[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒
๑๐. โพชฌังควิภังค์
สุตตันตภาชนีย์ หน้า 227
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑ หน้า 227
โพชฌงค ์๗ นัยที่ ๒ หน้า 228
โพชฌงค ์๗ นัยที่ ๓ หน้า 230
อภิธรรมภาชนีย์ หน้า 231
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย หน้า 231
ปาฏิเยกกปุจจฉาวิสัชนานัย หน้า 233
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย หน้า 234
ปาฏิเยกกปุจจฉาวิสัชนานัย หน้า 236
ปัญหาปุจฉกะ หน้า 237
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา หน้า 238
ติกมาติกาวิสัชนา หน้า 238
ทุกมาติกาวิสัชนา หน้า 239
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา หน้า 239
๒ - ๑๒. จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา หน้า 240
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา หน้า 240
อรรถกถาโพชฌังควิภังค์ หน้า 242
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ หน้า 242
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑ หน้า 242
สติสัมโพชฌงค์ หน้า 245
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หน้า 247
วิริยสัมโพชฌงค์ หน้า 248
ปีติสัมโพชฌงค์ หน้า 248
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ หน้า 248
สมาธิสัมโพชฌงค์ หน้า 249
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ หน้า 249
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒ หน้า 250
โพชฌงค ์๗ นัยที่ ๓ หน้า 253
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ หน้า 255
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย หน้า 255
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ หน้า 256
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 227
๑๐. โพชฌังควิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑
[๕๔๒] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
[๕๔๓] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึกได้ ระลึกได้บ่อยๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นานๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์.
ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.
ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณาซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.
ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วนี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 228
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์.
ภิกษุนั้นเป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดีซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒
[๕๔๔] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
[๕๔๕] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
สติในธรรมภายในมีอยู่ สติในธรรมภายนอกมีอยู่ สติในธรรมภายในแม้ใด สติในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 229
[๕๔๖] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ความเลือกสรรในธรรมภายในมีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอกมีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๕๔๗] วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ความเพียรทางกายมีอยู่ ความเพียรทางใจมีอยู่ ความเพียรทางกายแม้ใด ความเพียรทางกายแม้นั้น ก็ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเพียรทางใจแม้ใด ความเพียรทางใจแม้นั้น ก็ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๕๔๘] ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ปีติที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่มีวิตก มีวิจารแม้ใด ปีติที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด ปีติไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๕๔๙] ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
กายปัสสัทธิมีอยู่ จิตตปัสสัทธิมีอยู่ กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 230
ตรัสรู้เพื่อนิพพาน จิตตปัสสัทธิแม้ใด จิตตปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๕๕๐] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร แม้ใด สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๕๕๑] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
อุเบกขาในธรรมภายในมีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายนอกมีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายในแม้ใด อุเบกขาในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อุเบกขาในธรรมภายนอกแม้ใด อุเบกขาในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
โพชฌงค์ ๗ ในที่ ๓
[๕๕๒] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 231
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ.
สุตตันตภาชนีย์ จบ
อภิธรรมภาชนีย์
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๕๓] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 232
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีในสมัยนั้น.
[๕๕๔] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
สติ ความรำลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์.
[๕๕๕] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้ เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.
[๕๕๖] วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์
[๕๕๗] ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความปีติอย่างโลดโผน ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติ สัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.
[๕๕๘] ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบ ระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 233
[๕๕๙] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์.
[๕๖๐] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗.
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๖๑] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ในโพชฌงค์ ๗ สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 234
และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่ เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๖๒] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 235
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมมีในสมัยนั้น.
ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
สติ ความระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่ง จิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพชฌงค์ ๗. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 236
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๖๓] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยธัมม-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 237
วิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมที่สัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้นแล เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
ปัญหาปุจฉกะ
[๕๖๔] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 238
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาโพชฌงค์ ๗ ข้อไหนเป็นกุศล ข้อไหนเป็นอกุศล ข้อไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ ข้อไหนเป็นสรณะ ข้อไหนเป็นอรณะ.
