อ้างถึง หนังสือ สมันตปาสาทิกา แปลไทย เล่ม ๑ หน้าที่ ๒๗๘
มีข้อความว่า "แก้ว่า เหมือนอย่างว่า ในอริยมรรคที่ ๓ ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า
'เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้' ย่อมเป็น
การกล่าวสรรเสริญ (อริยมรรคที่ ๓) เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะแก่เหล่าชนผู้มีความ
ขวนขวาย ฯลฯ"
โปรดช่วยอธิบายเนื้อความข้างต้นให้ผมหน่อยครับ ผมไม่อาจเข้าใจชัดได้
ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
ขอนอบอน้อมแ่ด่พระรัตนตรัย จากข้อความที่ผู้ถามได้ยกมา เป็นข้อความที่กำลังมาเปรียบเทียบกับเรื่อง ฌาน อยู่ครับ
ขอให้ค่อยๆ อ่าน หรือ อ่านหลายๆ รอบนะครับ ยากและลึกซึ้ง อธิบายดังนี้ครับ
ฌานที่ 3 คือ ตติยฌาน ซึ่งการถึง ตติยฌาน ก็ด้วยการละปิติ ซึ่งในเรื่องตติยิฌานนั้น
ก็กล่าวถึงการก้าวล่วงปิติและการสงบระงับ วิตกและวิจารด้วย คำถามก็มีอยู่ว่า ในเมื่อ
ทุติยฌาน ฌานที่ 2 ก็สามารถละ วิตก วิจารไม่เกิดขึ้นแล้ว ตติยฌาน ที่จะถึงได้ก็ด้วย
การก้าวล่วงปิติ จะกล่าวว่า เพราะก้าวล่วงปิติและสงบระงับวิตก วิจาร จะกล่าวถึง วิตก
และวิจารซ้ำอีกทำไม ในเมื่อก็ละวิตกและวิจารได้ตั้งแต่ทุติยฌานแล้ว ที่กล่าวว่า สงบ
ระงับวิตกและวิจารใน ตติยฌานด้วย (ทั้งๆ ที่วิตกและวิจารละได้ตั้งแต่ทุติยฌาน ฌานที่
2 แล้ว) ก็เพราะว่า เป็นการแสดงทางของฌานและ พรรณาคุณ สรรเสริญ ตติยฌาน
หรือ ฌานที่ 3 ครับ หมายความว่า แสดงทางของฌาน คือ ผู้ที่จะถึงตติยฌานจะต้อง
ละวิตกและวิจารก่อนเสมอ และถึงจะก้าวล่วงปิติจึงถึงตติยฌาน นี่คือการแสดงทาง
ดำเนินของฌานที่ถูกต้องจะต้องเป็นอย่างนี้ คือ ละวิตกและวิจารก่อนในทุติยฌานหรือ
ฌานที่ 2 จึงจะถึงตติยฌาน ฌานที่ 3 คือ ก้าวล่วงปิติและเหตุผลประการที่สอง คือ
แสดงคุณและสรรเสริญ ตติยฌานด้วยว่า สามารถระงับ วิตกและวิจารได้ด้วยครับ และ
ก้าวล่วงปิตินั่นเอง จากที่กล่าวมาคือ แสดงเรื่องตติยฌาน ฌานที่ 3 ว่าก้าวล่วงปิติ แต่
ทำไมยังต้องแสดงซ้ำว่า สงบระงับ วิตกและวิจารได้ ทั้งๆ ที่ วิตกและวิจารสงบระงับแล้ว
ตั้งแต่ ทุติยฌาน คือ ฌานที่ 2 แล้วครับ ก็ด้วยเหตุผล คือ แสดงทางของฌานว่าจะต้อง
ละ วิตกและวิจาก่อนเสมอ และพรรณาคุณของฌานที่ 3 ว่าสามารถระงับวิตกและวิจาร
รวมทั้งปิติด้วยเพื่อให้เกิดความอุตสาหะ ปรารภความเพียรเพื่อที่จะอบรมรมฌาน 3 ครับ
ซึ่งข้อความที่ผู้ถามยกมา ก็เพื่อนำมาเปรียบเทียบในเรื่องฌาน 3 ตติยฌานว่าทำไม
ยังต้องแสดงว่า สงบระงับ วิตกและวิจาร ทั้งๆ ที่ วิตกและวิจารระงับได้ตั้งแต่ฌานที่สอง
แล้ว ก็นำข้อความที่คุณถามมาเปรียบเทียบดังว่า
ในอริยมรรคที่ ๓ ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า 'เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ มี
สักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้' ย่อมเป็นการกล่าวสรรเสริญ (อริยมรรคที่ ๓) เพื่อ
จะให้เกิดความอุตสาหะ แก่เหล่าชนผู้มีความขวนขวาย ฯลฯ"
---------------------------------------------------------------------------------
