[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 731
๕. สัตติสูตร
ว่าด้วยหอก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 731
๕. สัตติสูตร
ว่าด้วยหอก
[๖๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หอกมีใบอันคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 732
เราจักงอเข้า จักพับ จักม้วน ซึ่งหอกมีใบอันคมนี้ด้วยฝ่ามือ หรือด้วยกำมือ ดังนี้ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเป็นผู้สามารถเพื่อจะงอเข้า เพื่อจะพับ เพื่อจะม้วน ซึ่งหอกมีใบอันคมโน้นด้วยฝ่ามือ หรือด้วยกำมือได้หรือหนอ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะงอเข้า จะพับและม้วนซึ่งหอกมีใบอันคมด้วยฝ่ามือหรือด้วยกำมือ กระทำไม่ได้ง่าย ก็แหละบุรุษนั้น พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว แม้ฉันใด.
[๖๖๙] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ถ้าอมนุษย์จะพึงกระทำจิตของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน อมนุษย์นั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบสัตติสูตรที่ ๕
อรรถกถาสัตติสูตรที่ ๕
ในสัตติสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในคำว่า ปฏิเลณิสฺสามิ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 733
งอ ได้แก่ รวบปลายน้อมมาเหมือนเกลียวฝ้าย และคล้องรวมกันไว้เหมือนเกลียวยางไม้.
ชื่อว่า พับ ได้แก่ รวมตรงกลางแล้วน้อมมา หรือรวมเข้ากับคมแล้วเอาคมทั้ง ๒ คล้องเข้าด้วยกัน.
ชื่อว่า ม้วน ได้แก่ ม้วนเหมือนการกระทำอย่างเกลียวฝ้าย คลี่เสื่อลำแพนที่ม้วนไว้นานแล้วม้วนกลับตามเดิม.
จบอรรถกถาสัตติสูตรที่ ๕