ติกมาติกาวิสัชนา
[๕๖๕] โพชฌงค์ ๗ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต โพชฌงค์ ๖ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี
โพชฌงค์ ๗ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี
โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ
โพชฌงค์ ๗ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ
โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ โพชฌงค์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี
โพชฌงค์ ๗ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ โพชฌงค์ ๗ เป็นเนวทัสสเนน-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 239
นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปมาณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปมาณารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นปณีตะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอตีตะก็มี เป็นอนาคตะก็มี เป็นปัจจุปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นพหิทธารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๕๖๖] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเหตุ โพชฌงค์ ๖ เป็นนเหตุ, โพชฌงค์ ๗ เป็นสเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุสัมปยุต, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเหตุสเหตุกะ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ, โพชฌงค์ ๖ เป็นนเหตุสเหตุกะ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 240
๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒ จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา
[๕๖๗] โพชฌงค์ ๗ เป็นสัปปัจจยะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสังขตะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนิทัสสนะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปฏิฆะ โพชฌงค์ ๗ เป็น อรูป โพชฌงค์ ๗ เป็นโลกุตตระ โพชฌงค์ ๗ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนอาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอาสววิปปยุต โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนคันถะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนโยคะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็น โนนีวรณะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็น สารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนจิตตะ โพชฌงค์ ๗ เป็นเจตสิกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสัมปยุต. โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสมุฏฐานะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสหภู โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตานุปริวัตติ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐานานุปริวัตติ โพชฌงค์ ๗ เป็นพาหิระ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนอุปาทา โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุปาทินนะ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๕๖๘] โพชฌงค์ ๗ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, โพชฌงค์ ๗ เป็น นภาวนายปหาตัพพะ. โพชฌงค์ ๗ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 241
โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอัปปีติกะ โพชฌงค์ ๖ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นนปีติสหคตะ โพชฌงค์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นสุขสหคตะ โพชฌงค์ ๖ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นนอุเปกขาสหคตะ โพชฌงค์ ๖ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี. โพชฌงค์ ๗ เป็นนกามาวจร โพชฌงค์ ๗ เป็นนรูปาวจร โพชฌงค์ ๗ เป็นนอรูปาวจร. โพชฌงค์ ๗ เป็นอปริยาปันนะ โพชฌงค์ ๗ เป็นนิยยานิกะก็มี อนิยยานิกะก็มี. โพชฌงค์ ๗ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี. โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุตตระ. โพชฌงค์ ๗ เป็นอรณะ ฉะนี้ แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
โพชฌังควิภังค์ จบบริบูรณ์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 242
อรรถกถาโพชฌังควิภังค์
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่หนึ่ง
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัย ในโพชฌังควิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก อิทธิบาทวิภังค์นั้น ต่อไป.
คำว่า ๗ เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า โพชฺฌงฺคา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ หรือเป็นองค์แห่งพระสาวกผู้ตรัสรู้. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอันใด อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัททวะ (อันตราย) มิใช่น้อย มีการหดหู่ ความฟุ้งซ่าน การตั้งอยู่ (แห่งทุกข์) การพอกพูน (หรือการประมวลมาซึ่งทุกข์) อันมีการยึดมั่นในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ เป็นต้น.
คำว่า ย่อมตรัสรู้ คือ ธรรมสามัคคีนั้น ย่อมตั้งขึ้นเพื่อทำลายความสืบต่อแห่งกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ย่อมตรัสรู้ ได้แก่ ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔. อีกอย่างหนึ่ง ... .ได้แก่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 243
นั่นแหละ. ที่ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ กล่าวคือ ธรรมสามัคคีนั้น ดุจองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้นก็ได้.
พระอริยสาวกนี้ใด ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี มีประการตามที่กล่าวมานั้น. แม้เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้ ก็ชื่อว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์แห่งเสนา องค์ แห่งรถ เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า หรือว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้ ฉะนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร ข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทานี้ว่า ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตรัสรู้. ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ตาม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้เฉพาะ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้พร้อม ดังนี้ ก็ได้.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น. โพชฌงค์อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วด้วย อันดีด้วย ชื่อว่า สัมโพชฌงค์. สัมโพชฌงค์ คือ สตินั่นแหละ ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์. (โพชฌงค์ที่เหลือก็เช่นเดียวกัน) บรรดาสัมโพชฌงค์เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ มีการตั้งมั่น (อุปัฏฐานะ) เป็นลักษณะ. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีการพิจารณาค้นคว้า (ปวิจยะ) เป็นลักษณะ. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีความสงบเป็นลักษณะ. สมาธิสัมโพชฌงค์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 244
