ตอนนี้ผมได้ศีกษาพระไตรปิฎกโดยการอ่านพระสูตรและอรรถกถาครับ รวมถึงพระวินัย และพระอภิธรรมด้วย มีส่วนที่สามารถเข้าใจได้และเข้าใจยากครับ ส่วนที่เข้าใจได้ หมายความว่าเมื่อเทียบเคียงจากที่เคยได้ยินได้ฟัง จากการสอบถามกัลยาณมิตร จาก การพิจารณาด้วยตนเองแล้วทั้งหมดสอดคล้องกันครับ รวมถึงมีผลคือทำให้เข้าใจชีวิต เพิ่มขึ้นและบรรเทาทุกข์ที่มีได้กระทู้นี้ผมอยากจะถามผู้มีความรู้ว่า ทางที่ดีแล้วเราควรจะศึกษาพระไตรปิฎกอย่างไรจึง จะดียิ่งครับ ด้วยการฟังผมก็ทำอยู่ประจำ แต่อยากจะมีส่วนรักษาคำสอนด้วยการศึกษา จากพระไตรปิฎกเองด้วยครับ และมีความยินดีทุกครั้งที่ได้เปิดพระไตรปิฎกเล่มจริง ตอนนี้ผมลองศึกษาคัมภีร์เนติปรณ์ครับ แต่เบื้องต้นแล้วผมรู้สึกว่าค่อนข้างยากทีเดียว ด้วยความละเอียดและคำศัพท์ครับ และยังมีอีกหลายคัมภีร์ที่ผมจะลองเปิดดู เช่น วิสุทธมรรค เป็นต้น (รวมถึง พระอภิธรรมปัฏฐานด้วยครับถ้าสามารถทำได้ครับ) อยากทราบว่าเราควรจะเริ่มต้นอย่างไร จากคำภีร์ไหน อย่างคัมภีร์เนติปรณ์ผมทราบว่า เป็นคัมภีร์เพื่อการเริ่มต้นสำหรับการศึกษาพระไตรปิฎก แต่เมื่อลองอ่านศึกษาดูปราก ฎว่าเข้าใจยากกว่าการอ่านพระไตรปิฎก (เช่นพระสูตร) โดยตรงอีกครับ เนติปรณ์อาจเพื่อให้เราเข้าใจมากกว่าเรื่องราวใช่ไหมครับ แต่ให้เข้าใจลึกลงไปถึงการ บวนการ วิธีการ อุบาย หลักการ ที่พระพุทธองค์ได้พิจารณาใช้ใช่ไหมครับ?
ขอบคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระไตรปิฎกคือคำสอนของพระพุทธเจ้าทีทรงแสดงตามความเป็นจริง ที่เป็นสัจจะ ด้วยพระปัญญาของพระพุทธองค์ พระธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง รู้ได้ยาก บัณฑิต เท่านั้นที่รู้ได้ครับ ในเมื่อพระธรรมที่แสดงเป็นหมวดต่างๆ เป็นพระไตรปิฎก ยากลึกซึ้ง แล้วจะเริ่มศึกษาอย่างไร คำตอบคือ ศึกษาจากท่านผู้รู้และผู้ที่มีความเข้าใจพระธรรม อย่างดี เป็นกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา เพราะบางครั้งการอ่านเอง เมื่อไม่เข้าใจก็คิดเอง หรือคิดว่าเข้าใจแล้วครับ ดังนั้นต้องอาศัยการสอบถาม การสนทนากับผู้ที่มีความ เข้าใจพระธรรม อาศัยการฟังพระธรรมจากกัลยาณมิตรผู้ที่มีความเข้าใจธรรม มีท่าน อาจารย์สุจินต์ เป็นต้น ซึ่งท่านก็แสดงธรรมตามพระไตรปิฎกและท่านก็ขยายความให้ เข้าใจยิ่งขึ้นครับ รวมทั้งการสอบถามและสนทนากับท่านอาจารย์สุจินต์และวิทยากรที่ มูลนิธิก็เป็นประโยชน์ให้เราเข้าใจขึ้นทั้งในพระธรรมตามพระไตรปิฎกที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงครับ
ธรรมไม่ใช่เรื่องรีบร้อน แต่เป็นเรื่องค่อยๆ เข้าใจ เข้าใจพื้นฐานก่อนครับ หาก อ่านพระไตรปิฎกยากในส่วนใด ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ทั่วถึงในทุกส่วนหรือพยายามที่ จะเข้าใจ ต้องไม่ลืมครับว่าพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า เราก็ เข้าใจได้ตามกำลังปัญญาของตนเองที่สะสมมาน้อย ที่สำคัญจะต้องรู้จุดประสงค์ใน การอ่านครับว่า อ่านพระไตรปิฎกเพื่ออะไร และจุดประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง พระธรรมที่รวบรวมเป็นพระไตรปิฎกนั้น จุดประสงค์ในการศึกษาคืออะไร
