[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 447
สมุทยสัจนิทเทส
อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 447
สมุทยสัจนิทเทส
[๘๓] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหานี้ใดอันให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยนันทิราคะ อันเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นที่รักที่ยินดีในโลก จักษุเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่จักษุนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนั้น โสตะ... ฆานะ... ชิวหา... กายะ... มนะ เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น รูปทั้งหลายเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่รูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนั้น เสียง ฯลฯ ธรรมารมณ์... จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุ สัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนา ที่เกิดแต่มโนสัมผัส รูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 448
ฯลฯ ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา รูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร เป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.
อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส
๘๓] พึงทราบวินิจฉัยในสมุทยสัจนิทเทสดังต่อไปนี้
บทว่า ยายํ ตณฺหา - ตัณหานี้ใด.
บทว่า โปโนพฺภวิกา - ตัณหาอันให้เกิดในภพใหม่ การทำภพใหม่ ชื่อว่า ปุนพฺภโว, ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา เพราะอรรถว่า สัตว์มีภพใหม่, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โปโนพฺภวิกา เพราะอรรถว่า ตัณหาให้ภพใหม่, ตัณหาย่อมเป็นไปในภพใหม่, ตัณหาให้เกิดภพบ่อยๆ. ตัณหานั้นให้ภพใหม่ก็มี ไม่ให้ภพใหม่ก็มี. ให้เป็นไปในภพใหม่ก็มี ไม่ให้เป็นไปในภพใหม่ก็มี, เมื่อให้ปฏิสนธิแล้ว ตัณหาทำให้ขันธ์แก่กล้าก็มี. ตัณหานั้นแม้ทำความแก่กล้าก็ย่อมได้ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา. ปาฐะว่า โปนพฺภวิกา บ้าง, มีความเหมือนกัน.
ชื่อว่า นนฺทิราคสหคตา - สหรคตด้วยนันทิราคะ เพราะอรรถว่า ตัณหาสหรคตด้วยนันทิราคะ กล่าวคือ ความพอใจยิ่ง, ท่านอธิบาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 449
ว่า ตัณหาถึงความเป็นอันเดียวกันโดยใจความ กับด้วยนันทิราคะ.
บทว่า ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี อันเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ความว่า ตัณหายินดียิ่งในอารมณ์ที่อัตภาพเกิด, หรือยินดีในอารมณ์นั้นๆ มีรูปเป็นต้น คือยินดียิ่งในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์. ปาฐะว่า ตตฺร ตตฺราภินนฺที บ้าง ความว่า ให้ยินดีในอารมณ์นั้นๆ
บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต ความแห่งบทนั้นว่า หากถามว่า ตัณหานั้นเป็นไฉน?
บทว่า กามตณฺหา ได้แก่ ตัณหาในกาม, บทนี้เป็นชื่อของราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕.
บทว่า ภวตณฺหา ได้แก่ ตัณหาในภพ. บทนี้เป็นชื่อของราคะสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยความปรารถนาในภพ และราคะในรูปภพ อรูปภพ และความใคร่ในฌาน.
บทว่า วิภวตณฺหาได้แก่ ตัณหาในวิภวะ คือปราศจากภพ. บทนี้เป็นชื่อของอุจเฉททิฏฐิ.
บัดนี้ เพื่อแสดงถึงที่เกิดของตัณหานั้นโดยพิสดาร พระเถระจึงกล่าวว่า สา โข ปเนสา - ก็ตัณหานั้นแล เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่า ย่อมเกิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 450
บทว่า นิวีสติ - ย่อมตั้งอยู่ คือ ตั้งอยู่ด้วยความเป็นไปบ่อยๆ พึงทราบการเชื่อมความว่า ตัณหาเมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน.
บทว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ - สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก คือ สิ่งใดมีสภาพน่ารักและมีสภาวะหวานฉ่ำในโลก.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า จกฺขุ โลเก ดังต่อไปนี้
สัตว์ทั้งหลายยึดมั่นโดยความเป็นของเราในจักษุเป็นต้นในโลก ตั้งอยู่ในสิ่งที่ถึงพร้อม ย่อมสำคัญประสาท ๕ คือ จักษุ ของตนผ่องใสโดยการถือเอานิมิตในกระจกเป็นต้น ดุจสีหบัญชรทำด้วยแก้วมณีที่บุคคลยกขึ้นในวิมานทอง. ย่อมสำคัญ โสตะ ดุจกล้องเงินและดุจสายสังวาล. ย่อมสำคัญ ฆานะ ที่เรียกกันว่า จมูกโด่งดุจเกลียวหรดาลที่บุคคลม้วนตั้งไว้. ย่อมสำคัญ ชิวหา ให้รสหวานสนิทอ่อนนุ่มดุจผืนผ้ากัมพลสีแดง. ย่อมสำคัญ กาย ดุจต้นสาละอ่อนและดุจซุ้มประตูทอง. ย่อมสำคัญ มนะยิ่งใหญ่ไม่เหมือนมนะของคนอื่น. ย่อมสำคัญ รูป ดุจสีมีสีทองและดอกกรรณิการ์เป็นต้น. ย่อมสำคัญ เสียง ดุจเสียงขันของนกการะเวก และดุเหว่าที่กำลังเพลิน และเสียงกังวานของขลุ่ยแก้วมณีที่เป่าเบาๆ ย่อมสำคัญอารมณ์มีกลิ่นเป็นต้น ที่เกิดแต่สมุฏฐาน ๔ ที่ตนได้แล้วว่า ใครเล่าจะมีอารมณ์เห็นปานนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 451
เมื่อสัตว์เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมเป็นปิยรูปและสาตรูป. เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาที่ยังไม่เกิดในปิยรูปและลาตรูปนั้น ย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น, และที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่ด้วยการเป็นไปบ่อยๆ. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก, ตัณหานี้เมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชมานา ความว่า เมื่อใดปิยรูปสาตรูปเกิด, เมื่อนั้นตัณหาย่อมเกิดในสิ่งนี้.
จบ อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส