตนเองได้เห็นข้อความที่ยกมาอ้างอิงเป็นตัวอย่างในคำถามที่ได้ตั้งกระทู้เลยทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ชายที่จารีตต้องห้ามประการต่างๆ นั้น มาจากไหนหรือมีการแต่งเติมกันเองขึ้นในภายหลัง ซึ่งถ้าใช้เกณฑ์นี้จะทำให้การพิจารณาความในการปรับกาเมฯ แก่ฝ่ายหญิงนั้น แตกต่างไปจากที่เคยเลยทีเดียว เพราะชายก็มีจารีตประการต่างๆ ต้องห้ามไว้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กรณีชายไปมีเมียน้อย (โดยเมียหลวงไม่ยินยอม) และหญิงที่เป็นเมียน้อยก็เป็นอิสระแก่ตนไม่มีผู้พิทักษ์ และรู้อยู่ว่าชายนั้นมีเมียแล้ว แต่ก็ยังจงใจที่จะไปเป็นเมียน้อย กรณีเช่นนี้ แสดงว่า ชายก็ไม่ผิดกาเมฯ เพราะเมียหลวงไม่ได้เป็นเจ้าของผัสสะของสามี เมื่อสามีไปยุ่งกับเมียน้อยซึ่งเป็นหญิงที่อิสระแก่ตนเองไม่มีผู้พิทักษ์ ชายจึงไม่ผิดกาเมฯ ส่วนหญิงที่ยินยอมเป็นเมียน้อยก็ไม่ผิดกาเมฯ แม้จะรู้แก่ใจว่าชายนั้นมีเมียแล้ว และเมียของชายนั้นก็ไม่ยินยอมที่สามีมีเมียน้อย แต่หญิงที่เป็นเมียน้อยก็ไม่ถือว่าตนผิดกาเมฯ เพราะไม่ปรับกาเมฯ แก่ฝ่ายหญิง กรณีนี้น่าพิจารณาอย่างยิ่งทีเดียวว่าเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินออกมาแบบนี้ ถูกต้องแล้วใช่หรือไม่ครับ
ประเด็นนี้ยังไม่กล่าวไปถึงอกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นนะคับ ซึ่งย่อมเป็นอกุศลจิตแน่นอนอยู่แล้ว แต่ประเด็นในกระทู้นี้คือข้อกำหนดในการปรับกาเมฯ ว่าอย่างไรจึงเรียกว่าล่วงกาเมฯ หรือผิดศีลข้อ ๓ โดยเงื่อนไขประการต่างๆ ดังที่ยกมาแล้ว
ชายไปมีเมียน้อย ไม่ผิดกาเมฯ เพราะ กระทำตามจารีตประเพณี คือมารดาบิดาฝ่าย หญิง (เมียน้อย) อนุญาต ไม่เกี่ยวกับเมียหลวงครับ
กรณีที่ยกตัวอย่าง หมายถึงการลักลอบครับ ไม่นับกรณีที่มีการรับรู้ยินยอมกัน อย่างเช่นสมัยก่อนพระราชาก็มีภรรยาหลายคน ซึ่งทุกฝ่ายยินยอมพร้อมใจ ก็ไม่ถือว่าผิดกาเมฯ
และในตัวอย่าง เมียน้อยนั้นเป็นอิสระแก่ตน คือ ไม่มีผู้พิทักษ์แล้ว กรณีนี้น่าเห็นใจเมียหลวงนะครับ รู้ทั้งรู้ว่าสามีแอบไปมีเมียน้อย โดยลักลอบกัน แต่พอตนเองจะไปมีสามีน้อยบ้าง ตนเองกลับผิดศีล
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญความสันโดษ คือมีคู่ครองคนเดียวค่ะ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 5 โดย เรียนถาม
กรณีที่ยกตัวอย่าง หมายถึงการลักลอบครับ ไม่นับกรณีที่มีการรับรู้ยินยอมกัน อย่างเช่นสมัยก่อนพระราชาก็มีภรรยาหลายคน ซึ่งทุกฝ่ายยินยอมพร้อมใจ ก็ไม่ถือว่าผิดกาเมฯ