อริยมรรคที่ 3 หมายถึง อนาคามีมรรค ซึ่งในสังโยชน์ ที่เป็นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้
มี 10 ประการ
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ เรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ เรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ
มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑
อริยมรรคที่ 1 คือ โสดาปัตติมรรค ละสังโยชน์ได้ 3 ประการแรก คือ สักกายทิฏฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส
อริยมรรคที่ 2 คือ สกทาคามิมรรค ละสังโยชน์ได้ 3 ประการแรก คือ สักกายทิฏฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส เท่าโสดาปัตติมรรค แต่ทำให้กิเลส คือ โลภะ และ
โทสะเบาบางลง
อริยมรรคที่ 3 คือ อนาคามิมรรค ซึ่งอยู่ในคำถามที่ถาม ละ สังโยชน์เป็นไปในส่วน
เบื้องต่ำ ๕ ประการ เรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ คือ ละสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา
สีลพัตตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
อริยมรรค ที่ 4 คือ อรหันตมรรค ละ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ คือ
รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑
------------------------------------------------------------------
จากคำถามนั้น ตามที่ผมกล่าวไว้ว่า คำกล่าวที่ถามมานั้น สำหรับนำไปเปรียบเทียบ
กับเรื่องของฌานท่ 3 ตติยฌาน ที่แสดงว่า สงบระงับวิตกและวิจาร ก้าวล่วงปิติ ในเมื่อ
วิตกและวิจาร สงบระงับตั้งแต่ฌานที่ 2 แล้ว ทำไมยังมาแสดงซ้ำในฌานที่ 3 อีก
เหตุผลคือ เพื่อแสดงทางของฌานและพรรณาคุณของฌานที่ 3 เหมือนดังว่า ...ต่อที่
ข้อความที่คุณถามครับ ....... ในอริยมรรคที่ ๓ ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า 'เพราะละ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้ ' ย่อมเป็นการกล่าว
สรรเสริญ (อริยมรรคที่ ๓) เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ แก่เหล่าชนผู้มีความขวนขวาย
ฯลฯ
อริยมรรคที่ 3 คือ อนาคามีมรรค กล่าวว่า ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ทั้ง 5 คือ สังโยชน์
เบื้องต่ำ ซึ่งได้แก่ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑
พยาบาท ๑ ซึ่งแสดงว่า อริยมรรคที่ 3 ละสังโยชน์ 5 ประการนี้ได้ แต่ว่า ในเมื่อ
อริยมรรคที่ 1 และ 2 ก็ละสังโยชน์ 3 ประการแรกแล้ว คือสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑
สีลพัตตปรามาส ๑ ทำไมอริยมรรคที่ 3 ถึงยังกล่าวซ้ำว่าละได้ 5 เพราะอริยมรรคที่ 1
และ 2 ก็ละ สังโยชน์ 3 ประการแล้ว อริยมรรคที่ 3 ควรกล่าวแค่ละ กามฉันทะและ
พยาปาทะ ก็พอ แต่ที่แสดงว่าละได้ 5 คือละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ทั้งๆ ที่ละไปได้ 3
แล้วก็เพื่อแสดงทางของ อริยมรรค ว่าต้องละกิเลสเป็นลำดับ และต้องละสังโยชน์ 3
ประการแรกเสมอ และอีกเหตุผลหนึ่งคือ เพื่อพรรณาคุณ สรรเสริญอริยมรรคที่ 3 คือ
อนาคามีมรรคว่าสามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการได้เด็ดขาด เพื่อความอุตสาหะ
