นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
ชีวกสูตร
จาก...[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๔๓
...นำสนทนาโดย...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๔๓
๖. ชีวกสูตร
[๑๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวก
ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุ
มีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูกร ชีวก เมื่อใดแลบุคคลถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ว่า
เป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นอุบาสก.
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าเป็น
ผู้มีศีล.
พ. ดูกร ชีวก เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ งดเว้นจาก
การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ด้วยเหตุ
มีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่า
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
พ. ดูกร ชีวก เมื่อใดแล อุบาสกถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรม
ที่ตนฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองเป็น
ผู้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นใน
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมี ประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสก ชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
พ. ดูกร ชีวก เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และ
ชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวน
ผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว และชักชวน
ผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว
และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึง
ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์
ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
จบ ชีวกสูตรที่ ๖
อรรถกถาชีวกสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธา ศีล และจาคะคละกัน.
จบ อรรถกถาชีวกสูตรที่ ๖
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้ออความโดยสรุป
ชีวกสูตร
เมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวก หมอชีวก
ได้เข้าไปเฝ้ากราบทูลถามพระองค์ ว่า
ด้วยเหตุเพียงเท่าใด บุคคลจึงชื่อว่า เป็นอุบาสก
ด้วยเหตุเพียงเท่าใด อุบาสก จึงชื่อว่า ผู้มีศีล
ด้วยเหตุเพียงเท่าใด อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
ด้วยเหตุเพียงเท่าใด อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ผู้ที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ชื่อว่า เป็นอุบาสก
ผู้ที่เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ชื่อว่า
เป็นอุบาสกผู้มีศีล
อุบาสก ผู้มีศรัทธา ศีล จาคะ ใคร่จะเห็นพระภิกษุ ใคร่ที่จะฟังพระธรรม
ทรงจำธรรมที่ได้ฟัง พิจารณาธรรมที่ได้ฟังแล้ว รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว
ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม แต่ไม่ได้ชักชวนผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมนั้นๆ ชื่อว่า
เป็นอุบาสกผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
ส่วนอุบาสก ผู้มีศรัทธา เป็นต้น แล้วชักชวนผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในศรัทธา เป็นต้น
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นด้วย.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ทำอย่างไรจะทำให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นคะ
ทานกับจาคะต่างกันอย่างไร
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา [วัฑฒิสูตร]
จะเริ่มปฏิบัติธรรมในขั้นสูงต้องเริ่มอย่างไรครับ สาธุ...
คำว่า ทรงจำธรรม , คล่องปาก ขึ้นใจ
ความเข้าใจกับความทรงจำธรรมะ ต่างกันอย่างไร
พระธรรมทั้งหมดมีประโยชน์เมื่อเข้าใจ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