ถ้ายังไม่ได้รับอนุญาต ยินยอมจากผู้ปกครองของภรรยาน้อย ผู้ชายผิดกาเม ผู้หญิงไม่ผิดถ้าผู้หญิงยังไม่มีสามี
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 6 โดย เรียนถาม และในตัวอย่าง เมียน้อยนั้นเป็นอิสระแก่ตน คือ ไม่มีผู้พิทักษ์แล้ว กรณีนี้น่าเห็นใจเมียหลวงนะครับ รู้ทั้งรู้ว่าสามีแอบไปมีเมียน้อย โดยลักลอบกัน แต่พอตนเองจะไปมีสามีน้อยบ้าง ตนเองกลับผิดศีล สามีเป็นเจ้าของผัสสะ จึงต้องเป็นอย่างนั้น
เรียนถามทางมูลนิธิฯ เพิ่มเติม
เท่าที่ตนเองเคยทราบมาก็เป็นเช่นเดียวกันกับความเห็นที่ 1
แต่จากเนื้อหาที่ได้ตั้งกระทู้ถามซึ่งคัดลอกมาจากแหล่งอ้างอิงทั้งสอง คือ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส และ หลักสูตรวิชาเบญจศีล-เบญจธรรม (ธรรมศึกษาตรี) ที่มีแสดงไว้เกี่ยวกับชายที่มีจารีตรักษา และชายที่ไม่เป็นวัตถุแห่งกาเมฯ ของหญิง แสดงว่าในส่วนนี้ไม่มีกล่าวไว้ในอรรถกถาใดๆ ใช่ไหมครับ แต่เป็นการเพิ่มเติมเข้ามาเองภายหลัง ซึ่งขัดกับพระไตรปิฎกและอรรถกถา ใช่หรือไม่ครับ
ขอตอบความเห็นที่ ๑๐
ถูกครับ ไม่มีหลักฐานที่มาในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
เท่าที่ได้ลองค้นหาดู พบอรรถกถาที่แสดงไว้ดังนี้ (ขออนุญาตคัดมาเพียงบางส่วนเฉพาะที่เกี่ยวกับกาเมสุมิจฉาจาร)
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่...
ว่าด้วยความเห็นชอบ [สัมมาทิฏฐิสูตร]
จากอรรถกถานี้ แสดงไว้ว่าชายต้องห้ามสำหรับหญิง๑๒ จำพวก คือ ชายอื่นที่ไม่ใช่สามี ตน แสดงว่าหญิงที่มีสามีแล้ว ถ้าไปยุ่งเกี่ยวกับชายอื่นนอกจากสามีตน หญิงนั้นชื่อว่าผิด กาเมฯแต่ไม่มีแสดงไว้ถึงชายต้องห้ามของหญิง ๘ จำพวกแรก ดังนั้นหากหญิง ๘ จำพวก แรกซึ่งยังไม่มีสามี แล้วไปเป็นเมียน้อยชายอื่นที่มีภรรยาแล้ว หญิงนั้นไม่ชื่อว่าผิดกาเมฯ
แต่ชายนั้นผิด หากไม่ได้มีการรับรู้ยินยอมจากผู้ปกครองหญิงนั้น แต่ถ้ามีการรับรู้ ยินยอม ชายนั้นไม่ผิดแม้ชายจะมีเมียอยู่แล้ว เนื่องจากเมียหลวงไม่ได้เป็นเจ้าของผัสสะ ของชาย (ซึ่งตรงความเป็นเจ้าของผัสสะนี้ ยังไม่ได้สืบค้นว่ามีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก หรืออรรถกถาในส่วนใด หากทางมูลนิธิฯ จะกรุณานำมาแสดงจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง)