การเพ่งเฉย (ปฏิสังขานะ) (๑) เป็นลักษณะ. ในสัมโพชฌงค์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติสัมโพชฌงค์ก่อน เพราะความที่สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรมมีอุปการะแก่สัมโพชฌงค์ทั้งหมด ดังพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราย่อมกล่าวว่า สติแล เป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง (สติแล จำปรารถนาในที่ทั้งปวง) ดังนี้ เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นการประกอบบท ทั้งที่มีมาในพระบาลีโดยลำดับอย่างนี้นั่นแหละ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมเลือกสรรพิจารณาซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นต้น.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น ว่าไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่านี้ เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่และอุทธัจจะ และเพราะเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
จริงอยู่ในโพชฌงค์เหล่านี้ โพชฌงค์ ๓ (ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ) เป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใดแลจิตหดหู่ ในสมัยนั้นเป็นกาลสมควร เพื่อการเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้. โพชฌงค์ ๓ (ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา) เป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจะ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสมัยใดแลจิตฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้น เป็นกาลสมควรเพื่อการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควร
(๑) คำว่า ปฏิสังขานะ คือการเพ่งเฉย ในที่นี้หมายถึงการปรุงแต่งโพชฌงค์ ๖ ที่เหลือ โดยอาการเป็นกลาง อาจารย์บางพวก ได้กล่าวว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ปรุงแต่งศรัทธากับปัญญ า วิริยะกับสมาธิ ให้สม่ำเสมอกัน
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 245
เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้. อนึ่ง ในโพชฌงค์ทั้งหมดเหล่านั้น โพชฌงค์หนึ่ง (คือ สติ) ชื่อว่า เป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง เพราะความเป็นธรรมอันสัตว์พึงปรารถนา เปรียบเหมือนการปรุงรสเค็มในกับแกงทุกอย่าง และเปรียบเหมือนอำมาตย์ผู้ทำการงานทั้งหมดในราชกิจทั้งปวง. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สติแล เป็นธรรมมี ประโยชน์ในที่ทั้งปวง. พระบาลีใช้คำว่า สพฺพตฺถิกํ จะแปลว่า เป็นธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวงก็ได้ พระบาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. ท่านอธิบายว่า สัตว์พึงปรารถนาในที่ทั้งปวง แม้ทั้งสองบท. พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โพชฌงค์มี ๗ เท่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่และอุทธัจจะ และเพราะเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง ดังพรรณนามาฉะนี้แล.
สติสัมโพชฌงค์
บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหตุแห่งความต่างกันในเพราะอารมณ์หนึ่งแห่งโพชฌงค์เหล่านั้นนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งกิจ (หน้าที่) ของตนๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ตตฺถ กตโม สติสมฺโพชฺฌงฺโค เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระพุทธศาสนานี้. คำว่า สติมา โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติ เหมือนบุคคลผู้มีปัญญา เพราะประกอบด้วยปัญญา บุคคลมียศเพราะประกอบด้วยยศ บุคคลมีทรัพย์เพราะ ประกอบด้วยทรัพย์ฉะนั้น. อธิบายว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสติ. คำว่า ปรเมน (แปลว่าประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง) ได้แก่ ด้วยปัญญาอันสูงสุด. จริงอยู่ คำนี้ชื่อว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง เป็นธรรมสูงสุด เป็นธรรมประเสริฐสุด
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 246
เพราะเป็นธรรมคล้อยตาม (อนุโลม) ต่อพระนิพพาน อันเป็นปรมัตถสัจจะ และมรรคสัจจะ. พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สติเนปกฺเกน (ด้วยสติและด้วยปัญญา) ดังนี้ ปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า เนปักกะ อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยสติและด้วยปัญญา. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงสงเคราะห์ (ถือเอา) ปัญญาในการจำแนกบทแห่งสตินี้. ตอบว่า เพื่อการแสดงซึ่งความที่สติเป็นสภาพมีกำลัง. จริงอยู่ สติแม้เว้นจากปัญญาก็เกิดขึ้นได้ สตินั้นเมื่อเกิดพร้อมกับปัญญา ย่อมเป็นสภาพมีกำลัง เมื่อเว้นจากปัญญา ย่อมทุรพล. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงถือเอาปัญญาด้วย เพื่อแสดงซึ่งความที่โพชฌงค์นั้นเป็นสภาพมีกำลัง.
เหมือนอย่างว่า ราชมหาอำมาตย์ ๒ คน พึงยืนอยู่ในทิศทั้งสอง บรรดามหาอำมาตย์สองคนนั้น คนหนึ่งอุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ คนหนึ่งเป็นผู้เดียวเท่านั้นยืนอยู่ตามธรรมดาของตน. ในมหาอำมาตย์เหล่านั้น คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ย่อมเป็นผู้มีอำนาจ ด้วยอำนาจของพระราชบุตรด้วย มหาอำมาตย์คนที่ยืนอยู่ตามธรรมดาของตน ย่อมไม่มีอำนาจเสมอด้วยอำนาจของมหาอำมาตย์คนที่อุ้มพระราชบุตรนั้น ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ สติอันเกิดขึ้นพร้อมกับปัญญา เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ สติเกิดขึ้นเว้นจากปัญญาเปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ยืนอยู่ตามธรรมดาของตน. ในอำมาตย์เหล่านั้น คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ย่อมเป็นผู้มีอำนาจ ด้วยอำนาจของตนบ้าง ด้วยอำนาจของพระราชบุตรบ้าง ฉันใด สติบังเกิดขึ้นพร้อมด้วยปัญญา ก็ย่อมเป็นสภาพมีกำลัง ฉันนั้น. มหาอำมาตย์คนที่อยู่ตามธรรมดาของตน ย่อมเป็นผู้ไม่มีอำนาจเสมอด้วยอำนาจของมหาอำมาตย์คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ฉันใด สติที่บังเกิดขึ้นเว้นจากปัญญา ย่อมมี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 247
กำลังทราม (ทุรพล) ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่งความที่สติเป็นสภาพมีกำลัง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถือเอาปัญญาด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้.
