ขออนุญาตสนทนาธรรม
...............
...อดทนเพื่อให้ผู้อื่นได้ประโยชน์...
คือ
อย่างไร
ในการอยู่ร่วมกันในชีวิตประจำวัน
อนุโมทนาค่ะ
ขันติ ความอดทนอดกลั้น ไม่โกรธตอบ ไม่ด่าตอบ เมื่อผู้อื่นโกรธ เมื่อผู้อื่นด่าอยู่ การไม่โกรธ ไม่ด่าตอบ ชื่อว่ารักษาประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ของตน หรือในเรื่องสิ่งของที่น่าปรารถนา เราอดทนเสียสละของที่ดีๆ ให้แก่ผู้อื่น อย่างนี้ก็เป็นไปได้ครับ ...
ขอเชิญทุกท่านสนทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตราบใดที่ยังไม่มีปัญญาสามารถดับความโกรธได้อย่างเด็ดขาด ความโกรธย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ในการอยู่ร่วมกันของบุคคลในสังคม แต่ละบุคคลย่อมมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามการสะสม มีทั้งดีบ้างไม่ดีบ้าง (แม้แต่ตัวเราเองก็เช่นเดียวกันมีทั้งดีและไม่ดี เหมือนกัน) ในเมื่อยังเป็นผู้มีกิเลสเหมือนกัน การกระทำหรือคำพูดบางอย่างของบุคคลอื่น อาจนำมาซึ่งความไม่พอใจได้ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่เกี่ยวกับบุคคลอื่นเลย ไม่ได้อยู่ที่บุคคลอื่น อยู่ที่กิเลสของเราเองเท่านั้น ถ้าเป็นบุคคลผู้สะสมปัญญามา ก็ย่อมจะรู้ได้ว่า ความโกรธ ความไม่พอใจกันนั้น ไม่เป็นประโยชน์กับใครๆ ทั้งสิ้น เมื่อเป็นผู้พิจารณาเห็นโทษของอกุศล และเห็นประโยชน์ของกุศลแล้ว ไม่ว่าใครจะประพฤติไม่ดีต่อเราอย่างไรด้วยกายหรือด้วยวาจา เราก็ไม่โกรธ มีความอดทนแล้วเกิดเมตตา มีความหวังดี ปรารถนาดี พร้อมทั้งช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลนั้นได้ทุกเมื่อ สิ่งที่ควรพิจารณาอย่างยิ่ง คือ บุคคลที่เราควรโกรธ ไม่มีเลย ถ้าเราโกรธคนอื่น มีแต่กิเลสของเราเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น พอกพูนขึ้น ซึ่งมีแต่โทษเพียงอย่างเดียวเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีอย่างยิ่งของผู้มีความอดทน อย่างเช่น พระองค์ถูกอักโกสภารทวาชพราหมณ์ ด่า, พระองค์ทรงมีความอดทน และทรงแสดงให้พราหมณ์เข้าใจว่า เมื่อมีแขกมาบ้าน ผู้เป็นเจ้าของบ้านจัดของต้อนรับแขกไว้ ถ้าแขกไม่รับ ของทั้งหมดก็ตกเป็นของผู้เป็นเจ้าของบ้านเช่นเดียวกันกับที่พระองค์ไม่ทรงรับคำด่าของพราหมณ์ คำด่าก็เป็นของพราหมณ์คนเดียว
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๐๒“ดูก่อนพราหมณ์ ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น ก็เป็นของท่านผู้เดียว ” แล้วตรัสต่อไปว่า “ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่าย่อมบริโภคด้วยกันย่อมกระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบกับท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว ”
จะเห็นได้ว่า แม้จะถูกด่า ถูกว่า พระองค์ก็ไม่ทรงโกรธตอบ พร้อมทั้งทรงเป็นที่พึ่งให้กับพราหมณ์คนดังกล่าวด้วย ซึ่งในที่สุดพราหมณ์คนที่ด่าพระองค์ ก็เกิดความเลื่อมใส ขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ในกาลต่อมาก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย ...อดทนเพื่อให้ผู้อื่นได้ประโยชน์... คือ
อย่างไร
ในการอยู่ร่วมกันในชีวิตประจำวัน ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 642 พึงปรารภความเพียรในประโยชน์ของสัตว์นั้นๆ
พึงอดกลั้นสิ่งทั้งปวงมีสิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็นต้น. บางครั้งอดทนด้วยกุศล บางครั้งอดทนด้วยอกุศล สำคัญคือพิจารณาตามความเป็นจริงว่าตัวเราเองก็ต้องการความสุข ต้องการได้รับประโยชน์ฉันใด คนอื่นก็เช่นกันหากตัวเองจะลำบากเสียบ้าง เหนื่อย แต่เมื่อทำสิ่งนั้นแล้วคนอื่นไดรับประโยชน์ควรไหม คิดถึงคนอื่นก่อนตัวเองบ้างในเรื่องของการได้รับความสุข ก็จะทำให้ประพฤติประโยชน์ร่วมกันในชีวิตประจำวัน ที่กล่าวมาจึงไม่ใช่เรื่องบังคับให้อดทนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น แต่เป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ เมื่อปัญญาเจริญก็ย่อมอดทนด้วยจิตที่เป็นกุศลประพฤติประโยชน์กับบุคคลต่างๆ โดยไม่เลือกว่าเป็นใคร หรือบุคคลใด รวมถึงสัตว์เดรัจฉานและสัตว์เหล่าอื่นด้วย เพราะสัตว์ทั้งหลายก็ต้องการได้รับประโยชน์ทั้งนั้นอดทนได้ไหมหากจะเหนื่อย ลำบากบ้าง เพื่อประโยชน์ของสัตว์นั้น ดังนั้นการประพฤติประโยชน์ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น นั่นแหละจึงเป็นความอดทนที่แท้จริง อดทนโดยไม่หวังอะไรเลย สาธุ อดทนเพราะปัญญา อดทนเพราะเข้าใจ จึงประพฤติประโยชน์ไป โดยไม่เลือกว่าเป็นคนหรือสัตว์หรือบุคคลใดเลย สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