ประการสำคัญอีกอย่างก็คือ ถ้าเช่นนั้น หญิง 8 จำพวกนี้ หากไปยุ่งเกี่ยวกับพระ ด้วย ความเต็มใจ (มิได้มีเจตนากล่าวล่วงเกินแต่อย่างใด เพียงแต่ยกตัวอย่างเพื่อพิจารณา) หญิงนั้นก็ย่อมไม่ชื่อว่าผิดกาเมฯ เพราะไม่ได้มีแสดงไว้ถึงชายที่จารีตรักษาแต่อย่างใด จึงไม่ปรับกาเมฯฝ่ายหญิง แต่ว่าพระที่ไปยุ่งเกี่ยวกับหญิงนั้นย่อมผิดเพราะในพระวินัย บัญญัติมีแสดงไว้ จากความเข้าใจที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถูกต้องหรือไม่ครับ
หญิงที่ไม่มีสามี ย่อมเป็นเจ้าของผัสสะของตัวเอง (ผู้ปกครองของหญิงนั้น เช่น พ่อ แม่ ญาติ ...ฯลฯ ไม่ใช่เจ้าของผัสสะของหญิงนั้น) ดังนั้น หญิงที่ยังไม่มีสามี จะมอบผัสสะของตนเอง ให้ชายใดก็ได้ ไม่ผิดศีลข้อกาเมฯ ผู้หญิงมีผัสสะ เป็นทรัพย์ ครับ ถ้ายังไม่มีสามี ก็คือยังไม่ได้มอบทรัพย์นั้นให้ใคร เป็นธรรมชาติของเพศหญิงและเพศชายมาตั้งแต่โลกมนุษย์เริ่มมีภาวะรูปแล้ว เพราะในช่วงต้นกัปป์นั้น มนุษยโลก ยังไม่มีอิตถีภาวะรูปและปุริสสภาวะรูป ครับ
หญิง มีผัสสะ เป็นทรัพย์ มีอริยทรัพย์ เป็นทรัพย์อันประเสริฐ
ตอบความเห็นที่ 14 ค่ะ จากที่ถามว่า
(ซึ่งตรงความเป็นเจ้าของผัสสะนี้ ยังไม่ได้สืบค้นว่ามีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือ อรรถกถาในส่วนใด หากทางมูลนิธิฯจะกรุณานำมาแสดงจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง)
เรื่องข้อความจากพระไตรปิฏกที่แสดงว่าหญิงไม่เป็นเจ้าของผัสสะ
เชิญคลิกอ่านข้อความจากพระไตรปิฏกค่ะ...
เรื่องเปรตพราหมณ์ชั่ว... มาตุคามไม่เป็นอิสระในผัสสะของตนเมื่อมีสามีแล้ว
นิจฉวิตถีสูตร .. หญิงไม่เป็นเจ้าของผัสสะของตนเมื่อมีสามีแล้ว
ขอตอบความเห็นที่ 14 อีกคนครับ
ตามหลักฐานในอรรถกถาทั้งหลาย หญิง ๘ จำพวกที่ยังไม่มีสามี ไปยุ่งเกี่ยวกับชายใดๆ ทั้งหมด หญิงนั้น ไม่เป็นกามฯ ส่วนเรื่องเจ้าของผัสสะ ตามหลักพระธรรมมีอยู่ว่า ผู้หญิง (ภรรยา) เป็นภัณฑะ เป็นรัตนะ เป็นทรัพย์ของชาย (สามี) ชาย (สามี) เป็นเจ้าของ เป็นใหญ่มีอำนาจเหนือหญิง เพราะชายเป็นผู้ปกครอง เป็นผู้เลี้ยงดูหญิง (ภรรยา) ดังนั้น หญิง (ภรรยา) จึงไม่มีอำนาจเหนือชาย ชาย (สามี) จึงมีสิทธิ์ในการแต่งตั้งหญิงอื่นเป็นภรรยาของตนอีก
ขอบคุณครับ
โดย : แล้วเจอกัน
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 718
๓. นิจฉวิตถีสูตร
ว่าด้วยหญิงไม่มีผิวหนัง
[๖๕๒] ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นหญิงผู้ไม่มีผิวหนังลอยอยู่ในเวหาส แร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกทิ้งหญิงนั้น ได้ยินว่า หญิงนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงนี้ได้เป็น หญิงประพฤตินอกใจสามีอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯลฯ.
