[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 461
เถราปทาน
ยสวรรคที่ ๕๖
อุตตรเถราปทานที่ ๖ (๕๕๖)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุตตรเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 461
อุตตรเถราปทานที่ ๖ (๕๕๖)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุตตรเถระ
[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ ทรงประกอบด้วยพระวรลักษณะ ๓๒ ประการ ทรงพอพระทัยในความ วิเวก เสด็จเข้าไปยังหิมวันตประเทศ
พระมุนี ผู้เป็นบุรุษสูงสุด ทรงประกอบ ด้วยพระกรุณา ผู้เลิศ ครั้นถึงหิมวันตประเทศ แล้ว ประทับนั่งขัดสมาธิ.
ในกาลครั้งนั้น ข้าพเจ้า เกิดเป็นวิทยาธร สามารถแม้เหาะไปในอากาศได้ ถืออาวุธวิเศษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 462
คือตรีศูลอันคมฉกาจนัก ในเวลานั้น ข้าพเจ้า กำลังเหาะท่องเที่ยวไปในอัมพร.
พระพุทธเจ้า ทรงยังป่าหิมวันต์ให้สว่าง กระจ่างแจ้งอยู่ เสมือนกองไฟที่ลุกโพลงอยู่บน ยอดภูเขา เสมือนแสงแห่งดวงจันทร์ที่กำลังเต็ม ดวง หรือเสมือนต้นพญาสาละที่มีดอกกำลังบาน เต็มต้นฉะนั้น.
จิตของข้าพเจ้าเลื่อมใส เพราะได้เห็น พระพุทธเจ้า ผู้กำลังเสด็จออกมาจากป่า มีพระพุทธรังสีกำลังซ่านออก ดุจดังแสงไฟที่กำลังเผา ไหม้ป่าต้นอ้อฉะนั้น.
ข้าพเจ้าได้ถือเอาดอกไม้ ๓ ดอก คือ ดอกทานตะวัน ดอกกรรณิการ์ และดอกเทวคันธีมาบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ.
เพราะอานุภาพของพระพุทธเจ้า ในขณะ นั้น ดอกไม้ทั้งสามดอกของข้าพเจ้า ได้ทำขั้ว ขึ้นเบื้องบน เอาดอกลงเบื้องล่าง ทำเป็นดังร่ม บังเงาให้พระศาสดา.
เพราะกรรมที่ข้าพเจ้า ได้กระทำมาดี แล้วนั้น ประกอบกับที่ข้าพเจ้าตั้งเจตนาไว้ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 463
เมื่อข้าพเจ้าจุติจากความเป็นมนุษย์แล้ว ก็ไปเกิด ในดาวดึงส์.
วิมานของข้าพเจ้าในดาวดึงส์นั้น บุญ กรรมได้สร้างให้เป็นอย่างดี มีชื่อปรากฏว่า กัณณิการี สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์.
มียอดแหลม ๑,๐๐๐ ยอด มียอดเป็นโดม ๑๐๐ ยอดประดับด้วยธงสีเหลือง ประกอบด้วย ป้อมหอคอยหนึ่งแสนป้อม สิ่งเหล่านี้มีปรากฏอยู่ ในวิมานของข้าพเจ้า.
แท่นนั่งสำเร็จด้วยแก้วผลึกก็มี สำเร็จ ด้วยทอง ด้วยแก้วมณี และด้วยทับทิมก็มี ผู้นั่ง ย่อมได้ตามปรารถนา.
ที่นอนมีราคามาก ประกอบด้วยชนิดที่ ยัดด้วยนุ่น แต่ละชายประดับด้วยครุยขนสัตว์ และประกอบด้วยหมอน.
ครั้นข้าพเจ้าจุติจากภพแล้ว ท่องเที่ยว ไปสู่ภพเทวดา ข้าพเจ้าท่องเที่ยวไปตามปรารถนา เป็นผู้มีหมู่เทวดาแวดล้อมแล้ว.
ข้าพเจ้า ดำรงอยู่ภายใต้ร่มดอกไม้ ดอกไม้กั้นอยู่เบื้องบนข้าพเจ้า กว้างโดยรอบ หนึ่งร้อยโยชน์แวดล้อมด้วยดอกกรรณิการ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 464
นักดนตรี หกหมื่นคน บำรุงข้าพเจ้า อยู่ ตลอดเวลาตั้งแต่เย็นถึงเช้า แวดล้อมข้าพเจ้า อยู่เป็นประจำทั้งกลางคืนกลางวัน โดยไม่เกียจ คร้าน.
ในเทวโลกนั้น ข้าพเจ้า ยินดีอยู่กับ นางรำ นางร้อง นางประโคม นางนักดนตรี เพลิดเพลินอยู่กับความยินดี บันเทิงอยู่กับความ ใคร่ในกาม.
ในเทวโลกนั้น มีแต่รับประทาน และ ดื่ม ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าเพลิดเพลินอยู่ในไตรทศ พรั่งพร้อมไปด้วยหมู่นางสนมนารี ข้าพเจ้าเพลิด เพลินอยู่ในวิมานอันอุดม.
ข้าพเจ้าเสวยรัชสมบัติอยู่ ๕๐๐ ครั้ง และ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ ๓๐๐ ครั้ง ส่วนที่ เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ ไม่อาจจะนับ ประมาณได้.
เมื่อข้าพเจ้าท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภพ กับภพ ย่อมได้โภคสมบัติเป็นอันมาก ข้าพเจ้า ไม่มีความบกพร่องในโภคสมบัติเป็นอันมาก นี้ เป็นผล แห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 465
เมื่อข้าพเจ้าท่องเที่ยวอยู่ในภพ ก็ท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้งสอง คือ ภพแห่งเทวดา และ ภพแห่งมนุษย์ ข้าพเจ้า ไม่รู้จักทุคติอื่นเลย นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.
เมื่อข้าพเจ้าเกิด ก็เกิดในตระกูลทั้งสอง คือ ตระกูลกษัตริย์ และตระกูลพราหมณ์ ข้าพเจ้า ไม่รู้จักตระกูลต่ำเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา พระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้า ได้รับยานช้าง ยานม้า ยาน วอ อันไปได้รวดเร็ว ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่ง การบูชาพระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้า ได้รับหมู่ทาสี หมู่ทาส หมู่ สตรีผู้แต่งกายงดงาม ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่ง การบูชาพระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้าได้รับผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าลินิน และผ้าฝ้าย ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่งการบูชา พระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้า ได้รับผ้าใหม่ และผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอร่อยเลิศ ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่งการบูชา พระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้า ได้รับคำบอกเล่าว่า เชิญท่านจง เคี้ยวกินสิ่งนี้ เชิญท่านจงบริโภคสิ่งนี้ เชิญท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 466
จงนอนบนที่นอนนี้ ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่ง การบูชาพระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้า ได้รับการบูชาในที่ทุกแห่ง เกียรติยศของข้าพเจ้าฟุ้งขจรไป มีสหายมากใน กาลทุกเมื่อ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยก ในกาลทุกเมื่อ ข้าพเจ้าเป็นผู้สูงสุดกว่าหมู่ญาติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้าไม่รู้จักความหนาว ความร้อน ไม่มีความเร่าร้อน อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีทุกข์ทางจิต ในหทัยเลย.
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีวรรณะ เพียงดังวรรณะ แห่งทอง ท่องเที่ยวไปในระหว่างภพกับภพ
ข้าพเจ้าไม่รู้จักความเป็นผู้มีวรรณะต่างออกไปเลย นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า. ข้าพเจ้า จุติจากเทวโลกแล้ว อันกุศลมูลชักจูงแล้ว ไปเกิดในนครสาวัตถี ในตระกูล มหาศาล ผู้มั่งคั่ง.
ครั้น ข้าพเจ้าละกามคุณ ๕ แล้ว บวช ในความเป็นผู้ไม่มีเรือน ข้าพเจ้ามีอายุเพียง ๗ ขวบแต่ปีเกิด ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ ทรงทราบ คุณของข้าพเจ้าแล้ว ทรงอนุญาตการอุปสมบท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 467
ข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก เป็นผู้ได้รับการบูชา ผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้า เป็นผู้มีทิพยจักษุบริสุทธิ์ เป็น ผู้ฉลาดในสมาธิ เป็นผู้บรรลุถึงฝั่งแห่งอภิญญา นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้า เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาตาม ลำดับแล้ว เป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท เป็นผู้บรรลุ ถึงฝั่งในธรรมทั้งหลาย นี้ เป็นผลแห่งการบูชา พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ เลย นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.
ข้าพเจ้า เผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็น ไม่มีอาสวะอยู่.
ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.
ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.