ปรารถความเพียรของบุคคลที่จะทำให้ถึงอริยมรรคที่ 3 ครับ
เห็นไหมครับ ข้อความที่ผู้ถามยกมาเป็นการเปรียบเทียบ ตติยฌาน ฌานที่ 3 ว่า
ทำไมยังกล่าวว่าวิตกและวิจารระงับ ทั้งที่ระงับไปแล้วตั้งแต่ฌานที่สอง ท่านเลยเปรียบ
เทียบกับข้อความที่ท่านผู้ถามยกมาว่า เหมือนดังว่า อริยมรรคที่ 3 คือ อนาคามีมรรค
กล่าวว่าละ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ทั้งๆ ที่ อริยมรรคที่ 1 และ 2 ก็ละ
สังโยชน์ 3 ประการไปแล้ว ทำไมถึงยังกล่าวซ้ำอีกว่า ละ 5 ประการตอนเป็นอริยมรรคที่
3 ก็เพื่อแสดงหนทางการดำเนินว่าต้องละทั้ง 5 ประการนี้และแสดงคุณ การสรรเสริญ
อริยมรรคที่ 3 คือ อนาคามีมรรคว่าสามารถละได้ทั้ง 5 ประการ เพื่อให้ผู้อบรมปัญญา
ขวนขวายอุตสาหะเพื่อไปถึงครับ
อาจจะเข้าใจยาก แต่ต้องค่อยๆ เข้าใจไปครับ ที่สำคัญขอให้เริ่มจากการปูพื้นฐาน
ตั้งแต่ต้น ให้เข้าใจให้ถ่องแท้และถูกต้อง แม้แต่คำว่า ธรรมคืออะไรครับ เพื่อประโยชน์
คือการรู้ความจริงในขณะนี้ อันนำไปสู่การดับกิเลสได้นั่นเองครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... เปรียบเทียบฌาน 3 กับ อริยมรรคที่ 3 [วิสุทธิมรรคแปล]
อุทิศกุศลใหสรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง มีความละเอียดลึกซึ้งมาก ซึ่งผู้ฟัง ผู้ศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ โดยอาศัยการฟังการศึกษาบ่อยๆ เนืองๆ พร้อมทั้งสนทนาสอบถามจากผู้ที่มีปัญญาด้วย ก็จะเป็นเหตุให้ความเข้าใจค่อยๆ เจริญขึ้นไปได้
การดับกิเลส ต้องดับเป็นขั้นๆ ไม่ใช่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ทันที จะต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นอบรมสะสมปัญญาไปตามลำดับ จนกระทั่งปัญญาเจริญขึ้นจนถึงขั้นที่เป็นโลกุตตระ คือ มัคคจิต เกิดขึ้นทำกิจประหารกิเลส ตั้งแต่โสดาปัตติมัคคจิต เป็นต้นไป จนกว่ามัคคจิตขั้นสุดท้าย คือ อรหัตตมัคคจิตจะเกิดขึ้น ทำกิจดับกิเลสที่ยังเหลืออยู่ที่มัคคจิต ๓ เบื้องต้นยังดับไม่ได้ ได้จนหมดสิ้น ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงหนทางที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น พร้อมทั้งทรงแสดงถึงพระอริยสาวกในอดีตที่ท่านได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เพราะดำเนินตามทางดังกล่าว เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษาซึ่งเมื่อได้ฟังแล้ว เป็นผู้เห็นประโยชน์เห็นคุณค่าของพระธรรม ก็จะเป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะดำเนินทางอันประเสริฐ เพื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสตามลำดับขั้น เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี และ เป็นพระอรหันต์ หรือแม้แต่พระเถระและพระเถรีทั้งหลาย ในอดีต ซึ่งเป็นพระอรหันต์เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากพระธรรมอย่างสูงสุด ท่านได้กล่าวพรรณนาถึงพระคุณของพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่าเป็นธรรมที่นำออกจากทุกข์ได้จริง ไว้มากมาย ก็เพื่อประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง จะได้เห็นประโยชน์และมีความตั้งใจที่จะฟังที่จะศึกษาพระธรรมแล้วน้อมประพฤติตามพระธรรม ต่อไป ประโยชน์คือความเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ
ผมมีความเข้าใจเรื่องอริยมรรคที่ ๓ แล้วครับ
แต่ก็ยังสงสัยข้อความที่ว่า
"เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้"
อันนี้ ละได้หรือละไม่ได้กันแน่ครับ ท่านอาจารย์
ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ ฯ
เรียนความเห็นที่ 5 ครับ
"เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้
อันนี้ ละได้หรือละไม่ได้กันแน่ครับ
-----------------------------------------------------------------------------
ถ้าเป็นอริยมรรคที่ 3 คือ อนาคามีมรรค ย่อมละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ก็เท่ากับ
ว่า มีการละสักกายทิฏฐิแล้วด้วย ไม่ใช่ไม่ได้ละครับ ซึ่งการเป็นพระอนาคามีก็ละ
สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการคือ ละสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส ๑
กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑
แต่สำคัญตรงนี้ครับ ขณะที่เป็นอริยมรรคที่ 3 หรือ อนาคามีมรรคเกิดขึ้น ไม่ไ่ด้ทำกิจ
ละ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาและสีลพัตตปรามาส แต่ทำกิจละ กามฉันทะและพยาปาทะ
สังโยชน์ครับ ที่เป็นอย่างนี้เพราะ สังโยชน์ 3 ประการแรก คือ สักกายทิฏฐิ วิจกิจฉา
สีลพัตตปรามาส ละได้ตั้งแต่ อริยมรรคที่ 1 คือ โสดาปัตติมรรคแล้วครับ
ดังนั้น อริยมรรคที่ 1 จึงทำกิจละ สังโยชน์ 3 ประการ มีสักกายทิฏฐิ แต่อริยมรรคที่ 3
ไม่ได้ทำกิจละ สังโยชน์ 3 มี สักกายทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงมีข้อความที่คุณ dets25226
ถามว่า
"เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้
อันนี้ ละได้หรือละไม่ได้กันแน่ครับ
ก็หมายถึง อริยมรรคที่ 3 ยังละไม่ไ่ด้ คือ ไมไ่ด้ทำกิจละ สักกายทิฏฐิ นั่นเอง ต้องเป็น
อริยมรรคที่ 1 แต่เมื่อถึงอนาคามีมรรคที่เป็นมรรคที่ 3 ทำกิจละ สังโยชน์ 2 ประการคือ
กามฉันทะและพยาปาทะ แต่เมื่อกล่าวโดยรวม ไมไ่ได้กล่าวโดยกิจหน้าที่ของแต่ละ
มรรค อนาคามีมรรค ก็ชื่อว่า ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการแล้วครับ แต่ถ้ากล่าวโดยกิจ
หน้าที่ของแต่ละมรรค อริยมรรคที่ 3 คือ อนาคามีมรรค ไมไ่ด้ละสังโยชน์ 3 ประการแรก
มีสักกายทิฏฐิ เป็นครับ จึงมีข้อความที่ว่า "เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ มีสักกาย
ทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้ ...ก็คืออริยมรรคที่ 3ไม่ไ่ด้ทำกิจละ สักกายทิฏฐิ นั่นเอง
ครับ ขออนุโมทนา
ชัดเจนครับ ท่านอาจารย์
เมื่อเป็นเช่นนี้ น่าจะแปลว่า "แม้ที่ไม่ได้ละ" ถูกหรือเปล่าครับ
เนื้อความถึงจะตรงตามที่ท่านอาจารย์ได้อธิบายมา
ธรรมะที่เขียนโดยภาษาบาลีนั้น ผมเห็นว่าละเอียดมาก
ดังนั้น การแปลต้องให้ตรงกับความเข้าใจถูกเป็นสำคัญ
ขอขอบคุณท่านอาจารย์มากครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
เรียนความเห็นที่ 7 ครับ
เมื่ออ่านในคัมภีร์ สมันตปาสาทิกา ก็ต้องเทียบเคียบกับคัมภีร์อื่น มีวิสุทธิมรรค แล