จบนิจฉวิตถีสูตรที่ ๓
อรรถกถานิจฉวิตถีสูตรที่ ๓
ในเรื่องหญิงไม่มีผิวหนัง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
เพราะธรรมดาว่ามาตุคาม ย่อมไม่เป็นใหญ่ในผัสสะของตน และมาตุคามนั้นขโมยผัสสะอันเป็นของสามีแล้วให้เกิดความยินดีผัสสะของผู้อื่น ฉะนั้น เธอจึงมีผัสสะเป็นสุขเพราะมีส่วนเท่ากับกรรม จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว จึงเกิดเป็นหญิงไม่มีผิวหนัง เพื่อเสวยสัมผัสเป็นทุกข์
จบอรรถกถานิจฉวิตถีสูตรที่ ๓
อ่าน : ๗ วันที่ : ๐๑-๐๕-๒๕๕๑
ช่วงนี้แถวบ้านผมฝนตก บางทีก็มีปัญหา แต่ครั้งนี้เรียกได้ครับ ลิ้งค์ไป พระไตรปิฏกในกระทู้นี้ก็เรียกได้ครับ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 18 โดย study ขอตอบความเห็นที่ ๑๔ อีกคนครับ
ตามหลักฐานในอรรถกถาทั้งหลาย หญิง ๘ จำพวกที่ยังไม่มีสามี ไปยุ่งเกี่ยวกับชายใดๆ ทั้งหมด หญิงนั้น ไม่เป็นกามฯ ส่วนเรื่องเจ้าของผัสสะ ตามหลักพระธรรมมีอยู่ว่า ผู้หญิง (ภรรยา) เป็นภัณฑะ เป็นรัตนะ เป็นทรัพย์ของชาย (สามี) ชาย (สามี) เป็นเจ้าของ เป็นใหญ่มีอำนาจเหนือหญิง เพราะชายเป็นผู้ปกครอง เป็นผู้เลี้ยงดูหญิง (ภรรยา)
ดังนั้น หญิง (ภรรยา) จึงไม่มีอำนาจเหนือชาย ชาย (สามี) จึงมีสิทธิ์ในการแต่งตั้งหญิงอื่นเป็นภรรยาของตนอีก..
เป็นเหตุเป็นผลและยุติธรรมมาก เพราะสามีควรได้รับเกียรติเช่นนั้น ภรรยาจึงไม่ควรมีอำนาจเหนือสามี ต้องเคารพยำเกรงในสามีซึ่งมีอุปการะมาก แต่ในยุคปัจจุบัน สามีหลายคนขาดความรับผิดชอบ ไม่เกื้อกูลอุปการะบุตรภรรยา และยังก่อปัญหาเพิ่มขึ้นอีกโดยการลักลอบมีหญิงอื่น พฤติกรรมเช่นนี้ ควรได้รับการยกย่องให้เป็นใหญ่ต่อไปอีกหรือไม่ ในเมื่อยุคสมัยต่างกัน สถานการณ์ต่างกัน พฤติกรรมต่างกัน
พฤติกรรมเช่นนี้ ควรได้รับการยกย่องให้เป็นใหญ่ต่อไปอีกหรือไม่
ไม่ ก็ได้ (ครับ)
ยอมรับว่า รอฟังอันนี้อยู่ คิดทางแก้ไว้ให้แล้วด้วย ก่อนแต่งชายต้องให้ปฏิญาณว่าจะมีรักเดียว คือต่างยอมแลกความเป็นใหญ่ในผัสสะของตนให้อีกฝ่าย ถ้าจะมีปัญหาในเรื่องกาเมฯ นี้ก็ไม่ต้องเถียงกันเรื่อง ศีลกาเมฯ สมัยเก่า/ใหม่ ให้ปรับฝ่ายชายด้วยมุสาวาท/อทินนา และถ้าฝ่ายหญิงเป็นมีผู้ศีล มีกัลยาณธรรม มุสาวาท/อทินนา นี้ย่อมมีโทษมาก จะพูดขึ้นเองก็ไม่กล้า เกรงใจตัวเอง ว่าจะเสีย (สิ่งที่ได้) เปรียบ (มาเก่าก่อน) เลยต้องรอให้ผู้รักความเป็นธรรมพูดขึ้นก่อน ไม่แปลกใจที่เป็นคุณ แต่แปลกใจว่า คนเดียวที่ได้ฟังและเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ของผม ไม่พูดอะไรเลย
555 ดีใจจังที่คุณไตรสรณคมน์ถามเรื่องนี้ คุณสุวิทย์02 กำลังอยากตอบพอดี ปรับเป็น มุสาวาทกับอทินนาทานเองเหรอ ไม่เสียเปรียบหรอกท่านสุวิทย์ 02 เพราะถ้าหญิงทำนอกจากคำว่ามีชู้แล้ว ศีลข้อกาเมฯฟังยังไงก็แรงกว่าหลายเท่าแต่ถ้าชายทำ ไม่ผิดศีลเลย ทั้งสองฝ่ายถ้าผู้รักษาหญิงนั้นยินยอมมอบให้ (แต่สมัยนี้รายละเอียดตรงนี้คงแตกต่างกัน ไกล ไม่งั้นคงไม่เป็นเรื่อง จริงมั้ย) แถมยังได้ชื่อว่าเป็นชายที่มีเมียน้อย (ทั้งที่ความจริงคือมี เมียมาก) มันเสียเปรียบยังไงกันหนอ
"แต่ในยุคปัจจุบัน สามีหลายคนขาดความรับผิดชอบ ไม่เกื้อกูลอุปการะบุตรภรรยา"
ไม่ใช่เฉพาะปัจจุบันเท่านั้น สันดานชายเป็นมาอย่างนี้ทุกยุคทุกสมัย ตอนแต่งงานก็บอกว่ารักเธอคนเดียว และไงล่ะ แค่มุสา และทอดทิ้งไม่เท่าไร แต่ที่ฆ่าเมียหลวงทิ้ง ก็มีให้เห็นมากมาย นี่ไม่รวมถึงหญิง ที่ถูกฆ่าข่มขืนนะ แล้วยังงี้จะว่า หญิงร้ายหรือชายชั่ว ลืมตัวไปหน่อย ไม่มีหญิงไม่มีชาย มีแต่สภาพธรรมเนอะ
เชิญคลิกอ่านข้อความในพระไตรปิฎกเพิ่มเติมที่นี่ครับ
ปราภวสูตร .. นักเลงหญิง ไม่สันโดษในภรรยาตนเป็นความเสื่อม
ถ้าจะพูดเรื่องนี้ให้ครบถ้วน ควรพูด 3 ประเด็นคือ
๑. เมื่อแต่งแล้ว ผู้หญิงเสียเปรียบอย่างไรบ้าง (เปรียบเทียบ ในอดีตกับปัจจุบันด้วย)
๒. ผลย่อมต้องสมควรแก่เหตุ เหตุใดผู้หญิงจึงเสียเปรียบมากมาย หญิงเจริญสติไม่ได้ หญิงบรรลุอริยผลไม่ได้ หญิงฟังพระสัทธรรมไม่เข้าใจ พระอริยะที่เป็นหญิง ก็ยังเป็นภัณฑะของชายอยู่นั่นเอง
๓. ในเมื่อยุคสมัยต่างกัน สถานการณ์ต่างกัน พฤติกรรมต่างกัน ควรแก้ไขความเหลื่อมล้ำนี้อย่างไร
เมื่อวานผมคิด ว่าจะพูดอย่างไรในประเด็นที่ ๑-๒ ให้ชัดกระจ่างด้วย ให้ใจของคุณอินดี้ ผ่องใสด้วย คิดอย่างไรก็ไม่เห็นทาง เลยขอดำน้ำไม่พูดถึงเสียเลย เรามาพูด ในประเด็นที่ ๓ กันเถิดครับ
ถ้าเป็นนิกายมหายาน ซึ่งมีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์กวนอิม (หญิง) คงปรากฏพระสูตร (หรือว่าตอนนี้ก็มีแล้ว) แก้ไขตรงนี้ พวกเราเป็นพุทธสาวกฝ่ายเถรวาท เมื่อปรากฏชัดในพระบาลีและอรรถกถา ว่า ศีลกา เมฯ เป็นเช่นนี้จริงๆ ก็ต้องยอมรับไม่แก้ไขอะไรเลย ขอเข้าเป็นพวกกับ คุณอินดี้และคุณไตรฯ โดยอ้างว่าผมไม่ยอมตอบประเด็นนี้เลยนะ ถึงไม่ได้เป็นพวกไปทั้งใจ อย่างน้อยก็เป็นพวก ทางกายและวาจา กับอีกกว่าครึ่งใจครับ