ทราบว่า ท่านพระอุตตรเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล. จบอุตตรเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 468
๕๕๖. อรรถกถาอุตตรเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านอุตตรสามเณร มีคำเริ่มต้นว่า สุเมโธ นาม สมฺพุทฺ- โธ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ท่านเป็นวิทยาธรเที่ยวไป ทางอากาศ. ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ประการ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่งระหว่างป่า เพื่อทรงอนุเคราะห์สรรพสัตว์ ในที่นั้นนั่นแล. วิทยาธรนั้น ไปทางอากาศ มองเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส ลงจากอากาศนำเอาดอกกรรณิการ์อันบริสุทธิ์สะอาดงามตา น้อม บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ดอกไม้ทั้งหลายได้ ตั้งอยู่โดยอาการดังฉัตรอยู่เบื้องบนพระศาสดา. วิทยาธรนั้น มีจิตเลื่อมใส โดยประมาณยิ่ง ในกาลต่อมา กระทำกาละแล้ว บังเกิดในดาวดึงส์ เสวย ทิพยสมบัติ ดำรงอยู่ในดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ จุติจากภพนั้นแล้ว ท่อง เที่ยวไปโนเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้บังเกิดเป็นบุตรของ พราหมณ์มหาศาลในกรุงราศคฤห์. เขาได้มีชื่อว่า อุตตระ. เขาได้บรรลุนิติ- ภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชาของพราหมณ์แล้ว ด้วยชาติตระกูล ด้วยรูป สมบัติ ด้วยความรู้ ด้วยวัย และด้วยศีลจารวัตร เขาจึงได้รับความยกย่อง จากชาวโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 469
วัสสการพราหมณ์ ตำแหน่งมหาอำมาตย์ประจำแคว้นมคธ ได้มอง เห็นสมบัติอันนั้นของอุตตระนั้นแล้ว จึงมีความประสงค์ที่จะยกธิดาของตน มอบให้แก่เขา ได้ประกาศความประสงค์ของตนให้ทราบแล้ว. อุตตระนั้น ปฏิเสธเรื่องผู้หญิง เพราะว่าเขาเป็นผู้มีอัธยาศัยเพื่อจะออกจากทุกข์ เข้าไปหา พระธรรมเสนาบดีเป็นประจำตามการอันสมควร ได้ฟังธรรมในสำนักของ ท่านแล้ว ได้มีศรัทธาบรรพชาแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ บำรุง พระเถระเป็นประจำ.
ก็โดยสมัยนั้น อาพาธอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่พระเถระ อุตตรสามเณร ประสงค์จะปรุงเภสัชถวายพระเถระ. รุ่งขึ้นเช้า จึงถือบาตรและจีวรออกจาก วิหาร ในระหว่างหนทางได้วางบาตรไว้ใกล้สระน้ำแล้ว เข้าไปใกล้น้ำ ล้าง หน้าอยู่. ครั้งนั้น โจรขุดอุโมงค์คนหนึ่ง ไปทำการลักขโมยมาแล้ว ถูก พวกจำรวจติดตามไล่จับ ออกจากเมืองโดยถนนใหญ่ เมื่อจะหนีไป ได้ใส่ห่อรัตนะที่ตนถือมาลงในบาตรของสามเณรแล้ว จึงหนีไป. แม้ สามเณร เข้าไปใกล้บาตรแล้ว. พวกตำรวจติดตามโจรไป มองเห็นห่อ ของในบาตรของสามเณรเข้าใจผิดว่า ผู้นี้ เป็นโจร, ผู้นี้ได้กระทำโจรกรรม แล้ว. ดังนี้แล้ว จึงผูกแขนสามเณรไพล่หลัง นำไปแสดงแก่ท่านวัสสการพราหมณ์. ก็ในครั้งนั้น ท่านวัสสการพราหมณ์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา ประจำพระราชสำนัก ย่อมตัดสินการตัดและการทำลายได้. ท่านวสัสการพราหมณ์กล่าวว่า ครั้งก่อน ท่านไม่เชื่อถ้อยคำเรา. ไปบวชในหมู่ผู้ประพฤติ นอกรีตนอกรอยจากทางที่บริสุทธิ์ ดังนี้ ไม่ยอมชำระคดีให้ขาวสะอาด ใคร่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 470
