๑๑. มัคควิภังค์
โดย บ้านธัมมะ  15 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42072

[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒

๑๑. มัคควิภังค์

สุตตันตภาชนีย์ หน้า 258

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑ หน้า 258

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๒ หน้า 260

อภิธรรมภาชนีย์ หน้า 261

อัฏฐังคิกวาระ หน้า 261

ปัญจังคิกวาระ หน้า 263

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย หน้า 263

ปาฏิเยกกปุจจฉาวิสัชนานัย หน้า 265

อัฏฐังคิกวาระ หน้า 266

ปัญจังคิกวาระ หน้า 267

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย หน้า 267

ปาฏิเยกกปุจจฉาวิสัชนานัย หน้า 268

ปัญหาปุจฉกะ หน้า 270

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา หน้า 270

ติกมาติกาวิสัชนา หน้า 270

ทุกมาติกาวิสัชนา หน้า 272

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา หน้า 272

๒ - ๑๒. จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา หน้า 272

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา หน้า 274

อรรถกถามัคควิภังค์ หน้า 276

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ หน้า 276

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑ หน้า 276

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ หน้า 276

มรรค ๘ ในกถาวัตถุปกรณ์ หน้า 281

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ หน้า 282


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 78]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 258

๑๑. มัคควิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑

[๕๖๙] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

[๕๗๐] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๕๗๑] สัมมาสังกัปปะ ป็นไฉน?

ความดำริในอันออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๕๗๒] สัมมาวาจา เป็นไฉน?

ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ความงดเว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

[๕๗๓] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน?

ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 259

[๕๗๔] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน?

บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

[๕๗๕] สัมมาวายามะ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงมั่น ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๕๗๖] สัมมาสติ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๕๗๗] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 260

บรรลุทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๒

[๕๗๘] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

[๕๗๙] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ฯลฯ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ.

สุตตันตภาชนีย์ จบ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 261

อภิธรรมภาชนีย์

อัฏฐังคิกวาระ

[๕๘๐] มรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมี ในสมัยนั้น.

[๕๘๑] ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ (๑) ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคอันใดนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.


(๑) ความเต็ม พึงดูในธรรมสังคณี ๓๔/ข้อ ๒๑๖ เป็นลำดับไป


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 262

[๕๘๒] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความความดำริชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๕๘๓] สัมมาวาจา เป็นไฉน?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้นจากวจีทุจริต ๔ กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุวจีทุจริต ๔ วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่าสัมมาวาจา.

[๕๘๔] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้นจากกายทุจริต ๓ กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุกายทุจริต ๓ การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใดนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

[๕๘๕] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้นจากมิจฉาอาชีวะกิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุมิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 263

[๕๘๖] สัมมาวายามะ เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๕๘๗] สัมมาสติ เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๕๘๘] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ. นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘.

ปัญจังคิกวาระ

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๘๙] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวายามะ

๔. สัมมาสติ

๕. สัมมาสมาธิ

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน?


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 264

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกเข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.

ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อัน ใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

สัมมาวายามะ เป็นไฉน?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

สัมมาสติ เป็นไฉน?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 265

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕.

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๙๐] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวายามะ

๔. สัมมาสติ

๕. สัมมาสมาธิ

ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสติ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 266

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ.

อัฏฐังคิกวาระ

[๕๙๑] มรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 267

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้น แล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ มีนัยสมัยนั้น.

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘.

ปัญจังคิกวาระ

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๙๒] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวายามะ

๔. สัมมาสติ

๕. สัมมาสมาธิ

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 268

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม ที่สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕.

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๙๓] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวายามะ

๔. สัมมาสติ

๕. สัมมาสมาธิ

ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้. เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 269

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิเวก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันไดทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสติ.

