ประวัติพระพุทธศาสนาของพม่า ตอน 1 [พุกาม ๑]
โดย sutta  30 ม.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 22414

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คณะมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา จะได้มีการเดินทางไปประเทศพม่า ในวันที่ 4 - 8 มีนาคม 2556 กระผมจึงใคร่ขอกล่าวถึงประวัติความเจริญทางพระพุทธศาสนา ที่ประเทศพม่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อประโยชน์กับสหายธรรมได้เข้าใจพระธรรม และ เกิดเลื่อมใสศรัทธามากขึ้นเมื่อได้ไปถึงประเทศพม่า ครับ ก่อนที่จะมาเป็นประเทศพม่าในปัจจุบัน เชื่อกันว่า มนุษย์เข้ามาอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อประมาณ หนึ่งหมื่นหนึ่งพันปีมาแล้ว แต่ชนชาติแรกที่สามารถสร้างชาติของตนเองจนเป็นเอกลักษณ์ คือ ชาวมอญ ได้อพยพมาอยู่ ณ ดินแดนแห่งนี้ ประมาณสองพันสี่ร้อยปีก่อนพุทธกาล เป็นธรรมดาครับว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติขึ้น โลกย่อมมืดมน แม้แสงสว่างจากพระอาทิตย์จะเจิดจ้า แต่ก็เพียงส่องแสงลงมาได้เพียงกระทบกาย ไม่ส่องแสงเข้าไปภายในหทัยของสัตว์โลก ที่ถูกอวิชชาความไม่รู้ ครอบงำ และ ถูกหลังคา คือกิเลสปิดกั้นแสง คือ ปัญญาไม่สามารถส่องลงไปถึงใจได้ ดังนั้น ในยุคสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าอุบัติ โดยมาก ชาวมอญในยุคต้น ก็นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสาง เทวดา ตามความไม่รู้ที่ปรุงแต่งให้เป็นไปอย่างนั้น เมื่อสมัยที่พระพุทธปรินิพพานได้สองร้อยกว่าปี ชาวมอญก็ได้รวมเป็นปึกแผ่น สร้างเป็นอาณาจักร เรียกว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ มีเมืองหลวง คือ เมืองสะเทิม (สุธรรมวดี) ที่อยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า เชื่อกันว่า พระพุทธศาสนา เริ่มเข้ามาตั้งแต่สมัยที่ พ่อค้าสองคน ชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ ได้ถวายอาหาร คือ สัตตุผง และ สัตตุก้อน กับพระพุทธเจ้า เมื่อแรกตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธเจ้าได้ให้พระเกศาธาตุ 8 เส้น กับ ตปุสสะและภัลลิกะ นำมาบูชาและได้สร้างพระมหาเจดีย์ชเวดากอง บรรจุพระ บรมสารีริกธาตุไว้ ตั้งแต่เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปี

พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแพร่จริงๆ คือ เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วสองร้อยกว่าปี พระเจ้าอโศกเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ส่งพระภิกษุไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา 9 สาย โดย สายหนึ่ง ส่ง ท่านพระโสณะ และ พระอุตตระ มาเผยแพร่พระธรรม ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนประเทศพม่า โดยชนชาวมอญมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่สองร้อยกว่าปีหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน หลังจากนั้น ก็มีพระภิกษุนำพระพุทธศาสนาที่เป็นนิกายมหายานมาเผยแพร่ จนพระพุทธศาสนารุ่งเรืองในชนชาติมอญ ทางตอนใต้ของพม่า


อาณาจักรพุกาม ชาวบะหม่าหรือพม่า ได้รับการบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อราว พ.ศ. 1500 โดยอพยพมาจากบริเวณพรมแดนจีน-ทิเบต ลงมาตามลำน้ำเอยาวดี (อิรวดี) เข้ามาตั้งหลักฐานอยู่บริเวณที่ราบเจ๊ะแส่ (เจ้าเซ) และ กระจายตัวไปตามถิ่นต่างๆ แทบทุกทิศทาง เข้ายึดครองเขตพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า มินบู (Minbu) และ เขตพื้นที่ปลูกข้าว ตองทวินคยี (Taungdwin gyi) และเมืองแปร (Prome)

