นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... •••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๘
เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
จตุจักกสูตร
... จาก ...
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๔๕
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๔๕
จตุจักกสูตร
ว่าด้วยความออกไปจากทุกข์
[๗๔] เทวดา กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก สรีระ มีจักร ๔ มีทวาร ๙ เต็มด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยโลภะ ย่อมเป็นดังว่าเปือกตม ความออกไป จากทุกข์ จักมีได้อย่างไร.
[๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า
ตัดความผูกโกรธด้วย ตัดกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดด้วย ตัดความปรารถนาและความโลภอันลามกด้วย ถอนตัณหาอันมีอวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออกไปจากทุกข์ จึงจักมีได้.
จบ จตุจักกสูตร
อรรถกถาจตุจักกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจตุจักกสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า จตุจกฺกํ แปลว่า มีจักร ๔ ได้แก่ อิริยาบถ ๔ เพราะในที่นี้ อิริยาบถ ท่านเรียกว่าจักร. บทว่า นวทฺวารํ แปลว่า ทวาร ๙ ได้แก่ ทวาร ๙ ซึ่งมีปากแผล ๙ แห่ง. บทว่า ปุณฺณํ แปลว่า มีของไม่สะอาดเต็มแล้ว คือ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด. บทว่า โลเภน สํยุตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยโลภะ คือว่า สัมปยุตต์ด้วยตัณหา. บทว่า กถํ ยาตฺรา ภวิสฺสติ นี้ เทวดาย่อมทูลถามว่า การออกไป (จากทุกข์) แห่งสรีระนี้ เห็นปานนี้ จักมีได้อย่างไร คือว่า ความพ้น ความพ้นรอบ ความก้าวล่วงอย่างดี จักมีได้อย่างไร ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า
ตัดความผูกโกรธด้วย ตัดกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดด้วย ... ฯลฯ ...
บทว่า นทฺธึ แปลว่า ความผูกโกรธ อธิบายว่า ความโกรธ มีก่อน ภายหลัง ความโกรธมีกำลังเป็นไปแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความผูกโกรธ. บทว่า วรตฺตํ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ได้แก่ ตัดความผูกโกรธ และเครื่องร้อยรัด. ความเกี่ยวข้องกันแห่งตัณหาและทิฏฐิ ท่านกล่าวไว้ในคาถาว่า สนฺธานํ สหนุกฺกมํ แต่ในที่นี้ ยกเว้นกิเลสที่ท่านอธิบายไว้ในพระบาลีแล้ว กิเลสที่เหลือ พึงทราบว่า เป็นเครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ตัดกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ดังนี้. บทว่า อิจฺฉาโลภํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมอันหนึ่งนี้แหละ ชื่อว่าโลภะ เพราะอรรถว่าปรารถนา เพราะอรรถว่า ความอยากและความต้องการ. อีกอย่างหนึ่ง ความอยากมีกำลังทราม เกิดขึ้นครั้งแรก ความโลภมีกำลังเกิดขึ้นในเวลาต่อๆ มา. อีกอย่างหนึ่ง ความปรารถนาในวัตถุอันตนยังไม่ได้ ชื่อว่า ความอยาก ความยินดีในวัตถุอันตนได้แล้ว ชื่อว่า ความโลภ. บทว่า สมูลํ ตณฺหํ ได้แก่ ตัณหาอันมีมูล โดยมีอวิชชาเป็นมูล. บทว่า อพฺภุยฺห ได้แก่ อันมรรคถอนขึ้นแล้ว. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถา จตุจักกสูตรที่ ๙
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
© ข้อความโดยสรุป ©
จตุจักกสูตร
ว่าด้วยความออกไปจากทุกข์
เทวดา ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สรีระนี้ เป็นไปด้วยอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และมีช่อง ๙ ช่อง (ตา ๒ จมูก ๒ หู ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ และ ทวารเบา ๑) อันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยโลภะ อันเป็นเสมือนเปือกตม ทำให้จมลงและติดแปดเปื้อน แล้วความออกไปจากทุกข์ จะมีได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า
ตัดความผูกโกรธ ตัดความอยากและความโลภ พร้อมด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัดประการอื่นๆ พร้อมทั้งถอนตัณหาอันมีอวิชชาเป็นมูลได้แล้ว ความออกไปจากทุกข์จึงจักมีได้ (ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร) .
ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
กิเลสตัณหา
โลภะแอบมาใกล้ๆ
ตราบใดที่ยังมีตัณหา
ความผูกโกรธเป็นโทสมูลจิต
โมหะ โมหเจตสิก ความเห็นผิด ความไม่รู้ อวิชชา
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ยินดีในกุศลจิตครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