[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 364
๑๐. ทุติยหัตถปาทปัพพสูตร
ว่าด้วยการเปรียบเทียบอายตนะกับข้อมือข้อเท้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 364
๑๐. ทุติยหัตถปาทปัพพสูตร
ว่าด้วยการเปรียบเทียบอายตนะกับข้อมือข้อเท้า
[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มี การจับและการวางก็มี เมื่อเท้าทั้ง ๒ มี การก้าวไปและถอยกลับก็มี เมื่อข้อทั้งหลายมี การคู้เข้าและเหยียดออกก็มี เมื่อท้องมี ความหิวและความระหายก็มี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและการวางก็ไม่มี เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การก้าวไปและถอยกลับก็ไม่มี เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและเหยียดออกก็ไม่มี เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความระหายก็ไม่มี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในไม่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ ทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑๐
สมุททวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 365
อรรถกถาทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑๐
ในทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
เมื่อตรัสว่า น โหติ จึงได้ตรัสด้วยอัธยาศัยของผู้จะตรัสรู้. ก็ในสูตรทั้ง ๒ นี้ พระองค์ทรงแสดงเฉพาะสุขทุกข์อันเป็นวิบาก แล้วจึงทรงแสดงวัฏฏะและวิวัฏฏะแล.
จบ อรรถกถาทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑๐
จบ อรรถกถาสมุททวรรคที่ ๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมุททสูตรที่ ๑ ๒. สมุททสูตรที่ ๒ ๓. พาลิสิกสูตร ๔. ขีรรุกขสูตร ๕. โกฏฐิกสูตร ๖. กามภูสูตร ๗. อุทายีสูตร ๘. อาทิตตปริยายสูตร ๙. หัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑ ๑๐. หัตถปาทปัพพสูตรที่ ๒