สงสัยจังเลยครับ ความสุขที่ได้รับ มาจากกุศลกรรมใช่มั้ยครับ
โดย pong2  2 มี.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 22563

ความสุขที่มนุษย์ทุกคนได้รับ น่าจะมาจากกุศลกรรมใช่มั้ยครับ แต่เวลาเสพกามก็ทำให้มีความสุข ทำไมเป็นอกุศลครับ



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 3 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าพูดถึงวิบากแล้ว มาจากกรรมที่ได้กระทำแล้วทั้งหมด เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น วิบากในชีวิตประจำวัน ก็คือ ในขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส (รวมถึงขณะที่เป็นภวังค์ ด้วย) แต่ชีวิตก็ไม่ได้มีเฉพาะวิบากเท่านั้น ยังมีการสะสมเหตุที่เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เป็นไปตามเหตุปัจจัย และจะต้องกล่าวถึงจิตเป็นขณะๆ ด้วยว่าขณะไหนเป็นเหตุ และขณะไหนเป็นผลด้วย อย่างประเด็นคำถามที่กล่าวถึงนั้น ไม่พ้นไปจากขณะที่เป็นอกุศล ที่เป็นความติดข้องต้องการ เป็นความพอใจ สืบเนื่องมาจากยังมีความติดข้องยินดี พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั่นเอง ขณะที่ติดข้องยินดีพอใจจะเป็นกุศลไม่ได้ ความจริงต้องเป็นความจริง ขณะใดก็ตาม ที่จิตไม่ได้เป็นไปในทาน ไม่ได้เป็นไปในศีล ไม่ได้เป็นไปในความสงบของจิต ไม่ได้เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา ก็เป็นอกุศลทั้งหมด อกุศลมากมายจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 3 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมละเอียดลึกซึ้ง ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจความหมายของคำว่า กุศล และ อกุศล ให้ถูกต้องก่อนครับว่า คือ อะไร กุศล คือ สภาพธรรมที่ดีงาม ที่ประกอบด้วยสภาพธรรมที่ดี แม้จะมีความสุข หรือ ไม่มีความสุขก็ตาม หากประกอบด้วยสภาพธรรมที่ดี มี ศรัทธา ปัญญา เป็นต้น ก็ชื่อเป็นกุศลจิต ส่วนอกุศลจิต อกุศลธรรม คือ สภาพธรรมที่ไม่ดี เพราะ มีอกุศลเจตสิกที่่ไม่ดีเกิดร่วมด้วย เช่น มี โลภะ โทสะเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น แม้จะมีความสุข หรือ ไม่มีก็ตาม แต่หากมีสภาพธรรมที่ไม่ดีเกิดร่วมด้วยแล้ว ก็เป็นอกุศล

ส่วน ความสุข เป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นเวทนาเจตสิก ซึ่ง เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท เพราะฉะนั้น จึงเกิดกับกุศลจิตและอกุศลจิตด้วย เพราะฉะนั้น แม้จะมีความสุข มีโสมนัส แต่เป็นอกุศลก็ได้ เช่น ขณะติดข้องในรสอาหาร พอใจมาก มีโสมนัส มีความสุขในขณะที่ทานอาหาร แต่ก็เป็นอกุศล เพราะเหตุว่า ความสุขนั้นเกิดร่วมกับอกุศลจิต เพราะมีโลภเจตสิกที่เป็นอกุศลธรรม อกุศลเจตสิก เกิดร่วมด้วย ครับ นี่คือความละเอียดของพระธรรม เพราะละเอียดด้วยสภาพธรรมหลายๆ อย่างเกิดร่วมด้วยนั่นเอง

ดังนั้น ความสุขแบ่งเป็นหลายระดับ ความสุขที่เกิดกับอกุศลจิต มีการเสพกาม ที่เป็นขณะที่พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผส เป็นสภาพธรรมที่หยาบ เพราะเป็นความสุขที่อิงอามิส อิงรูป เสียง อิงกาม และ เกิดกับอกุศลจิต เพราะมีเจตสิกที่ไม่ดีเกิดร่วมด้วย ส่วนความสุขที่ละเอียดขึ้นไปอีก คือ ความสุขที่เกิดกับกุศลจิต เช่น ทำทานแล้วเกิดความสุขโสมนัส แต่ก็ยังหยาบเมื่อเทียบกับความสุขในเนกขัมมะ คือ ในขณะที่ออกจากกาม ในขณะที่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา ขณะนั้น เกิดความปิติ โสมนัสที่รู้ความจริง แต่ก็ยังหยาบ เพราะมีความสุขที่ละเอียดสูงสุด คือ สุขอย่างยิ่งที่จะไม่มีการเกิดขึ้นของสภาพธรรมเลย เพราะ เมื่อยังมีสภาพธรรมอยู่ ก็ยังทุกข์ เพราะไม่เที่ยง พระนิพพานไม่เกิดขึ้นและดับไป พระอริยเจ้าทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ครับ

นี่คือความละเอียดของความสุขในแต่ละระดับ และ สภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วย ครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 3    โดย nopwong  วันที่ 4 มี.ค. 2556

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 4    โดย pong2  วันที่ 4 มี.ค. 2556