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะฯ ลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะ


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 270

ที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ

[๕๙๔] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาองค์มรรค ๘ ข้อไหนเป็นกุศล ข้อไหนเป็นอกุศล ข้อไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ ข้อไหนเป็นสรณะ ข้อไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๕๙๕] องค์มรรค ๘ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต องค์มรรค ๗ เป็นสุขเวทนา. สัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 271

องค์มรรค ๘ เป็นวิบากก็มี เป็นวิบากธัมมธรรมก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ

องค์มรรค ๘ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ

สัมมาสังกัปปะ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ, องค์มรรค ๗ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตกกาวิจาระก็มี

สัมมาสังกัปปะ เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ ไม่เป็นอุเบกขาสหคตะ, องค์มรรค ๗ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเบกขาสหคตะก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ

องค์มรรค ๘ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ

องค์มรรค ๘ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณะ

องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นปณีตะ

องค์มรรค ๘ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี

องค์มรรค ๘ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 272

องค์มรรค ๘ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปันนารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นพหิทธารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๕๙๖] สัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุ องค์มรรค ๗ เป็นนเหตุ

องค์มรรค ๘ เป็นสเหตุกะ เป็นเหตุสัมปยุต

สัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุสเหตุกะ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ

สังมาทิฏฐิ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุต

องค์มรรค ๗ เป็นนเหตุสเหตุกะ สัมมาทิฏฐิ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ.

๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐,๑๑, ๑๒. จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา

[๕๙๗] องค์มรรค ๘ เป็นสัปปัจจยะ

องค์มรรค ๘ เป็นสังขตะ

องค์มรรค ๘ เป็นอนิทัสสนะ

องค์มรรค ๘ เป็นอัปปฏิฆะ

องค์มรรค ๘ เป็นอรูป.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 273

องค์มรรค ๘ เป็นโลกุตตระ

องค์มรรค ๘ เป็นเกนจิวิญเญยยะ, เป็นเกนจินวิญเญยยะ

องค์มรรค ๘ เป็นโนอาสวะ

องค์มรรค ๘ เป็นอนาสวะ

องค์มรรค ๘ เป็นอาสววิปปยุต

องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ

องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็น อาสวสัมปยุตตโนอาสวะ

องค์มรรค ๘ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ

องค์มรรค ๘ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนคันถะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนโยคะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ องค์ มรรค ๘ เป็นสารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นโนจิตตะ

องค์มรรค ๘ เป็นเจตสิกะ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสัมปยุต

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐะ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสมุฏฐานะ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสหภู

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตานุปริวัตติ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 274

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ

องค์มรรค ๘ เป็นพาหิระ

องค์มรรค ๘ เป็นโนอุปาทา

องค์มรรค ๘ เป็นอนุปาทินนะ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๕๙๘] องค์มรรค ๘ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ

องค์มรรค ๘ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ

องค์มรรค ๘ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ

องค์มรรค ๘ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ

สัมมาสังกัปปะ เป็นอวิตักกะ องค์มรรค ๗ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสวิจาระ องค์มรรค ๗ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสัปปีติกะ องค์มรรค ๗ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสุขสหคตะ องค์มรรค ๗ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสุขสหคตะ องค์มรรค ๗ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ องค์มรรค ๗ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 275

องค์มรรค ๘ เป็นนกามาวจร

องค์มรรค ๘ เป็นนรูปาวจร

องค์มรรค ๘ เป็นนอรูปาวจร

องค์มรรค ๘ เป็นอปริยาปันนะ

องค์มรรค ๘ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยานิกะก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นอนุตตระ

องค์มรรค ๘ เป็นอรณะ ฉะนี้แล

ปัญหาปจุฉกะจบ

มัคควิภังค์ จบบริบูรณ์


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 276

อรรถกถามัคควิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในมัคควิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจากโพชฌังควิภังค์นั้นต่อไป

คำทั้งปวง มีคำว่า อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค เป็นอาทิ (แปลว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น) บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนิทเทสทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ในสัจจวิภังค์นั่นแหละ. ว่าด้วยอำนาจแห่งภาวนา แม้ในนัยที่สองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยเฉพาะแล้วก็ย่อม ชื่อว่าเจริญสัมมาทิฏฐิ. คำทั้งปวงว่า วิเวกนิสฺสิตํ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในโพชฌังควิภังค์นั่นแหละ. สุตตันตภาชนีย์นี้ ว่าด้วยอำนาจแห่งนัยแม้ทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเป็นมิสสกะ คือ เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ในอภิธรรมภาชนีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสคำว่า อริโย ตรัสแต่คำว่า มรรคมีองค์ ๘ ดังนี้. ถึงไม่ตรัสว่า อริยะ ก็ตาม มรรคมีองค์ ๘ นี้ ก็เป็นอริยมรรคโดยแท้.

