ผู้ที่เห็นโทษของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และสามารถที่จะสละชีวิตของคฤหัสถ์ไปสู่ชีวิตของบรรพชิต ย่อมจะต้องไม่ยินดีในการรับเงิน และทองด้วย เพราะว่าเมื่อต้องการที่จะสละรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ต้องสละการที่จะรับเงิน และทองซึ่งเป็นปัจจัยที่จะให้ได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะด้วย
สำหรับมูลเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไม่ให้ภิกษุรับ หรือว่ายินดีเงิน และทอง ใน พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๓ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร และ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค มณิจูฬกสูตร
มีข้อความว่า ...
ขอเชิญรับฟัง
ภิกษุไม่ยินดีในการรับเงินและทอง
สำหรับเรื่องการรับเงินทองของพระภิกษุ ก็เป็นปัญหาอยู่เสมอ ตั้งแต่ครั้งที่ พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน ว่าเป็นการกระทำที่ควรหรือไม่ควร
ความต้องการไม่ได้จำกัดเพียงแค่สิ่งที่จำเป็น เมื่อมีการรับเงินทอง และเข้าใจว่าจะใช้สำหรับสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น แต่ในการใช้จริงๆ สิ่งที่คิดว่าจำเป็นก็จะก้าวต่อไปถึงสิ่งที่แม้ไม่จำเป็น ก็เข้าใจว่าเป็นส่วนที่จำเป็นส่วนหนึ่ง ถ้าคิดว่าสิ่งนั้นก็จำเป็น สิ่งนี้ก็จำเป็นในการที่จะรับเงินทอง การรับเงินทองจะไม่หยุดอยู่เพียงในสิ่งที่คิดว่าจำเป็น แต่จะก้าวต่อไปถึงสิ่งอื่น เรื่องอื่น ซึ่งไม่ใช่ความจำเป็นด้วย
เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ยากสำหรับยุคสมัยต่างๆ แต่ว่าพระธรรมก็คือ พระธรรม พระวินัยก็คือพระวินัย สำหรับผู้ที่เห็นประโยชน์ในการขัดเกลา และมีความตั้งใจมั่นคงจริงๆ ก็ย่อมจะประพฤติปฏิบัติตามได้โดยที่ไม่ยากเกินไป
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
สิกขาบทไม่ให้ภิกษุรับ หรือว่ายินดีเงิน และทอง เป็นเรื่องที่ยากสำหรับยุคสมัยต่างๆ แต่ว่าพระธรรมก็คือ พระธรรม พระวินัยก็คือพระวินัย สำหรับผู้ที่เห็นประโยชน์ในการขัดเกลา และมีความตั้งใจมั่นคงจริงๆ ก็ย่อมจะประพฤติปฏิบัติตามได้โดยที่ไม่ยากเกินไป
ยินดีในกุศลจิตครับ