คำว่า จิรกตมฺปิ ได้แก่ วัตรอันกระทำไว้นานๆ ด้วยกายของตนหรือของผู้อื่น หรือว่าได้แก่ กสิณมณฑล หรือกสิณบริกรรม. คำว่า จิรภาสิตมฺปิ ได้แก่ ธรรมกถาอันตั้งอยู่ในวัตตสีสะแม้มากอันตนหรือผู้อื่นกล่าวด้วยวาจาไว้นานๆ หรือว่าได้แก่ การวินิจฉัยในกรรมฐานหรือธรรมกถานั่นแหละ อันตั้งอยู่ในวิมุตตายนสีสะ. คำว่า สริตา โหติ ได้แก่ ส่วนแห่งอรูปธรรม อันยังกายวิญญัติและวจีวิญญัตินั้นให้ตั้งขึ้นพร้อม เป็นไปทั่วแล้ว ก็ระลึกได้ว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ดับไปแล้วอย่างนี้. คำว่า อนุสริตา ได้แก่ ระลึกได้บ่อยๆ. คำว่า อยํ วุจฺจติ สติสมฺโพชฺฌงโค ได้แก่ สตินี้ อันสัมปยุต ด้วยวิปัสสนา ซึ่งยังโพชฌงค์ที่เหลือให้ตั้งขึ้น อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สติสัมโพชฌงค์.
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
คำว่า โส ตถา สโต วิหรนฺโต ได้แก่ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติด้วยสติอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนั้นอยู่. คำว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ กิจที่กระทำไว้นานๆ วาจาที่กล่าวไว้นานๆ ซึ่งเป็นธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วในหนหลังนั้น. คำว่า ปญฺาย วิจินติ ได้แก่ ย่อมวิจัย (ค้นคว้า) ด้วยปัญญาว่า นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า ปวิจินติ ได้แก่ ยังปัญญาให้ใคร่ครวญไปในธรรมนั้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า ปริวิมํสํ อาปชฺชติ ได้แก่ ย่อมถึงการแลดูค้นคว้า. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้มีประการตามที่กล่าวแล้ว คือ เป็นสมุฏฐานแห่งโพชฌงค์ เป็นวิปัสสนาญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 248
วิริยสัมโพชฌงค์
คำว่า ตสฺส ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ภิกษุนั้น วิจัยธรรมนั้น ซึ่งมีประการตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง. คำว่า อารทฺธํ โหติ ได้แก่ เป็นความเพียรที่บริบูรณ์ เป็นความเพียรอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อสลฺลีนํ ได้แก่ ชื่อว่า ความไม่ย่อหย่อน เพราะเป็นความพยายามทีเดียว. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ เป็นความเพียรอันยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.
ปีติสัมโพชฌงค์
คำว่า นิรามิสา ได้แก่ บริสุทธิ์ ชื่อว่าปราศจากอามิส เพราะความไม่มีกามอามิส โลกอามิส และวัฏฏอามิส. คำว่า อยํ วุจุจติ ได้แก่ ปีตินี้เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์. คำว่า ปีติมนสฺส แปลว่า ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ.
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
คำว่า กาโยปิ ปสฺสมฺภติ ได้แก่ นามกาย กล่าวคือ ขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร) ย่อมสงบระงับ ในเพราะความสงบระงับไปแห่งความเร่าร้อนด้วยกิเลส. คำว่า จิตฺตมฺปิ ได้แก่ แม้วิญาณขันธ์ ก็ย่อมสงบระงับ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ปัสสัทธินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุต ด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. คำว่า ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน ได้แก่ ผู้มีความสุข ด้วยความสุข อันเกิดขึ้นเพราะความที่กายนั้นสงบระงับแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 249
สมาธิสัมโพชฌงค์
คำว่า สมาธิยติ ได้แก่ ย่อม ตั้งมั่นโดยชอบ คือ เป็นสภาวะไม่หวั่นไหวอยู่ในอารมณ์เหมือนบรรลุอัปปนา. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (สมาธิ) นี้เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์. คำว่า ตถา สมาหิตํ ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดุจการบรรลุอัปปนานั้น.
อุเปกขาสัมโพชฌงค์
คำว่า สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ได้แก่ เข้าไปตั้งมั่นด้วยดี ไม่เป็นสภาวะเปลี่ยนไป ในเพราะการละและการเจริญธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ย่อมตั้งมั่น. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้ เป็นสภาพธรรมยังโพชฌงค์ ๖ ไม่ให้ท้อถอย ทั้งไม่ให้ก้าวล่วง ให้สำเร็จ ซึ่งอาการของความเป็นกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คำอะไรๆ ย่อมชื่อว่า เป็นธรรมอันท่านกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสโพชฌงค์ทั้งหลาย โดยรส (หน้าที่) ต่างๆ เป็นลักษะ (เครื่องหมาย) เป็นบุพภาควิปัสสนาในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ไม่ก่อนไม่หลังกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.
นัยที่หนึ่ง จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 250
โพชฌงค์ ๗ นัยที่สอง
บัดนี้ โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นโพชฌงค์ ๑๔ โดยปริยายใด พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงนัยที่สอง เพื่อทรงประกาศซึ่งปริยายแห่งโพชฌงค์ ๑๔ นั้น จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้นอีก. ในนัยที่สองนั้น พึงทราบการพรรณนาบทโดยลำดับดังนี้.
คำว่า อชฺฌตฺตธมฺเมสุ สติ (สติในธรรมภายในมีอยู่) ได้แก่ สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลายอันเป็นภายใน. คำว่า พหิทฺธาธมฺเมสุ สติ (สติในธรรมภายนอกมีอยู่) ได้แก่ สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลายภายนอก. บทว่า ยทปิ ท่านแก้เป็น ยาปิ ( ... ..แม้ใด) บทว่า ตทปิ ท่านแก้ เป็น สาปิ ( ... .แม้นั้น). บทว่า อภิฺาย ได้แก่ เพื่อการรู้ยิ่งในธรรมที่ควรรู้ยิ่ง.
มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า สัมโพธิ (ความตรัสรู้) ในบทว่า สมฺโพธาย อธิบายว่า เพื่อมรรคผล.
ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า วานะ ในบทว่า นิพฺพานาย ตัณหานั้น ไม่มีในที่นั้น เพราะเหตุนั้น ที่นั้น จึงเรียกว่า นิพพาน. อธิบายว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพานนั้น เพื่ออสังขตะ เพื่ออมตธาตุ เพื่อการกระทำให้แจ้ง ดังนี้. แม้ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็นัยนี้ นั่นแหละ.
คำว่า กายิกํ วิริยํ ได้แก่ ความเพียรอันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้อธิษฐานอยู่ซึ่งการจงกรม. คำว่า เจตสิกํ ได้แก่ความเพียรอันเกิดขึ้นแล้ว เว้นกายปโยค อย่างนี้ว่า ตราบใด จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย โดยความไม่ถือมั่นแล้ว เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ ดังนี้. คำว่า กายปสฺสทฺธิ ได้แก่
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 251
ความสงบระงับซึ่งความกระวนกระวายแห่งขันธ์ทั้ง ๓. คำว่า จิตฺตปสฺสทฺธิ ได้แก่ ความสงบระงับซึ่งความกระวนกระวายของวิญญาณขันธ์. พึงทราบ วินิจฉัยในอุเปกขาสัมโพชฌงค์ เช่นเดียวกับสติสัมโพชฌงค์นั่นแหละ.
ในนัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพชฌงค์ ๗ เจือด้วยโลกิยะและ โลกุตตระ.
ส่วนพระเถระในปางก่อนทั้งหลาย แสดงแยกไว้ว่า นัยนี้ปรากฏได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. เพราะว่าในอัชฌัตตธรรมเหล่านี้ ธรรมทั้ง ๓ คือ สติ ปวิจยะ (ธัมมวิจยะ) อุเปกขา เป็นโลกิยะเท่านั้น เพราะความที่ตน (ธรรมทั้ง ๓) มีขันธ์เป็นอารมณ์. ความเพียรทางกาย (วิริยะ) อันยังไม่บรรลุมรรคก็เช่นกัน (ยังเป็นโลกียะ) ส่วนปีติ สมาธิ อันเป็นอวิตักกอวิจาระเป็นโลกุตตระ ธรรมที่เหลือเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. ในโพชฌงค์เหล่านั้น ธรรมทั้งหลายอันเป็นอัชฌัตตะก่อน สติ ปวิจยะ อุเปกขา เป็นอัชฌัตตารัมมณะ. ส่วนโลกุตตระทั้งหลายเป็นพหิทธารัมมณะ เพราะฉะนั้น ความเป็นโลกุตตระ จึงมิได้ประกอบด้วยสติ ปวิจยะ และอุเปกขาเหล่านั้น. เมื่อจะกล่าวว่า ความเพียรแม้อันเกิดขึ้นด้วยการประกอบการเดินจงกรม ว่าเป็นโลกิยะ ดังนี้ ก็ไม่หนักใจ. ถามว่า ก็ปีติ สมาธิที่เป็นอวิตักกอวิจาระในกาลเช่นไรเป็นโลกุตตระเท่านั้น. ตอบว่า ในเบื้องต้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมได้ในกามาวจร ปีติอันเป็นอวิตักกอวิจาระย่อมไม่ได้. ปีติอันเป็นอวิตักกอวิจาระย่อมได้ในรูปาวจร. ก็แต่ว่าไม่ได้ปีติสัมโพชฌงค์ (ในรูปวจร). คำที่กล่าวมาโดยประการทั้งปวง ย่อมไม่ได้ในอรูปาวจร. ก็ในอธิการนี้ ท่านหมายเอาสภาวะที่ยังไม่เคยได้ จึงปฏิเสธปีติทั้งหลายอันบุคคลทั้งหลายได้อยู่. คือว่า ปีติสัมโพชฌงค์อันเป็นอวิตักกอวิจาระ นี้ อย่างนี้ เป็นสภาพออกไปแล้วจากกามาวจรบ้าง จากรูปาวจรบ้าง จาก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 252
อรูปาวจรบ้าง ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า เป็นโลกุตตระอันเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น.
สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็ย่อมได้ในกามาวจร โดยทำนองเดียวกัน. อนึ่ง สมาธิที่เป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อมไม่ได้. สมาธิอันเป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อมได้ ในรูปาวจรและอรูปาวจร. ส่วนสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมไม่ได้. ก็แต่ในอธิการนี้ ท่านหมายเอาสภาวะที่ยังไม่ได้ จึงปฏิเสธสมาธิแม้อันบุคคลได้อยู่ สมาธินี้ อย่างนี้ ออกไปจากกามาวจรบ้าง จากรูปาวจรบ้าง จากอรูปาวจรบ้าง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้วทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงถือเอาโลกิยะแล้วทำโลกุตตระ พึงถือเอาโลกุตตระแล้วทำโลกิยะ ก็ได้. เพราะว่า แม้เวลาเจริญโลกุตตระของสติ ปวิจยะ อุเบกขาในอัชฌัตตธรรมมีอยู่. ในอธิการนี้ มีพระสูตรเป็นอุทาหรณ์ว่า
ผู้มีอายุ เราแล ย่อมกล่าวอัชฌัตตวิโมกข์ว่า เป็นธรรมสิ้นไปแห่งความยึดมั่นในที่ทั้งปวง อาสวะทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไม่นอนเนื่องแก่ธรรมเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ ดังนั้น โลกุตตระทั้งหลาย จึงชื่อว่ามีอยู่โดยพระสูตรนี้. ก็แต่ว่า ในกาลใด เมื่อความเพียรอันเป็นไปทางกายซึ่งเกิดขึ้นด้วยจังกมประโยค (การประกอบการเดินจงกรม) อันยังไม่สงบนั่นแหละ วิปัสสนาย่อมสืบต่อไปสู่มรรค ในกาลนั้น ความเพียรนั้นจึงเป็นโลกุตตระ.
อนึ่ง พระเถระเหล่าใด ย่อมกล่าวว่า โพชฌงค์ที่ยกขึ้นมิได้เว้นกสิณฌานทั้งหลาย อานาปานฌานทั้งหลาย และพรหมวิหารฌานทั้งหลาย ในวาทะของพระเถระเหล่านั้น ปีติสมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อมเป็นโลกีย์ แล.
ทุติยนัย จบ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 253
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๓
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงนัยที่ ๓ อันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเจริญโพชฌงค์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นอาทิอีก. แม้ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบการพรรณนาบทโดยลำดับ ดังนี้.
บทว่า ภาเวติ ได้แก่ ย่อมเจริญ คือ ย่อมให้เกิด ให้บังเกิดยิ่งในสันดานของตนบ่อยๆ. บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ได้แก่ อันอาศัยวิเวก. บทว่า วิเวโก ได้แก่ วิเวกคือความสงัด. อนึ่ง วิเวกนี้มี ๕ อย่าง คือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก บรรดาวิเวกเหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ตทังควิเวก. สมาบัติ ๘ ชื่อว่า วิกขัมภนวิเวก. มรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิเวก. ผล ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิวิเวก. พระนิพพาน อันสละซึ่งนิมิตทั้งปวง ชื่อว่า นิสสรณวิเวก. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความนี้ว่า พระโยคีย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยซึ่งตทังควิเวก อาศัยซึ่งสมุจเฉทวิเวก อาศัยซึ่งนิสสรณวิเวก โดยหมายเอาในคำว่า วิเวก ๕ จึงชื่อว่า อาศัยซึ่งวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคีนี้ ประกอบเนืองๆ ด้วยการประกอบในการเจริญสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยตทังควิเวก โดยกิจในขณะแห่งวิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัชฌาสัย (อชฺฌาสยโต) แต่ในกาลแห่งมรรค อาศัยซึ่งสมุทเฉทวิเวกโดยกิจ อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์.
อาจารย์บางพวก กล่าวว่า อาศัยวิเวกทั้ง ๕ อย่าง ก็มี. จริงอยู่ อาจารย์เหล่านั้น ไม่ยกโพชฌงค์ทั้งหลายขึ้นในขณะที่วิปัสสนา มรรคและผล มีกำลังอย่างเดียว ยังยกขึ้นแม้ในกสิณฌาน อานาปานฌาน อสุภฌาน พรหม-
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 254
วิหารฌานอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา. อนึ่ง ข้อนี้พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายไม่ปฏิเสธ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยมติของอาจารย์เหล่านั้น พระโยคีย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิกขัมภนวิเวกโดยกิจในขณะที่เป็นไปของฌานเหล่านั้นนั่นแหละ. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวก โดยอัชฌาสัยในขณะแห่งวิปัสสนา ฉันใด แม้จะกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวก ดังนี้ ก็ควร. ในคำว่า อาศัยซึ่งวิราคะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จริงอยู่ วิราคะเป็นต้น ก็มีวิเวกเป็นอรรถนั่นแหละ. อนึ่ง โวสสัคคะ (ความสละหรือการถอน) มีเพียง ๒ อย่าง คือ ปริจาคโวสสัคคะ และปักขันทนโวสสัคคะ. ในโวสสัคคะ ๒ นั้น การละกิเลสด้วยสามารถแห่งตทังควิเวก ในขณะแห่งวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทวิเวกในขณะแห่งมรรค ชื่อว่า ปริจาคโวสสัคคะ. การแล่นไปสู่พระนิพพานในขณะแห่งวิปัสสนาโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่ตทังควิเวกนั้น แต่ในขณะแห่งมรรคโดยการกระทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ. โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในนัยแห่งการพรรณนาอันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนี้. จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมสละกิเลสทั้งหลาย โดยประการตามที่กล่าวแล้วด้วย ย่อมแล่นไปสู่นิพพานด้วย ฉะนี้.
บัณฑิตพึงทราบว่า ก็การที่น้อมไปอยู่ น้อมไปแล้ว ถึงที่สุดอยู่ ถึงที่สุดแล้ว ด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ (น้อมไปเพื่อความสละ) ซึ่งมีการสละเป็นอรรถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุนี้ ประกอบเนืองๆ ในการเจริญโพชฌงค์ฉันใด สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงผลซึ่งมีการสละกิเลส อันมีโวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ย่อมบรรลุผลอันมีการแล่นไปสู่พระนิพพานอันมี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 255
โวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ฉันใด ก็สติสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมถึงที่สุดรอบ ฉันใด ภิกษุย่อมยังสติสัมโพชฌงค์นั้น ให้เจริญฉันนั้นเถิด. แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือ ก็นัยนี้. ในนัยแม้นี้ ท่านก็กล่าวว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย เจือด้วยโลกิยะ และโลกุตตระ แล.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
ในอภิธรรมภาชนีย์ มี ๒ นัย ด้วยสามารถแห่งการถามตอบโพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ โดยรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการถามตอบโพชฌงค์ทั้ง ๗ โดยแยกกัน พึงทราบอรรถกถาวรรณนาแห่งโพชฌงค์เหล่านั้น ด้วยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในนิทเทสแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า อุเบกขา ด้วยสามารถแห่งการวางเฉย. อาการ (กิริยา) แห่งการวางเฉย ชื่อว่า กิริยาที่วางเฉย. ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า ย่อมเพ่ง ย่อมไม่ท้วงธรรมทั้งหลาย อันกำลังเป็นไปด้วยดีซึ่งควรแก่การเพ่ง. ชื่อว่า กิริยาที่เพ่ง เพราะอรรถว่า ย่อมยังบุคคลให้เข้าไปเพ่ง. กิริยาที่เพ่งอันยิ่ง โดยกิริยาที่เพ่งเป็นโลกีย์อันบรรลุความเป็นโพชฌงค์ ชื่อว่า ความเพ่งเล็งยิ่ง. ภาวะแห่งความเป็นกลาง โดยการเป็นไปและไม่เป็นไป ชื่อว่า มัชฌัตตตา (ความเป็นกลาง) ท่านกล่าวว่า มัชฌัตตตาแห่งจิต ก็เพื่อแสดงว่า มัชฌัตตตานั้น เป็นของจิต มิใช่เป็นของสัตว์ ดังนี้แล. นี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในอภิธรรมภาชนีย์นี้.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 256
ก็บัณฑิตพึงนับนัยในอภิธรรมภาชนีย์นั้น ด้วยว่าอภิธรรมภาชนีย์นี้ ท่านจำแนกนัยไว้ ๔,๐๐๐ นัย คือ ในมรรคหนึ่ง มี ๑,๐๐๐ นัย (๑,๐๐๐ * ๔ = ๔,๐๐๐) สำหรับในการถามและตอบรวมโพชฌงค์แม้ทั้ง ๗. สำหรับในการแยกวิสัชนาทีละข้อ โพชฌงค์ทั้ง ๗ มี ๔ หมวด จัดเป็น ๒๘,๐๐๐ นัย คือ โพชฌงค์ ๗ เป็น ๔ ด้วยสามารถแห่งโพชฌงค์แต่ละข้อ. นัยแม้ทั้งหมดนั้น เป็น ๓๒,๐๐๐ นัย โดยนับรวมกับ ๔ นัยแรก. ในอภิธรรมภาชนีย์ ท่านจำแนกกุศลทั้งหลายไว้ ๓๒,๐๐๐ นัยเหมือนกัน. แต่เพราะโพชฌงค์ทั้งหลายย่อมได้ แม้ในขณะแห่งผล คือ โพชฌงค์ทั้งหลายเป็นกุศลเหตุ และเป็นสามัญผล ฉะนั้น เพื่อแสดงโพชฌงค์แม้ในนัยเหล่านั้น ท่านจึงเริ่มวิปากนัยโดยแบบแผนอันเป็นเบื้องต้น คือ กุศลนิทเทสนั่นแหละ. นัยแห่งวิบากแม้นั้น มี ๒ อย่างด้วยสามารถแห่งการถามและการตอบรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการถามและการตอบแยกกัน. นัยที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. สำหรับวิปากนัย บัณฑิตพึงคูณด้วย ๓ โดยกุศล แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ
ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบ ความที่โพชฌงค์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ส่วนในอารัมมณติกะทั้งหลาย โพชฌงค์แม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะปรารภพระนิพพานอันเป็นอัปปมาณะเป็นไป ไม่เป็นมัคคารัมมณะ. ก็แต่ว่า ในอธิการนี้ โพชฌงค์ที่เป็นกุศล เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งเหตุ. โพชฌงค์เหล่านั้น เป็นมัคคาธิปติในเวลาเจริญมรรคอันกระทำวิริยะ หรือ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 257
วิมังสาให้เป็นใหญ่. ไม่พึงกล่าวว่า เป็นมัคคาธิปติในการเจริญมรรคอันมีฉันทะ หรือจิตตะเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น ในขณะแห่งผลก็ไม่พึงกล่าวเช่นกัน. ในอตีตะเป็นต้น ก็ไม่พึงกล่าวแม้ด้วยความเป็นเอการัมมณะ. ก็แต่ ชื่อว่า เป็นพหิทธารัมมณะ เพราะความที่พระนิพพานเป็นพหิทธาธรรมแล. แม้ในปัญหาปุจฉกะนี้ ท่านก็ว่า โพชฌงค์ทั้งหลายเป็นโลกุตตระซึ่งเกิดขึ้นแล้วเหมือนกัน. แท้จริง โพชฌงค์ซึ่งเป็นโลกิยะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในนัยที่หนึ่งแห่งสุตตันตภาชนีย์ทีเดียว ในนัยที่ ๒และที่ ๓ ตรัสว่า โพชฌงค์เจือด้วยโลกียะและโลกุตตระ. ในนัยที่ ๔ แห่งอภิธรรมภาชนีย์ก็ดี และในปัญหาปุจฉกะนี้ก็ดี ตรัสว่าเป็นโลกุตตระเท่านั้น. แม้สัมโพชฌงค์นี้ พระองค์ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ
อรรถกถาโพชฌังควิภังค์ จบ