ขอบคุณครับ แล้วเราจะเสพสุขอย่างไรไม่ให้เป็นอกุศล


ความคิดเห็น 5    โดย paderm  วันที่ 4 มี.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

การเสพสุขอย่างไรไม่ให้เป็นอกุศล คือ มีปัญญาที่รู้ความจริงในขณะที่ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งกว่าจะถึงตรงนั้น จะต้องอบรมปัญญาอย่างยาวนาน หน้าที่ที่สำคัญ คือ การอบรมเหตุ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ให้ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น โดยที่ไม่ต้องไปพยายามไม่ให้อกุศลไม่เกิด เพราะเป็นไปไม่ได้ ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชน ก็ยังเป็นธรรมดาที่เมื่อได้ยิน เห็นสิ่งต่างๆ ก็จะต้องป็นอกุศล เริ่มจากการอบรมเหตุไปเรื่อยๆ ครับ

ขอนุโมทนา


ความคิดเห็น 6    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 5 มี.ค. 2556

เสพสุขหรืออยู่กับความสุข.. ความสุขโดยนัยของความรู้สึก มี 2 อย่าง คือ ความสุขกาย ที่เป็นสุขเวทนา เช่น ได้รับสิ่งที่กระทบสัมผัสที่ดี ทำให้เกิดความสุขกาย และ ความสุขใจ คือ ความรู้สึกโสมนัส.. ความสุขใจมี 2 อย่าง เป็นกุศลหรืออกุศล (ในปุถุชน) เป็นอกุศลเมื่อเกิดร่วมกับโลภะ (ความติดข้อง) .. เราจะเสพสุขอย่างไรไม่ให้มีอกุศล หากไม่รู้หรือไม่ศึกษาธรรมะก็จะไม่รู้ความแตกต่างของสุขใจว่าอย่่างไร เป็นกุศลหรืออกุศล..และอาจยินดีพอใจมีความสุขในอกุศล.. (อกุศล คือ สภาพธรรมที่ไม่ดีงาม มีวิบากเป็นทุกข์ มีโทษ มีลักษณะเศร้าหมอง) .. หากไม่รู้โทษของอกุศล ก็ยินดีพอใจในอกุศลนั้น.. การพอใจในสิ่งใดมากๆ ก็ล่วงออกมาทางการกระทำทางกายหรือทางวาจาเป็นทุจริตได้ ทำให้เกิดวิบาก (ผลของกรรม) เป็นอกุศลวิบากทางกาย..จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความสุขทางกาย..หรือเสพสุขทางกาย. ธรรมะเกิดตามเหตุปัจจัยและเลือกไม่ได้ กุศลและอกุศลก็เช่นกันตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ต้องมีทั้งกุศลและอกุศล และอะไรจะเกิดมากกว่ากันตามการสะสมของจิต.. หากไม่ศึกษาพระธรรมด้วยความเข้าใจเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีอกุศล


ความคิดเห็น 7    โดย kinder  วันที่ 6 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย pong2  วันที่ 8 มี.ค. 2556

อย่างการมีเพศสัมพันธ์กับแฟนเป็นอกุศลหรือกุศล และถ้าเป็นอกุศลจะทำย่างไร


ความคิดเห็น 9    โดย ตุ้ย  วันที่ 9 มี.ค. 2556

ความสุขพึงมีได้จากกุศลธรรมเท่านั้น ภพที่สามารถเสพกามได้นั้นก็มีข้อจำกัดอยู่เช่นว่า ภพอสุรกาย, ภพเปรตและภพสัตว์นรก ทั้ง ๓ ภพนี้ก็ไม่สามารถเสพกามเช่นนี้ได้ เพราะภพที่รับกรรมทางอกุศลกรรมอยู่

ภพสัตว์เดรัจฉานและมนุษย์ ๒ ภพนี้เป็นภพที่ทั้งรับและสร้างกรรมตามอกุศลกรรม และเสวยผลกรรมและสร้างอันเป็นกุศลกรรมด้วย ทั้ง ๒ ภพ จึงสามารถเสพกามเช่นนี้ได้

โดยขณะที่เข้าเสพกามนั้นก็ประกอบด้วยโลภะกิเลส อันเป็นความยินดี เวลาเสพกามทำไมมีความสุข ก็เพราะคุณยินดี คุณพอใจ จึงดูคล้ายว่าเป็นสุขเท่านั้น

หากการเสพกามแล้วเป็นสุขจริง พระพุทธองค์ก็คงจะไม่แนะนำให้ออกจากกามเป็นแน่

ที่ว่าสุขก็คนทั้งโลกก็หลงไหลอยู่ว่าเป็นสุข ก็ไม่แปลกที่คุณจะเห็นว่ามันก็เป็นสุขด้วย ทั้งที่มันเป็นตัวโลภะกิเลส อันเป็นอกุศลกรรมนั้นเอง

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 10    โดย paderm  วันที่ 10 มี.ค. 2556

เรียความเห็นที่ 8 ครับ

หากมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงที่ยังมีผู้ปกครอง คือ มี สามี หรือ บิดา มารดา และ ยังไม่ได้รับอนุญาต ผิดศีลข้อ 3 แต่ถ้ามีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับหญิงที่เป็นภรรยาของตน ไม่ล่วงศีล ไม่บาป โดยนัยการล่วงศีล ครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 11    โดย chatchai.k  วันที่ 26 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