เหมือนอย่างว่า บุตรของพระราชาผู้มุรธาภิเษกแล้วซึ่งเกิดในครรภ์ของพระเทวีผู้มุรธาภิเษกแล้ว แม้ใครๆ ไม่กล่าวว่า ราชบุตร เขาก็ย่อมเป็น ราชบุตรนั่นแหละฉันใด แม้อริยมรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัส คำว่า


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 277

อริยะ ก็พึงทราบว่า มรรคมีองค์ ๘ นั้นเป็นอริยมรรคโดยแท้. คำที่เหลือแม้ ในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัจจวิภังค์นั่นแหละ. แม้ในปัญจังคิกวาระ ถึงจะไม่ตรัสว่า มรรคมีองค์ ๘ ก็พึงทราบว่า มรรคนั้นมีองค์ ๘ เหมือนกัน. เพราะว่า ธรรมดาว่าโลกุตตรมรรคประกอบเพียงองค์ ๕ มิได้มี.

ในอธิการนี้ พึงทราบอรรถกถาอันมีอยู่แห่งอาจารย์ทั้งหลาย ต่อไป:-

ก็อาจารย์วิตัณฑวาที (อาจารย์ผู้มีปกติกล่าวค้าน) กล่าวว่า แม้โลกุตตรมรรคชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๘ มิได้มี มีแต่ประกอบด้วยองค์ ๕ เท่านั้น ถูกโต้ว่า จงนำสูตรมาอ้าง อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้น เมื่อไม่เห็นสูตรอื่นจริงๆ ก็จักนำส่วนแห่งสูตรนี้มาอ้าง เพราะเป็นมหาสฬายตนสูตร. คือว่า ทิฏฐิ แห่งภิกษุผู้มีความเห็นอย่างนั้นใด ทิฏฐิของภิกษุนั้น จึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. สังกัปปะ วายามะ สติ สมาธิแห่งความเห็นอย่างนั้น ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นใด สมาธิของภิกษุนั้นนี้ ก็ชื่อว่า สัมมาสมาธิ. ด้วยว่ากายกรรม วจีกรรม อาชีวะของภิกษุนั้น ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์ดีแล้ว ในกาลก่อนนั่นแหละ. ลำดับนั้นเขาพึงท้วงอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ขอจงนำบทแห่งสูตรถัดไปมา. ถ้าอาจารย์วิตัณฑวาทีนำเนื้อความมาอ้างได้ นั่นเป็นการดี. ถ้านำมาอ้างไมไ่ด้ เธอพึงนำมาแล้วกล่าวเองว่า "วาทะของอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นแตกแยกออกไปจากคำสั่งสอนของพระศาสดาที่ตรัสว่า อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงความเต็มรอบด้วยภาวนาแก่ภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น โลกุตตรมรรค จึงชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่มี คงมีแต่ประกอบด้วยองค์ ๘ เท่านั้น". ก็องค์ ๓ เหล่านี้ (กายกรรม วจีกรรม อาชีวะ) ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์แล้ว เป็นไปก่อน แต่ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์ยิ่งในขณะแห่งโลกุตตรมรรคแล.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 278

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้ว เพื่อประโยชน์อะไร.

ตอบว่า เพื่อแสดงกิจอันยิ่ง (พิเศษ) จริงอยู่ ในสมัยใด ย่อมละมิจฉาวาจา ย่อมยังสัมมาวาจาให้บริบูรณ์ ในสมัยนั้น สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะชื่อว่า ย่อมไม่มี. องค์ ๕ เหล่านี้จึงเป็นองค์ที่เป็นเหตุให้ละมิจฉาวาจา. ก็สัมมาวาจา ย่อมบริบูรณ์ (เต็ม) เอง ด้วยสามารถแห่งวิรตี. ในสมัยใด ย่อมละมิจฉากัมมันตะ ย่อมบำเพ็ญสัมมากัมมันตะ ในสมัยนั้น สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะมิได้มี. องค์ ๕ อันเป็นเหตุเหล่านี้นั่นแหละ ย่อมละมิจฉากัมมันตะ. ก็สัมมากัมมันตะ ย่อมบริบูรณ์เอง ด้วยอำนาจแห่งวิรตี. ในสมัยใด ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมบำเพ็ญสัมมาอาชีวะ สมัยนั้น ไม่มีสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ. องค์ ๕ อันเป็นเหตุเหล่านี้นั่นแหละ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมบริบูรณ์เองด้วยสามารถแห่งวิรตี. เพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรม ๕ เหล่านี้ เป็นองค์ที่เป็นเหตุและเป็นธรรมพิเศษโดยกิจนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถือเอาศัพท์ว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๕ ดังนี้.

