ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เพียรระวัง ... ไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้น
เพียรละ ... บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
เพียรเจริญ ... กุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
เพียรรักษา ... กุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
เพียรระวัง เพียรละ เพียรเจริญ และ เพียรรักษา
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
บุคคลที่เป็นบัณฑิต หาได้ยากในโลก หลายท่านที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ได้พบกัลยาณมิตรที่ดี คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับธรรมอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอนั้น ท่านอาจจะคิดว่า เป็นความบังเอิญ (พูดกันจนติดปากว่า เป็นความบังเอิญ) แต่ไม่มีความบังเอิญ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเคยได้สั่งสมเหตุที่ดี
มีโอกาสศึกษาพระธรรม เพราะเคยได้สั่งสมเหตุที่ดี
ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ตาย่อมเดือดร้อน เพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ
หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ
จมูกย่อมเดือดร้อน เพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ
ลิ้นย่อมเดือดร้อน เพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ
กายย่อมเดือดร้อน เพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ
ใจย่อมเดือดร้อน เพราะธรรมมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ
แนวทางเจริญวิปัสสนา
ใครติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เท่ากับติดทุกข์ เพราะไม่ว่าจะมีความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สักเท่าไรก็ตาม ผลแท้จริง ซึ่งจะได้รับการติด การพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จะไม่พลัดพรากไปนั้น ไม่มี
แนวทางเจริญวิปัสสนา
ปัญญาที่คมกล้า จะมีได้ก็เพราะอาศัยสติที่เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้เรื่อยๆ บ่อยๆ เนืองๆ เพราะถ้าสติไม่เกิด ปัญญาไม่มีวันที่จะเจริญขึ้น จนกระทั่งคมกล้าได้
แนวทางเจริญวิปัสสนา
ปปัญจธรรม คือ กิเลสอันเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ที่ทำให้ สังสารวัฏฏ์ ยาวนานมากขึ้น โดยมากทรงแสดงไว้ ๓ ประเภท คือ ตัณหา (โลภะ) มานะ ทิฏฐิ
ตัณหา จึงเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ทำให้ปัญญาไม่เจริญขึ้น หรือ แม้แต่ผู้ได้ยินได้ฟังธรรมมาบ้าง แต่เป็นผู้มีความหวัง มีความต้องการที่จะให้ได้ผลโดยเร็วจากการศึกษาพระธรรม นี่ก็เป็นเครื่องเนิ่นช้าด้วยเช่นกัน
มานะ (ความสำคัญตน) เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้าอีกประการหนึ่ง ไม่ให้ปัญญาเจริญขึ้น เพราะเหตุว่าเมื่อมีความสำคัญตน ย่อมไม่เข้าไปสอบถาม ไม่เข้าไปสนทนาธรรมกับท่านผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจสภาพธรรม ทำให้เป็นผู้หมดโอกาสในการเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น จึงเป็นธรรมเครื่องช้า ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา
ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต (ทิฏฐิคตสัมปยุตต์) ทำให้เป็นผู้มีความเห็นผิดประการต่างๆ มีการยึดถือ ลูบคลำในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด ซึ่งไม่เป็นหนทางที่เป็นไปเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะมีความเห็นผิด มีการยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด ความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรม ย่อมมีไม่ได้
“เครื่องเนิ่นช้า” – “เครื่องปิดกั้น”
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