ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 148
ว่าด้วยธรรมอันประเสริฐในโลกทั้งสอง
[๕๓] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์แม้บางคนในโลก นี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจาก กาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาจา เว้นขาดจากปิสุณวาจา เว้น ขาดจากผรุสวาจา เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ ไม่เพ็งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อย่างนี้ แล ธรรมเหล่านี้เหล่าใด เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษนับว่า ไม่มีโทษ ควรเสพนับว่าควรเสพ ควรเป็นอริยะนับว่าควรเป็นอริยะ เป็น ธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างชัดเจนในกษัตริย์บางคนในโลกนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้พราหมณ์...ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้แพศย์แล. ดูก่อน วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ศูทรแลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต ฯลฯ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาทเขา มีความ เห็นถูกต้อง. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อย่างนี้แล ธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เหล่าใดเป็นกุศลนับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษนับไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพควรเป็นอริยะนับว่าควรเป็นอริยะ เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างชัดเจนแม้ใน ศูทรบางคน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ แลรวมกันเป็น ๒ ฝ่าย คือ พวกที่ตั้งอยู่ในธรรมฝ่ายดำ วิญญูชนติเตียน พวกหนึ่ง และพวกตั้งอยู่ในธรรมฝ่ายขาว วิญญูชนไม่ติเตียนพวกหนึ่ง ในเรื่องนี้เหตุไร พวกพราหมณ์ จึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้น เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด วรรณะเหล่าอื่นล้วนเลวทราม พราหมณ์เท่า นั้นมีวรรณะขาว วรรณะเหล่าอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์หมู่คนที่ไม่ใช่พราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรเกิดแต่ อกเกิดจากปากของพรหม เกิดจากพระพรหมโดยตรง พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้. วิญญูชนทั้งหลายย่อมไม่รับรองถ้อยคำของ พราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่า บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุผู้ขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ตามบรรลุ ประโยชน์ของตน มีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้น ได้เพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นย่อมปรากฏว่าเป็นยอดกว่าคนทั้งหลายโดยธรรม แท้ หาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ธรรมเท่านั้น ประเสริฐที่สุดภารทวาชะ โดยบรรยายมานี้ พวกเธอพึงเข้าใจข้อนั้นอย่างนี้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยบรรยายมานี้ พวกเธอพึงเข้าใจข้อนั้นอย่างนี้ ว่า ธรรมเท่านั้น ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในทิฏฐธรรม และใน อภิสัมปรายภพ.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จากพระสูตรที่คุณหมอยกมานั้น แสดงถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์และประเสริฐได้ ด้วย การกระทำของตนเอง ไม่ได้อยู่ที่การเกิดในวรรณะใด เกิดเป็นบุตรของใคร เพราะ การ เกิดเป็นบุตรของใคร วรรณะอะไร ไม่สามารถทำให้คน ดี หรือ ชั่ว แต่ การกระทำของ ตนเองนั่นแหละ เป็นเครื่องแสดงถึงความดี ความชั่ว ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ของ ผู้นั้น แม้จะเกิดในวรรณะดี ตามที่โลกสมมติกัน แต่เป็นผู้กระทำความชั่ว ก็นับว่าเป็นผู้ ไม่ประเสริฐ แต่แม้จะเกิดในวรรณะที่ไม่ดี ตามที่โลกสมมติกัน แต่เป็นผู้กระทำความดี ก็ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ เพราะฉะนั้น จากพระสูตรนี้ จึงแสดงให้เห็นถึง ความประเสริฐ และความเป็นผู้บริสุทธิ์โดยปรมัตถ์ คือ กุศลก็ย่อมเป็นกุศล เป็นสภาพธรรมที่ดี ไม่ เปลี่ยนแปลงลักษณะ ไม่ว่าจะเกิดกับใคร หากกุศลจิตเกิดขึ้น เป็นความดี ก็ชื่อว่าประ- เสริฐ และอกุศลก็เป็นอกุศล ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ เป็นความไม่ดี ไม่ว่าเกิดกับใคร ก็เป็นความไม่ดี ก็นับว่าเป็นผู้ไม่ประเสริฐ ครับ
จึงควรเป็นผู้เห็นโทษอกุศล ด้วยปัญญา ตามความเป็นจริง และเจริญกุศล อันนับ ว่าประเสริฐ โดยเฉพาะกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา อันเกิดจากการฟังพระธรรม ศึกษา พระธรรม เป็นสำคัญ เพื่อถึงความเป็นผู้ประเสิฐสูงสุด คือ ไม่มีกิเลสอีกเลย ครับ
เชิญคลิกอ่านกระทู้ของคุณหมอที่ผ่านมาได้ดังนี้ ครับ
กามสุข
อรรถกถาแห่งธรรมทายาทสูตร.
ขออนุโมทนาคุณหมอ และ ทุกท่าน ครับ
ขอบคุณและอนุโมทนา คุณผเดิมอย่างสูง และเป็นประโยชน์มากครับ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทางและทุกท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ และอาจารย์ผเดิม และทุกๆ ท่านครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทุกชีวิต เป็นการเกิดขึ้นของสภาพธรรม คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และ รูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร) ซึ่งไม่มีใครจะสามารถยับยั้งได้เลย ไม่พ้นไปจากความเป็นจริงอย่างนี้ มี ความเสมอกัน โดยความเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป แต่ที่แตกต่างกัน ก็คือ การสะสมเหตุ และ การได้รับผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว สำหรับเหตุ คือ การสะสม กุศลบ้าง อกุศลบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับ การสะสมของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง มีความแตก ต่างกัน ไม่เหมือนกัน บุคคลผู้ที่เห็นคุณประโยชน์ของกุศลธรรม ย่อมไม่ละเลยโอกาส ที่จะอบรมเจริญกุศลในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นไป เพื่อขัดเกลา กิเลสของตนเอง เพราะถ้ากุศลไม่เกิด ก็เป็นโอกาสของการเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม แต่ถ้าประมาทมัวเมา ไม่เห็นประโยชน์ของกุศลธรรม ก็จะเป็นเหมือนกับบุคคลประเภทแรกไม่ได้เลย ไม่ว่า จะเกิดในตระกูลใด ฐานะอย่างไรก็ตาม ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ครับ
...ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านด้วยครับ...
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