เมื่อ ๒ คืนที่ผ่านมา มีโอกาสได้ฟังการบรรยายธรรม ของพระรูปหนึ่งทางสถานีวิทยุซึ่งออกอากาศธรรมะตลอด ๒๔ ชั่วโมง และดิฉันมักจะฟังเสมอๆ พระรูปหนึ่งท่านบรรยายธรรมว่า รู้ว่าสิ่งนั้นบาปแล้วกระทำสิ่งนั้น ยังบาปน้อยกว่า ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นบาปแล้วกระทำ ท่านยกตัวอย่างว่า เช่น จับปลามาฆ่า รู้ว่าการฆ่าเป็นบาป ก็จะรู้ว่าควรจะทำอย่างไรให้บาปน้อย ส่วนพวกที่ไม่รู้ว่าฆ่าปลาเป็นบาป ก็จะรู้แต่จะฆ่า จึงบาปมากกว่า ความเช่นนี้เป็นข้อธรรม ที่ถูกต้องหรือไม่อย่างไรคะ ขอได้โปรดท่านผู้รู้ กรุณาช่วยตอบด้วยค่ะ
ขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ
ขออนุญาตท่านวิทยากร ...
คุณ udomjit ลองอ่านดูนะคะ >>>
คาถา ว่าด้วยเรื่องก้อนเหล็กแดง [มิลินทปัญหา]
ขออนุโมทนาค่ะ
ได้อ่านดูแล้วขอบพระคุณมากค่ะ
ขอโอกาสเรียนถามต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น การไม่รู้กับการไม่เจตนาจึงมีความต่างใช่ไหมคะ
กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขอเชิญทุกท่านกรุณาแนะนำและร่วมสนทนา
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาล่วงหน้าเช่นกันค่ะ
เรียนความเห็นที่ 2
คำว่า มีเจตนาหรือไม่มีเจตนา หมายถึง มีเจตนาทำบาป เช่น มีเจตนาฆ่าหรือไม่มีเจตนาทำบาป เช่นไม่มีเจตนาฆ่า ความไม่รู้ก็เช่นเดียวกัน เพราะมีความไม่รู้จึงทำบาปคือมีเจตนาฆ่า แต่อีกกรณีหนึ่ง ไม่รู้ว่ามีมดแล้วเดินเหยียบไป ไม่มีเจตนาฆ่า แม้จะมีความไม่รู้ ดังนั้น สำคัญที่เจตนาว่า มีเจตนาทำบาปหรือไม่ทำบาป คนที่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีเลย มีความไม่รู้มาก เมื่อทำบาปคือมีเจตนาฆ่าย่อมเต็มไปด้วยอกุศลล้วนๆ เหมือนคนจับก้อนเหล็กแดงเต็มๆ ต่างกับคนที่รู้ผิดชอบชั่วดีบ้าง เมื่อกำลังทำบาปก็เกิดหิริเกิดกุศลสลับบ้างด้วยความละอาย ดังนั้น คนที่รู้ผิดชอบชั่วดี เมื่อทำบาปกุศลก็สลับกับอกุศลบ้าง ไม่เป็นอกุศลล้วนๆ บาปจึงไม่เท่ากับคนที่ไม่รู้ ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีเลยครับ แต่ทั้งสองบุคคลก็มีเจตนาทำบาปเหมือนกัน แต่ต่างกันตรง อกุศลเกิดล้วนๆ หรือมีกุศลจิตสลับบ้างครับ
ขออนุโมทนา
ขัดเจนมากค่ะ
กราบขอบพระคุณค่ะ
ชัดเจนมาก เช่นกัน
ผู้ที่รู้ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี บ้าง เมื่อคิดที่จะทำบาปหรือทำลงไปแล้ว ก็ยังเกิด "หิริโอตตัปปะ" ขึ้นมาบ้าง จึงเป็นกุศลจิต สลับกับอกุศลจิตบ้าง ส่วนคนที่มีเจตนาเต็มเปี่ยมต่อสิ่งนั้น ก็นับว่าเกิดจิตเป็นสิ่งเดียวเลย คือ ไม่กุศล ก็ อกุศล ชัดเจนมาก
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