สำคัญคือไม่ใช่จะอ่านพยายามที่จะเข้าใจในพระธรรม แต่ควรรู้ว่าพระธรรมที่ พระองค์ทรงแสดงในพระไตรปิฎก เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เข้าใจสูตรไหนได้ พอเข้าใจได้ ขณะที่เข้าใจก็ละความไม่รู้ ขัดเกลากิเลสในขณะนั้น พระธรรมส่วนไหน อ่านแล้วไม่เข้าใจก็คือไม่เข้าใจครับ เปลี่ยนไมไ่ด้ เข้าใจได้ตามกำลังปัญญา และที่ สำคัญที่สุดประโยชน์ของการศึกษาพระไตรปิฎก คือ เพื่อเข้าใจความจริงของสภาพ ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เพราะพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงก็คือสัจจะความจริงใน ขณะนี้เอง ขณะนี้มีธรรม ศึกษาพระธรรม ศึกษาพระไตรปิฎกก็เพื่อเข้าใจความจริงใน ขณะนี้ ดังนั้นเมื่อก่อนที่จะอ่านพระไตรปิฎก ก่อนจะศึกษาพระธรรม เราเริ่มด้วยความ เห็นถูก เริ่มด้วยจุดประสงค์ที่ถูกคือศึกษาพระธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสและเข้าใจสภาพ ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ การศึกษาพระไตรปิฎกก็จะไม่เป็นไปในเรื่องการจำเรื่องราวใน พระไตรปิฎก แต่เมื่ออ่านแล้วก็เพิ่มพูนศรัทธา เพิ่มพูนคุณธรรมอันเป็นปเพื่อขัดเกลา กิเลสและเพิ่มพูนปัญญาอันเข้าใจความ จริงในขณะนี้ครับ ขอให้เริ่มด้วยปัญญามีความ เห็นถูกตรงนี้ก่อนครับไม่ว่าจะอ่านหนังสือคัมภีร์ พระพุทธศานาหรือพระไตรปิฏกก็ตาม ครับ เริ่มจากความเห็นถูกตรงนี้
ส่วนเมื่อเรามีความเห็นถูกอย่างนี้แล้ว ก็เริ่มจากฟังพระธรรมที่ผู้รู้ ผู้มีปัญญาแสดง ตามพระไตรปิฎกอธิบายให้เราเข้าใจ พร้อมๆ กับอ่านพระไตรแปิฎกด้วยจุดประสงค์ ที่ถูก อ่านในหมวดที่พอที่จะเข้าใจได้และเมื่อไม่เข้าใจ สงสัยก็สอบถามกับผู้ที่สามารถ อธิบายให้เข้าใจ ประโยชน์ของการเข้าใจพระธรรมจึงต้องอาศัยกัลยาณมิตร การสอบ ถามและการสนทนาครับ
ดังนั้นจึงไม่ต้องเป็นผู้ที่จะมุ่งให้เข้าใจพระธรรม โดยศึกษาหลายคัมภีร์ การฟังพระ ธรรมนั่นเองครับเมื่อปัญญาเจริญขึ้น ถูกต้องแล้ว เข้าใจจริงๆ เมื่อไปอ่านพระไตรปิฎก ก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ทีละเล็กละน้อยครับ แต่ก็เป็นประโยชน์ แต่ที่สำคัญต้องอาศัย กัลยาณมิตรและการสนทนา การสอบถามจากผู้รู้ มีท่านอาจารย์สุจินต์ เป็นต้นครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกขึ้น ซึ่งหนังสือที่มูลนิธิและไฟล์เสียงธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ ก็ได้อธิบายพระธรรมในพระไตรปิฎกได้เป็นอย่างดี ให้เราเข้าใจได้ ขณะที่เข้าใจขึ้น เพราะอาศัยการฟังก็เหมือนกับการอ่านพระไตรปิฎกนั่นเองครับ ค่อยๆ ศึกษาเบื้องต้น ไปก่อนครับ ซึ่งในหมวดพระไตรปิฎกก็มีเรื่องที่พอจะศึกษาได้เช่น ขุททกนิกาย คาถา ธรรมบท ก็อ่านดีครับ และก็พร้อมกับการศึกษาพื้นฐานพระอภิธรรมที่ท่านอาจารย์ สุจินต์บรรยายไว้ก็จะทำให้เข้าใจขึ้นเมื่ออ่านพระไตรปิฎกครับ สำคัญที่กัลยาณมิตร การสนทนา การสอบถามและการค่อยๆ ศึกษาพระธรรมไป ด้วยความสบายไม่เร่งรีบครับ