ชนพม่าเริ่มมีกำลังเข้มแข็งและรวบรวมกันได้เป็นปึกแผ่น และได้สร้างเมืองปะกั่น (พุกาม) ขึ้น ในราวปี พ.ศ. 1392 เป็นศูนย์กลางควบคุมเขตลุ่มน้ำเอยาวดี และ ซิตตาวน์ (สะโตง) รวมถึงเส้นทาง การค้าระหว่างจีนกับอินเดียด้วย

อาณาจักรพุกาม (The Empire of Pagan) ถือเป็นอาณาจักรแห่งแรกที่รุ่งเรืองอย่างมากของพม่า ในช่วงปี พ.ศ. 1587 – 1830

ชาวพม่าที่พุกาม นับถือผีสาง เทวดา ที่เรียกกันว่า นัต ซึ่งที่เมืองสะเทิมของชนชาติมอญ มีการนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ท่านพระชินอรหันต์จากมอญได้เดินเผยแพร่พระพุทธศาสนามาถึงที่เมืองพุกาม และได้แสดงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศพระศาสนา ชาวบ้านได้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก

เป็นรัชสมัยของ พระเจ้าอโนรธา กษัตรย์แห่งพุกาม ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์พม่า เมื่อพระราชาได้สดับข่าว การที่มีพระประกาศพระศาสนาเป็นที่เลื่องลือ จึงได้นิมนต์พระชินอรหันต์

พระชินอรหันต์เข้ามาที่ท้องพระโรง พระราชารออยู่ข้างล่าง พระราชาให้เลือกที่นั่ง พระชินอรหันต์เดินขึ้นไปบนพระราชบัลลังก์ และ นั่งที่พระราชบัลลังก์ ซึ่งตามธรรมเนียมหากใครนั่งบนพระราชบัล ลังก์ที่ไม่ใช่พระราชาแล้ว ย่อมต้องโทษหนัก แต่เพราะพระเจ้าอโนรธาเลื่อมใส จึงขอให้พระชินอรหันต์แสดงธรรม เมื่อท่านแสดงธรรมจบ พระเจ้าอโนรธาเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ได้นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ทรงให้ประชาชนเลิกการนับถือ ผีสาง เทวดาได้ และ หันมานับถือพระพุทธศาสนา

พระเจ้าอโนรธาก็ต้องการเผยแพร่พระพุทธศาสนา พระชินอรหันต์จึงแนะนำให้ศึกษาพระธรรม โดยมีพระไตรปิฎกที่เมืองสะเทิม และ พระบรมสารีริกธาตุควรอัญเชิญมา และ ศึกษาพระไตรปิฎก

พระเจ้ามนุหา ชาวมอญที่เมืองสะเทิมนับถือพระพุทธศาสนามาก มีพระไตรปิฎก และ พระบรมสารีริกธาตุ พระเจ้าอโนรธาแห่งพุกาม ได้ส่งพระราชสาส์นพร้อมกับทูตมาเมืองสะเทิม ขอพระไตรปิฎก และ พระบรมสารีริกธาตุมา เพื่อไ้ด้บูชา และ ศึกษาพระธรรม แต่พระเจ้ามนุหาไม่ยิน ยอม และ กล่าวว่าร้ายว่า พวกเหล่านี้เป็นชนป่าเถื่อน เราจะให้ได้อย่างไร ทูตจึงไปกราบทูลพระเจ้าอโนรธา ด้วยความโกรธ พระองค์จึงยกทัพมาล้อมเมืองมอญไว้ และ ก็จับพระเจ้ามนุหา และ จับเชลย ช่างฝีมือจากมอญมาด้วย และ นำพระไตรปิฎก และ พระบรมสารีริกธาตุมาจากเมืองมอญ ทำให้ พุ กามได้ศิลปะวัฒนธรรมจากมอญเป็นอย่างมาก ซึ่งพระเจ้าอโนรธาได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย โดยอัญเชิญขึ้นบนหลังช้าง และ อธิษฐานว่า หากช้างหมอบลงที่ใด ก็จะสร้างพระมหาเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่นั้น ช้างได้หมอบแล้ว ตรงจุดที่สร้างพระมหาเจดีย์ พระเจ้าอโนรธา มีรับสั่งให้สร้างพระมหาเจดีย์บริเวณนั้น เรียกว่า พระมหาธาตุเจดีย์ ชเวสิกอง ซึ่งสร้างเสร็จสมัยพระเจ้าจันสิตา

