ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การบรรยายธรรมโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ณ ตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕ ถอดเทปโดยคุณย่าสงวน สุจริตกุล
ท่านอาจารย์ คำว่า "ทุกข์" นี้ น่าสนใจไหม เพราะว่า บางท่านอาจจะหมายถึง ทุกข์กาย ทุกข์ใจแต่ความเป็นจริงแล้ว ทุกข์ ซึ่งตรงข้ามกับ สุข เพราะว่า ผู้นั้นเกิดปัญญาไม่เห็นความน่าพอใจ ในสภาพธรรมที่ปรากฏ แต่ สำหรับความหมายของ "ทุกข์" คือ ปัญญาเกิดขึ้น รู้ชัดว่า สิ่งที่ปรากฏนั้นไม่ใช่สภาพธรรมที่ควรจะไปติดหรือ ควรจะยินดีต่อไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นการประจักษ์ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และความเป็นอนัตตา ของสภาพธรรมทั้งหลาย ทางตาขณะนี้ สีสัน วัณณะ ต่างๆ รูปร่างสัณฐานต่างๆ ที่สวย เห็นแล้ว เป็นอย่างไร
ท่านผู้ฟัง พอใจ.....ชอบใจ
ท่านอาจารย์ เป็นสุข เพราะฉะนั้น ยังเห็นสิ่งนั้นว่า เป็นสาระหรือว่า เป็นสิ่งที่น่าติด น่าพอใจน่าเพลิดเพลิน น่ายินดี แต่ถ้าอบรมเจริญปัญญารู้ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตาไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนแต่ เป็นของจริงชนิดหนึ่งซึ่งปรากฏได้เฉพาะทางตา แล้วดับไป.
ถ้าประจักษ์อย่างนี้จริงๆ "ทุกข์" ขณะนั้น คือ ไม่เห็นความเป็นสุข หรือ ความเป็นสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดีจึงชื่อว่า "เห็นทุกข์" แต่ไม่ใช่ว่า ต้องไปเจ็บปวด หรือไปทรมาน แต่ "เป็นปัญญา" ซึ่งสามารถ "เห็นลักษณะ" ซึ่งไม่เป็นที่ยินดีเมื่อไม่เป็นที่ยินดี จึงเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจ "อรรถ" หรือความหมายของแต่ละพยัญชนะด้วย เพราะว่า เวลาที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมที่มี "นิพพาน" เป็นอารมณ์ก็แล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะ "น้อมรู้ลักษณะ"ที่เป็น อนิจฺจํ ทุกขํ หรือ อนตฺตา
ในขณะนั้น ไม่ใช่ทุกข์ ความเจ็บปวดหรืออะไรเลยแต่ขณะนั้น เป็นเพราะ "ประจักษ์สภาพที่ไม่เที่ยง" และเห็นว่าเป็นสภาพที่ไม่ควรยินดีไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่าพอใจ จึงชื่อว่า "เห็นในทุกขลักษณะ" ซึ่งก็หมายความถึง "การเกิดดับ" และ สภาพที่ "เป็นอนัตตา" ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะนี้
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่และสรรพสัตว์
สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