กระผมขอยกตัวอย่างในการสนทนาธรรมที่มูลนิธิ อย่างเช่น สนทนาพระสูตรในวัน เสาร์ ซึ่งจะมีการคัดเลือกพระสูตรมาด้วยความเหมาะสมแล้ว จะนำพระสูตรเรื่องนั้นมา ประชุมวิชาการก่อนที่จะถึงสนทนาพระสูตรนี้ก่อนหนึ่งอาทิตย์ คือประชุมพระสูตรที่จะ สนทนาเรื่องนี้ก่อนหนึ่งอาทิตย์ โดยมีท่านอาจารย์สุจินต์และคณะวิทยากรของมูลนิธิ ตรวจสอบทั้งคำบาลี ความหมายและอธิบายอรรถ เนื้อหาในพระสูตรให้เข้าใจถูกต้อง ตรงกัน อันเป็นไปให้มีความเข้าใจถูกจริงๆ ในการสนทนาพระสูตรตามที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงครับ จะเห็นได้ครับว่าพระธรรมลึกซึ้งต้องอาศัยกัลยาณมิตร การสนทนาธรรม การประชุมสอบถามสนทนาให้เข้าใจถูกจริงๆ เพื่อประโยชน์คือเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้อง อันเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาครับ
ขออนุโมทนา
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...
ขอคำแนะนำในการศึกษา อ่านพระไตรปิฎกครับ
การศึกษาพระไตรปิฎก
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมครับ
ขอบคุณคุณ paderm มากที่ช่วยเตือนสติครับ
คำว่า ใจร้อน (อยากรู้) เหมาะสมกับผมในตอนนี้มากเลยทีเดียว ในใจของผมก็ไม่มีความต้องการที่จะศึกษาคนเดียวอยู่แล้วครับ แต่เห็นทีผมควรจะเข้าหากัลยาณมิตร (เช่นการเข้าไปมูลนิธิเป็นต้น) ให้มากกว่านี้ครับ
ขอบคุณครับ
ประโยชน์ของการศึกษาธรรมะ จุดประสงค์จริงๆ เพื่อละความไม่รู้ ที่สำคัญเพื่อความ เข้าใจถูก จึงจะละความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ บุคคล ถ้าไม่รู้ธรรมะคืออะไร ไม่มีทางเลยที่จะรู้จักธรรมะ กว่าจะรู้จักธรรมะ ต้องฟังมาก ศึกษามาก อบรมมาก ใช้เวลานานมาก เป็นกัปป์ๆ ค่ะ
ขอนอบน้อมแ่ด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การศึกษาพระธรรม ซึ่่งเป็นสิ่งที่มีจริง และเป็นสิ่งที่มีจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง นั้น ต้องมีการเริ่มต้น ถ้าไม่เริ่มต้นที่จะฟัง ที่จะศึกษาเลย ก็จะไม่สามารถเข้าใจพระธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งได้ แม้แต่การอ่านพระไตรปิฎก ก็เช่นเดียวกัน ทุกคำทุกพยัญชนะที่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงถึงสิ่งมีจริงทั้งหมด ก็จะต้องค่อยๆ อ่านค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่กำลังอ่านเริ่มจากครั้งที่หนึ่งไปครั้งที่สองไปครั้งที่สาม ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถเข้าใจตามความเป็นจริงได้ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เมื่อยังสงสัยยังไม่เข้าใจส่วนใด นั้น การสอบถาม การสนทนากับกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา ก็จะสามารถทำให้บรรเทาความสงสัยดังกล่าวและค่อยๆ เพิ่มพูนความเข้าใจไปตามลำดับ "การศึกษาพระธรรม เป็นการศึกษาที่ประเสริฐ" ครับ
..ขออนุโมทนาในกุศลจิิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบคุณครับ
ขออนุโมทนาครับ