เป็นโลภะหรือทิฏฐิได้อย่างไร
โดย คุณสงสัย  2 ก.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9119

1. โลภะต่างจากทิฏฐิอย่างไร

2. เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เห็นเป็นลำไย เกิดโลภะได้หรือเกิดทิฏฐิได้อย่างไร



ความคิดเห็น 1    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 2 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย 1. โลภะต่างจากทิฏฐิอย่างไร

โลภเจตสิก คือสภาพธรรมที่ติดข้อง ความต้องการ ความทะยานอยาก ความหวัง ความยึดไว้ซึ่งอารมณ์นั้น

ทิฏฐิเจตสิก คือสภาพธรรมที่เห็นผิดจากความเป็นจริง ซึ่งก็มีหลายระดับ ทั้งในเรื่องโลกและข้อปฏิบัติ รวมทั้งที่เป็นทิฏฐิสามัญทั่วไป คือสักกายทิฏฐิที่เห็นผิด ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน หรือความเห็นผิดที่ดิ่ง เช่นนิยตมิจฉาทิฏฐิ เช่นเชื่อว่า กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี เป็นต้น [เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๔ คำว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ ความเห็นไม่มีตามความเป็นจริง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด เมื่อโลภะเกิดขึ้นทำหน้าที่ติดข้องเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เห็นผิด แต่โลภะ ยินดีพอใจติดข้องในความเห็นผิดได้


ความคิดเห็น 2    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 2 ก.ค. 2551

เชิญคลิกอ่านเพิมเติมที่นี่ครับ..โลภะ คือความติดข้อง เหมือนลิงติดตัง มิจฉาทิฏฐิ

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ..ห็นเป็นสิ่งใด ไม่จำเป็นต้องเห็นผิด


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 2 ก.ค. 2551

2. เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เห็นเป็นลำไย เกิดโลภะได้ หรือเกิดทิฏฐิได้อย่างไร

เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ เป็นกิริยาก็ได้ เป็นอกุศลที่เป็นโลภะก็ได้ โทสะก็ได้ โมหะก็ได้ เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว จิตเป็นโลภะติดข้องอย่างเดียวเท่านั้นก็ได้ ไม่มี ความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยก็ได้ เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว จิตเป็นโลภะที่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยก็ได้

ตามความเป็นจริงแล้ว แม้ยังไม่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้เห็นเป็นเพียงสิ่งทีปรากฏทางตา โลภะก็ติดข้องพอใจ ในสิ่งที่เห็นแล้วก็ได้ จากตัวอย่างที่กล่าวมา เห็นเป็นลำใย เห็นแล้วชอบก็ได้ ติดข้อง พอใจ ก็เป็นเพียงจิตที่เป็นโลภะที่ติดข้อง แต่ก็ไม่ได้มีความเห็นอะไรในขณะนั้นว่า เป็นสิ่งที่เที่ยง หรือยึดถือด้วย

ความเห็นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดจริงๆ แต่เมื่อใดเห็นลำใยแล้วก็เกิดความเห็นขึ้นมาว่า ลำใยมีจริง เป็นสิ่งที่เที่ยง ขณะนั้นเป็นโลภะที่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ดังนั้นเห็นลำใยแล้วเห็นผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงก็ได้

เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความว่า เมื่อเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วจะต้องหมายถึงมีความยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ขณะนั้น (มีความเห็นผิด) ขณะที่เห็นเป็นลำใยเป็นกุศลจิตก็ได้ ขณะนั้นไมได้มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย แม้จะเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม พระพุทธเจ้าก็ทรงเห็นเป็นลำใยแต่ไม่มีความเห็นผิด ไม่มีความติดข้อง หรือบางบุคคลเมื่อเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็มีความติดข้องเท่านั้น โดยไมได้มีความเห็นผิดก็ได้ แม้จะเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ขออนุโมทนาครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 3 ก.ค. 2551

1. โลภะคือความติดข้องในกามคุณ 5 ถ้ามีความติดข้องมากๆ ก็สามารถทำให้ล่วงทุจริตทางกาย ทางวาจา ส่วนทิฏฐิเป็นความเห็นผิด เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี ชาติหน้าไม่มี คุณของมารดา บิดาไม่มี ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี ฯลฯ

2. ทันทีที่เห็น ยังไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร โลภะก็ยึดติดในสิ่งที่เห็นแล้ว ขณะที่ยึดถือว่าลำใยเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เป็นความเห็นผิดที่เกิดร่วมกับโลภะทิฏฐิคตสัมปยุตต์ค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย suwit02  วันที่ 3 ก.ค. 2551
สาธุ

ความคิดเห็น 6    โดย prakaimuk.k  วันที่ 4 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 7    โดย pornpaon  วันที่ 4 ก.ค. 2551

ดิฉันมักลงรูปภาพดอกไม้มีสันฐานต่างๆ หลากสีในการแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ

เพราะยังมีโลภะความติดข้องยินดีพอใจในสีสัน และยึดมั่นในวัณณรูปต่างๆ ว่ามีตัวตน

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย เมตตา  วันที่ 4 ก.ค. 2551

โลภะ คือ ความอยาก ความติดข้อง

ในชีวิตประจำวันถ้าเป็นผู้ละเอียดจะเห็นว่าทุกๆ ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสกระทบสัมผัสและคิดนึก ก็จะไหลไปกับโลภะทันทีเป็นส่วนมาก บางครั้งเป็นโทสะบ้าง โมหะบ้าง เช่นขณะที่ทานอาหารก็จะเพลิดเพลินไปกับรสอาหาร หรือขณะเห็น ทันทีที่เห็นก็จะติดข้องกับสิ่งนั้นๆ เช่น ขณะเห็นดอกไม้ เห็นเครื่องประดับ เห็นรถหรูๆ เป็นต้นส่วนทิฎฐิ คือ ความเห็นผิดมีหลายประเภทมากแต่ที่ควรรู้ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนคือสักกายทิฎฐิที่เห็นผิดยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นเรา สักกายทิฎฐิมี 20 ประเภท แต่ขอยกตัวอย่างเท่านั้น เช่น นี่มือของเรา นี่ตัวของเรา เรามีความสุข เป็นต้น ทั้งๆ ที่เป็นเพียงสภาพธรรม จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นและดับไปตลอดเวลา

โลภและทิฎฐิเป็นเจตสิกแต่ละลักษณะ ขณะติดข้อง (โลภเกิด) จะมีทิฎฐิเกิดร่วมด้วยหรือไม่มีทิฎฐิเกิดร่วมด้วยก็ได้ เช่นขณะเห็นดอกไม้สวยก็มีความติดข้องในดอกไม้ นี่เป็นเพียงโลภไม่ได้เกิดร่วมกับความเห็นผิด (ทิฎฐิ) ใดๆ เลย แต่ขณะที่ยึดว่ามีเราที่ชอบดอกไม้ ขณะนั้นเป็นโลภที่เกิดร่วมกับความเห็นผิดที่ยึดสภาพธรรมว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ขออนุโมทนาค่ะ