จริงอยู่ โลกุตตรมรรคย่อมประกอบด้วยองค์ ๘ เท่านั้น มิได้ชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๕. ถ้าเขากล่าวว่า ไม่แน่ว่ามรรคประกอบด้วยองค์ ๘ โดยรวมสัมมาวาจาเป็นต้น เพราะความที่วิรตีนี้มีเจตนามาก คือ สัมมาวาจามีเจตนา ๔ สัมมากัมมันตะ ๓ สัมมาอาชีวะ ๗ เหตุนั้น จึงกล่าวว่าโลกุตตรมรรคประกอบด้วยองค์ ๕ เท่านั้น ดังนี้จะพึงแก้อย่างไร?

ข้าพเจ้าจักเปลื้อง แม้เพราะความที่วิรตีเป็นธรรมมีเจตนามากด้วย จักกล่าวว่าโลกุตตรมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ด้วย. เบื้องต้น พึงถามเขาว่า


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 279

ท่านอ่านคัมภีร์มหาจัตตารีสะหรือไม่ ถ้าเขาตอบว่าไม่ พึงกล่าวว่า ท่านไม่ทราบเพราะมิได้ศึกษาไว้. ถ้าเขากล่าวว่า อ่าน (ท่องไว้) ก็พึงพูดว่าจงนำสูตรมาอ้าง. ถ้าเขานำสูตรมา ข้อนั้นเป็นการดี. ถ้าไม่นำมา พึงนำมาเองจากอุปริปัณณาสก์ ดังต่อไปนี้.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวสัมมาวาจา ๒ อย่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาอันเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ เป็นผลแห่งอุปธิ (เป็นผลให้เกิดอุปธิ) มีอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาเป็นอริยะ ไม่เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นมัคคังคะ (องค์แห่งมรรค) มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา อันมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ เป็นผลแห่งอุปธิ เป็นไฉน. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาสวาท จากปิสุณาวาท จากผรุสวาท จากสัมผัปปลาปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจานี้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ เป็นผลวิเศษแล้วแห่งอุปธิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นมัคคังคะ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงด การ เว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากวจีทุจริต ๔ อันใดแล ของอริยจิต ของจิตอันหาอาสวะมิได้ ของผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค ของผู้เจริญอริยมรรค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจานี้ เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นมังคังคะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวสัมมากัมมันตะ ๒ อย่าง ฯลฯ


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 280

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน. สัมมากัมมันตะ เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวสัมมาอาชีวะ ๒ อย่าง ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน. เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นมัคคังคะ. ดูก่อนภิกษุทั้หลาย การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ อันใดแล ของอริยจิต ของจิตอันหาอาสวะมิได้ ของการพรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค ของผู้เจริญอริยมรรค. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะนี้ เรากล่าวว่า เป็นอริยะ เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นมัคคังคะ (องค์แห่งมรรค) ดังนี้.

ในอธิการนี้ การงดเว้นแต่ละอย่างคือ จากวจีทุจริต ๔ กายทุจริต ๓ และมิจฉาอาชีวะ เรากล่าวว่า เป็นอริยะ เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นมัคคังคะ (องค์แห่งมรรค) ดังนี้. ในฐานะเช่นนี้ ความเป็นผู้มากด้วยเจตนาจักมีแต่ที่ไหน มรรคประกอบด้วยองค์ ๕ จักมีแต่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงสูตรนี้ แก่ผู้ไม่มีความห่วงใยว่า โลกุตตรมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ดังนี้. ถ้าเขากำหนดได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี. ถ้าเขากำหนดไม่ได้ พึงนำเหตุแม้เหล่าอื่นมาให้เข้าใจ.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่มีในธรรมวินัยใดแล แม้สมณะก็ไม่มีในธรรมวินัยนั้น ฯลฯ ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีในธรรมวินัยใดแล ดูก่อนสุภัททะ สมณะก็ย่อมมีในธรรมวินัยนั้นนั่นแหละ ฯลฯ ลัทธิของผู้อื่น (ปรับปวาท) ว่างจากสมณะ ดังนี้. มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มาแล้วในสูตรแม้เหล่าอื่นก็มีเป็นอเนกนับเป็นร้อย.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 281

มรรค ๘ ในกถาวัตถุปกรณ์

แม้ในกถาวัตถุปกรณ์ ท่านสกวาทยาจารย์ ก็ได้กล่าวอ้างพุทธพจน์ว่า

มคฺคานฏฺงฺคิโก เสฏฺโ สจฺจานํ จตุโร ปทา

วิราโค เสฏฺโ ธมฺมานํ ทฺวิปทานญฺจ จกฺขุมา

บรรดามรรค (ทาง) ทั้งหลาย มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ.