จะตัดสินฆ่าอย่างเดียว โดยวิธีเอาหลาวเสียบเขาทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่นแหละ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแลเห็นว่าญาณของเขาแก่กล้า แล้ว จึงเสด็จไปยังสถานที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์มีพระองคุลียาวเรียวอ่อนนุ่ม ดุจปุยนุ่นเหมือนตัดด้วยเปลวไฟ คล้ายท่อธารทองคำสีแดงชาติหลั่งไหลออก เพราะมีพระหัตถ์และพระนขาอันงดงามดุจสำเร็จด้วยแก้วมณีทำให้สั่นสะเทือน ลงบนศีรษะของอุตตรสามเณรตรัสว่า อุตตระ นี้เป็นผลกรรมในครั้งก่อน เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอพึงอดกลั้นด้วยกำลังแห่งปัจจเวกขณญาณแล้ว จึง ทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณร ได้รับปีติปราโมทย์ อันโอฬาร เพราะเกิดความเลื่อมใสโสมนัสใจ ด้วยการสัมผัสพระหัตถ์ ของพระคาสดา เช่นกับได้รับการรดด้วยน้ำอมฤต เริ่มยกจิตขึ้นสู่หนทาง วิปัสสนาตามที่ตนได้สั่งสมมา เพราะญาณถึงความแก่กล้า และเพราะ ความไพเราะแห่งเทศนาของพระศาสดา จึงทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปได้ตาม ลำดับแห่งมรรค ในขณะนั้นนั่นเอง เป็นผู้ได้อภิญญา ๖. ก็ครั้นท่านเป็นผู้ ได้อภิญญา ๖ แล้วได้ถอนตนขึ้นจากหลาว ยืนอยู่ในอากาศ เพื่ออนุเคราะห์ ผู้อื่น จึงแสดงปาฏิหาริย์แล้ว. มหาชนได้เกิดความอัศจรรย์ใจ. ในขณะนั้น นั้นเอง แผลของท่านก็หายสนิทดี. สามเณรนั้น ถูกพวกภิกษุถามว่า อาวุโส ได้รับทุกข์ถึงอย่างนั้น เธอยังสามารถเพื่อเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร ดังนี้ จึงกล่าวว่า อาวุโส จะกล่าวไปทำไมถึงโทษในสงสารของผมเล่า, ก็สภาวะ แห่งสังขารทั้งหลาย ผมเห็นได้ชัดเจนแล้ว ผมแม้จะเสวยทุกข์ถึงเช่นนั้น ก็ยังสามารถเพื่อบรรลุวิปัสสนาได้ และกล่าวอีกว่า ในชาติก่อนเวลาเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 471
เด็กหนุ่ม ผมถือหลาวไม้สะเดาไล่แทงแมลงวัน เพราะอาศัยการเล่นจับสัตว์ เสียบหลาว จึงได้เสวยความทุกข์ถูกเสียบหลาว ตั้งหลายร้อยชาติอย่างนี้ ใน ชาติสุดท้ายนี้ก็ยังได้รับทุกข์ถึงอย่างนี้แล.
ครั้นในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุรพกรรมได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ เริ่มต้นว่า สุเมโธ นาม สมฺพุทฺโธ ดังนี้. ในคำนั้นข้าพเจ้าจักทำการอธิบาย เฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.
วิชฺชาโร จทา อาสึ ความว่า เราได้เป็นผู้สามารถไปในอากาศได้ ด้วยวิชาที่สำเร็จมามีมนต์ภายนอกศาสนาเป็นต้น รักษาวิชานั้นไม่ให้เสื่อมไป ด้วยการประพฤติเสมอ ด้วยอำนาจการบริหารรักษาไว้ จึงได้กำเนิดเกิดเป็น วิทยาธร. บทว่า อนฺตลิกฺขจโร อหํ ความว่า ชื่อว่า อันตลิกขะ เพราะ กระทำการกำหนดเบื้องต้นและที่สุดได้, อีกความหมายหนึ่งชื่อว่า อันตลิกขะ เพราะเป็นเหตุให้กำหนดแลดูเบื้องต้นและที่สุดได้. อธิบายว่า ในอากาศนั้น ข้าพเจ้าเที่ยวไปในอากาศเป็นประจำ. บทว่า ติสูลํ สุกนตํ คยฺห ความว่า หลาวอันคมกริบ คือ อาวุธชั้นยอด ได้แก่ หลาวที่ทำเป็นอย่างดี, อธิบาย ว่า ข้าพเจ้าถือเอาอาวุธคือหลาวที่ทำอย่างดี สามารถที่จะทิ่มแทง ย่ำยี และ ประหารสัตว์ได้ แล้วไปทางท้องฟ้า. คำที่เหลือทั้งหมดมีเนื้อความพอที่จะ กำหนดรู้ได้โดยง่าย ด้วยวิธีประกอบตามเนื้อความ เพราะมีความหมายดังที่ ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาอุตตรเถราปทาน