อุเบกขา คือ เวทนา ใช่ไหม
อุเบกขา คือ สังขาร ใช่ไหม
อุเบกขา ๑๐ ประเภท
๐๑. ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ ๖ คือ การวางเฉยใน อายตนะ ทั้ง ๖
๐๒. พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาใน พรหมวิหาร
๐๓. โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาใน โพชฌงค์ คือ อุเบกขาซึ่งอิงวิราคะ อิง วิเวก
๐๔. วิริยุเปกฺขา อุเบกขาใน วิริยะ คือ ทางสายกลาง ในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป
๐๕. สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่น ใน ขันธ์ ๕
๐๖. เวทนูเปกฺขา อุเบกขาใน เวทนา ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข
๐๗. วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาใน วิปัสสนา อันเกิดจากเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๐๘. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาใน เจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
๐๙. ฌานุเปกฺขา อุเบกขาใน ฌาน
๑๐. ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก คือมี สติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา [1]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อได้ฟังได้ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ก็จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นว่า ไม่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแสดงพระธรรม โดยนัยใด เรื่องใด ก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริง แม้แต่ในเรื่องของอุเบกขา ก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้หมายถึงเพียงเวทนาที่เป็นความรู้สึกที่ไม่สุขไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เท่านั้น ยังมีความหมายอย่างอื่น มุ่งหมายถึงสภาพธรรมอย่างอื่นด้วย
ดังข้อความบางตอนที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้กล่าวไว้ในเรื่องของ อุเบกขา ๑๐ ดังต่อไปนี้
"ฉฬังคุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่วางเฉยในอารมณ์ ๖ ของพระอรหันต์ผู้ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว
พรหมวิหารุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ซึ่งวางเฉยเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย
โพชฌังคุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่เป็นองค์ คือ ส่วนประกอบที่ทำให้ตรัสรู้อริยสัจธรรม
วิริยุเปกขา ได้แก่วิริยเจตสิกที่เป็นความเพียรถูก ซึ่งไม่ตึงนักไม่หย่อนนักในการเจริญภาวนา
สังขารุเปกขา ได้แก่ปัญญาเจตสิก ที่วางเฉยเมื่อประจักษ์ไตรลักษณะของสังขารธรรม
เวทนุเปกขา ได้แก่เวทนาเจตสิก ที่ไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
วิปัสสนูเปกขา ได้แก่ปัญญาเจตสิก ที่เป็นกลางในการพิจารณาอารมณ์ที่เกิดตามเหตุปัจจัย
ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยอคติ
ฌานุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกในฌาน ซึ่งคลายความฝักใฝ่ในธรรมอื่นที่ทำให้ไม่สงบมั่นคง โดยเฉพาะได้แก่ตติยฌาน (โดยจตุกกนัย) ซึ่งคลายปีติแล้ว
ปาริสุทธุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกในจตุตถฌาน (โดยจตุกกนัย) ซึ่งสงบหมดจดแล้วจากข้าศึกทั้งปวง ไม่ต้องทำกิจละองค์ฌานใดอีก"
ทั้งหมดนั้น เป็นเจตสิกธรรมแต่ละประเภทๆ เป็นสังขารขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ ครับ
...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และ ขออนุโมนทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ....
อุเบกขา เป็นทั้งเวทนา และ สังขารขันธ์ ๕๐
อุเบกขาเกิดร่วมกับกุศลก็ได้ หรือ เกิดร่วมกับอกุศลก็ได้
อุเบกขาในที่นี้หมายถึง เวทนาเจตสิก ส่วนอุเบกขา ๑๐ อย่าง ที่เป็นวิริยะก็มี ที่เป็นปัญญาก็มีค่ะ
ขออนุโมทนา อาจารย์คำปั่น, อาจารย์วรรณีและทุกท่าน ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
กราบเรียนถามท่านอาจารย์ที่เคารพ
อุเบกขา ๑๐ ที่ท่านอาจารย์ khampan.a ได้กล่าวข้างต้น เป็นอุเบกขาที่เกิดร่วมกับกุศลหรืออกุศลก็ได้อย่างนั้นหรือเปล่าคะ หรือว่าเกิดได้กับกุศลเท่านั้นคะ
เรียนความเห็นที่ 6 ครับ
อุเบกขา ๑๐ มีทั้ง ที่เป็น เวทนาเจตสิกที่เกิดกับ กุศลจิต อกุศลจิตก็ได้ รวมทั้งปัญญาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิตที่ดี ที่ไม่เกิดกับอกุศล และ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่เกิดกับจิตที่ดี ไม่เกิดกับอกุศลจิต วิริยเจตสิกที่เกิดกับจิตที่ดี มีกุศลจิต
เพราะฉะนั้นอุเบกขา ๑๐ มีทั้งที่เกิดกับกุศลจิตด้วย เกิดกับ อกุศลจิตด้วย ที่เกิดกับอกุศลจิต มีอุเบกขาเวทนา ที่เป็นเวทนาเจตสิก ซึ่ง อุเบกขาเวทนา เกิดกับ จิตทุกประเภท ทั้งกุศลและอกุศล ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
กราบขอบพระคุณค่ะ
ยินดีในกุศลจิตครับ