ท่านปรวาทยาจารย์ ตอบรับรองว่า ใช่.

ท่านสกวาทยาจารย์ จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น มรรคก็ประกอบด้วยองค์ ๘ ดังนี้.

ก็ถ้าเขาไม่เข้าใจแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ได้ไซร้ พึงส่งเธอไปด้วยคำว่า เธอจงเข้าไปสู่วิหารดื่มข้าวยาคูเถิด (การรับประทานอาหารทำให้เกิดปฏิภาณได้). การที่จะกล่าวเหตุผลให้มากกว่านี้เป็นอฐานะแล. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

ในที่นี้ บัณฑิตพึงนับนัยทั้งหลาย ดังนี้.

ก็ในมรรคทั้ง ๔ ท่านจำแนกไว้ ๔,๐๐๐ นัย ในการถามรวมกันตอบรวมกัน ในมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในมรรคประกอบด้วยองค์ ๕ ในการถามรวมกันตอบรวมกัน ท่านจำแนกไว้ ๔,๐๐๐ นัย แต่ในการถามแยกกันตอบแยกกัน ท่านจำแนกไว้อย่างละ ๔,๐๐๐ นัย รวมในองค์ทั้ง ๕ จึงเป็น ๒๐,๐๐๐ นัย. อนึ่ง นัยทั้งหมด ท่านจำแนกไว้ในมัคควิภังค์ ๒๘,๐๐๐ นัย คือ


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 282

๘,๐๐๐ นัยในก่อน รวมกับ ๒,๐๐๐ นัยหลังนี้ด้วยประการฉะนี้. ก็นัยทั้งหลายเหล่านั้นแล เป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นกุศลเท่านั้น. แต่การนับนัยในวิปากะ พึงทำนัยทั้งหลายแห่งกุศล แล้วคูณด้วย ๓ แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบ ความที่มัคคังคะ (องค์แห่งมรรค) เป็นกุศล เป็นต้น โดยทำนองพระบาลีนั้นแหละ. แต่ในอารัมมณติกะ องค์แห่งมรรคเหล่านี้ทั้งหมด เป็นอัปปมาณารัมมณะอย่างเดียว เพราะปรารภพระนิพพานอันเป็นอัปปมาณธรรมเป็นไป. ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เพราะมรรคและผลย่อมไม่ทำมรรคให้เป็นอารมณ์. ก็ในปัญหาปุจฉกะนี้ องค์แห่งมรรคที่เป็นกุสลทั้งหลายเป็นมัคคเหตุกะด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ. ในกาลเจริญมรรค ชื่อว่า เป็นมัคคาธิปติ เพราะทำวิริยะหรือวิมังสาให้เป็นประธาน. ในกาลเจริญมรรคที่ทำฉันทะและจิตตะให้เป็นประธาน กล่าวไม่ได้ว่าเป็นมัคคาธิปติ. แม้ในกาลแห่งผลจิต ก็ไม่พึงกล่าวนั่นแหละ. ในอตีตารมณ์เป็นต้นก็ไม่พึงกล่าวแม้โดยความเป็นเอการัมมณะ (อารมณ์สักอย่างหนึ่ง). แต่ย่อมชื่อว่า เป็นพหิทธารัมมณะได้ เพราะความที่พระนิพพานเป็นพหิทธาธรรม (ธรรมภายนอก) ดังนี้. แม้ในปัญหาปุจฉกะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสองค์แห่งมรรคอันเป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้วเหมือนกัน. สำหรับองค์แห่งมรรคซึ่งเป็นโลกิยะและโลกุตตระ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสุตตันตภาชนีย์เท่านั้น ส่วนในอภิธรรมภาชนีย์และปัญหาปุจฉกะตรัสว่า เป็นโลกุตตระอย่างเดียว. แม้มัคควิภังค์นี้ พระองค์ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฎ ฉะนี้แล.

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อรรถกถามัคควิภังค์ จบ