พระมหาเจดีย์ชเวสิกอง พระเจดีย์ซิกองเป็นที่บรรจุพระธาตุสำคัญ ๓ ส่วน คือ พระเขี้ยวแก้ว ที่กษัตริย์แห่งศรีลังกาได้นำมาถวาย พระธาตุกระดูกไหล่ ที่นำมาจากเมืองศรีเกษตร (ใกล้เมืองแปร) และพระธาตุพระนลาฏ (หน้าผาก)

พระเจดีย์ชเวซิกอง นับเป็นหนึ่งในห้ามหาบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่ชาวพม่าบูชา ร่วมกับ พระเจดีย์ ชเวดากองที่ย่างกุ้ง พระมหามัยมุนีที่มัณฑะเลย์ พระธาตุมุเตาที่หงสาวดี และพระธาตุอินแขวน

นับจากนั้น ที่ดินแดนที่ห่างไกลแสงแห่งพระธรรม ก็ได้จับต้องหทัยของสัตว์โลก ผู้สะสมอัธยา ศัยอันดีงาม เพราะเกิดปัญญาความเข้าใจ โดยที่ศรัทธา และ ปัญญา ไม่ได้เลือกเกิดเลยว่า จะเป็นชนชั้นวรรณะใด และ สถานที่ใด ผู้ใดสะสมบุญ ความเข้าใจพระธรรมาแล้ว บุญนั้นเองที่จะนำพาสัจจธรรม ความจริงที่พระพุทธเจ้าให้ไปถึงที่หทัย เกิดความเข้าใจถูกเกิดขึ้น และ ด้วยความเข้าใจถูก และ จิตที่ดีงามทีเ่กิดขึ้นแล้ว กลั่นออมมาเป็นการกระทำทางกาย วาจา และ วัตถุที่สร้างมาบูชาพระ พุทธเจ้า ก็เป็นเครื่องเตือนถึงจิตใจของบุคคลสมัยนั้น ที่มีความศรัทธา และ ปัญญา ที่เคารพในพระรัตนตรัยสูงสุด



ความคิดเห็น 1    โดย kanchana.c  วันที่ 30 ม.ค. 2556

ดีมากๆ เลย ที่ได้ทราบประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสถานที่ที่เราจะเดินทางไปเยี่ยมชม

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย panasda  วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย ธนัตถ์กานต์  วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย นิรมิต  วันที่ 30 ม.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย natural  วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย daris  วันที่ 30 ม.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย เซจาน้อย  วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตวิริยะครับ


ความคิดเห็น 9    โดย Boonyavee  วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย nopwong  วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 11    โดย tusaneenui  วันที่ 31 ม.ค. 2556
ขอขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 12    โดย khampan.a  วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียบเรียงได้อย่างไพเราะอย่างยิ่ง

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตวของ อ.ผเดิมด้วยครับ


ความคิดเห็น 13    โดย ธนฤทธิ์  วันที่ 31 ม.ค. 2556
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 14    โดย aditap  วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 15    โดย jaturong  วันที่ 1 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 16    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 1 ก.พ. 2556

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 17    โดย j.jim  วันที่ 5 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 18    โดย orawan.c  วันที่ 22 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 19    โดย pamali  วันที่ 26 ก.พ. 2556
ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 20    โดย kinder  วันที่ 26 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 21    โดย chatchai.k  วันที่ 12 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