ที่สำคัญคือ พระไตรปิฎกและอรรถกถา ว่าถูกต้องสอดคล้องกันหรือไม่ครับ ที่สำคัญที่
สุดก็ต้องยึดหลักพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นสำคัญ แม้ในเรื่องสังโยชน์เบื้องต่ำ 5
ที่เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ว่า 5 ประการ ละอะไรบ้างครับ เมื่อเป็นดังนั้นก็ต้องเข้าใจ
ถูกว่า ที่ท่านยกข้อความนั้นมา ท่านมุ่งหมายถึงอะไรครับในส่วนนั้น ซึ่งท่านมุ่งหมายถึง
การยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้ ในอริยมรรคที่ 3 นั่นเองครับ เพราะอริยมรรคที่ 3 คือ
อนาคามีมรรคทำกิจละ กามฉันทะและพยาปาทะครับ ซึ่งเมื่อนำพระธรรมส่วนอื่นในพระ
ไตรปิฎกและอรรถกถามาอ่านเพิ่มเติม ข้อความก็แสดงไว้ชัดเจนขึ้นครับ ดังข้อความใน
พระไตรปิฎกที่ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 510
อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านกล่าวถึงการละไว้อย่างนี้ว่า ปญฺจนฺน โอรมฺภาคิยาน
สโยชนานปหานา๑ - เพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ดังนี้ เป็นการพรรณนาคุณ ของ
กิเลสมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แต่ไม่ละในอริยมรรคที่ ๓. เพื่อบรรลุถึงฌานนั้น การ
พรรณนาคุณของฌานนั้น ย่อมให้เกิดอุตสาหะเพื่อความขวนขวายต่อไปฉันใด,
ท่านกล่าวถึงความสงบของวิตกวิจารแม้ยัง ไม่สงบไว้ในบทนี้ ก็เป็นการพรรณนาคุณ
ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วย
-----------------------------------------------------------------------------------
จากข้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมาที่ว่า มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แต่ไม่ละในอริยมรรค
ที่ ๓. ก็หมายถึง อริยมรรคที่ 3 คือ อนาคามิมรรคไม่ได้ทำกิจละ สักกายทิฏฐิ เพราะการ
ละสักกายทิฏฐิ ละตั้งแต่ อริยมรรคที่ 1 คือ โสดาปัตติมรรคแล้วครับ โสดาปัตติมรรค
หรือ มรรคที่ 1 ทำกิจละ สักกายทิฏฐิครับ
ส่วนในวิสุทธิมรคก็อธิบายชัดเจนขึ้นไปอีกครับ ดังข้อความที่ว่า
วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 171
อนึ่ง เมื่อกล่าวการละ (สังโยชน์) โดยนัยว่า เพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ มี
สักกายทิฏฐิเป็นต้น ที่แม้มิใช่เพิ่งมาละในอริยมรรคที่ ๓ ดังนี้ ก็ย่อมเป็นอันกล่าว
สรรเสริญ (ตติมรรคนั้น) ยังอุตสาหะให้เกิดแก่พระโยคาวจรทั้งหลายผู้ขวนขวายเพื่อ
บรรลุตติยมรรคนั้น
---------------------------------------------------------------------------------
จากข้อความในวิสุทธิมรรรค ก็แสดงชัดว่า สักกายทิฏฐิ ไม่ใช่เพิ่งมาละในอริยมรรคที่ 3
แต่ละ ทำกิจละตั้งแต่อริยมรรคที่ 1 แล้วครับ ขออนุโมทนา
พระอนาคามีบุคคล เป็นพระอริยบุคคลขั้น 3 แต่ก็ยังไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะว่า
ยังมีกิเลสเหลืออยู่ พระอนาคามีบุคคลละความติดข้องในกามคุณ และ ละความโกรธ
ได้อย่างเด็ดขาด กิเลส 2 อย่างนี้ ยังไม่สามารถดับได้ด้วยโสดาปัตติมรรค และ
สกทาคามิมรรค แต่พออนาคามิมรรคจิตเกิดขึ้นก็ละกิเลส 2 ตัวนี้ได้เด็ดขาด ค่ะ