ส่วนที่พวกเราแก้ไขได้ คือ ช่วงก่อนการแต่งงาน เพราะท่านไม่ได้กล่าวไว้ ขอเชิญ คุณอินดี้และคุณไตรฯ แสดงความเห็นครับ เมื่อได้ฟังความเห็นของคุณทั้งสองแล้ว ผมก็จะขยายความประเด็นนี้ซึ่งพูดไว้แล้วใน ความเห็นที่ 22 และตอบอันใหม่ที่จะมีมาด้วย
ขอพระสัทธรรม ทำให้ใจของคุณ ไม่หม่นหมอง ผ่องใส และเบิกบาน
ขอบคุณทุกท่านที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตามที่ผู้ตั้งกระทู้ได้ศึกษามา ก็ทราบมาเช่นกันว่า หญิง ๘ ประเภทนั้นไม่ถูกปรับกาเมฯ เพราะหญิงนั้นเป็นเจ้าของผัสสะตน เพียงแต่ที่ศึกษามาเป็นการอธิบายจากครูบาอาจารย์อีกที ตนเองยังไม่ได้ค้นหาหลักฐานในพระไตรปิฎกว่ามีแสดงไว้โดยตรงอย่างไร ซึ่งเมื่อได้ค้นหา ก็เจอในส่วนอรรถกถาดังที่อ้างอิงไว้ในความเห็นที่ ๑๔
ประเด็นของเรื่องนี้คือ ผู้ตั้งกระทู้เองได้ไปอ่านเจอ ข้อความที่แสดงถึงชายที่มีจารีตรักษาด้วยประการต่างๆ หรือชายต้องห้าม ดังที่อ้างอิงไว้ในความเห็นแรกสุดที่ได้ตั้งกระทู้นี้ จึงเกิดความสงสัยว่าข้อกำหนดของชายที่จารีตรักษาหรือชายต้องห้ามนี้ มาจากไหน ใครกำหนดขึ้น เพราะเมื่อไม่มีกล่าวในชั้นพระไตรปิฎก อรรถกถา (แต่ไม่ทราบว่าจะมีกล่าวไว้ในชั้นฎีกา อนุฎีกาหรือไม่เพราะผู้ตั้งกระทู้ไม่สันทัด) ก็แสดงว่าเป็นการตีความแต่งเติมเอาเอง (จะด้วยเจตนาดีนั้นก็อีกประเด็นหนึ่ง)
ประเด็นสำคัญคือ มันมีผลต่อการวินิจฉัยในการปรับกาเมฯ คือ ผลของการวินิจฉัยนั้นจะแตกต่างออกไปจากชั้นพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา เพราะหลักวินิจฉัยนั้นต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความแน่ชัดในหลักวินิจฉัย จึงได้ตั้งกระทู้ถามทางมูลนิธิฯ ซึ่งมีความชำนาญในชั้นพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นครับส่วนเรื่องความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมที่จะกระทำ ความมีจิตสำนึกดี-ชั่ว อันนี้ เราทุกท่านคงทราบอยู่แล้ว อนุโมทนาครับ
เรื่องนี้ควรอ่านควรศึกษามากค่ะ เพราะว่าโลกนี้โดยปกติมีคนอยู่สองเพศ ข้อห้ามข้อระวัง เป็นไปเพื่อความขัดเกลาและเป็นประโยชน์กับผู้ต้องการขัดเกลา และ "..ส่วนเรื่องความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมที่จะกระทำ ความมีจิตสำนึกดีชั่วอันนี้ เราทุกท่านคงทราบอยู่แล้ว อนุโมทนาครับ" เห็นด้วยมากๆ
ขออนุโมทนาคุณเรียนถาม และผู้ตอบคำถามจนกระจ่างชัดเจนทุกท่านค่ะ