คำว่า อภัยทาน หมายถึงอะไร และทำอย่างไร
คำว่า อภัยทาน หมายถึงการให้ความไม่มีภัย ในบางแห่งหมายเอากุศลศีล คือการงดเว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต หรือศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น แต่ในบางแห่งหมายเอา การไม่ถือโทษโกรธเขา ในเมื่อเขาทำสิ่งอันไม่สมควรแก่เรา ดังข้อความจากอรรถกถาบางตอน ดังนี้
ถามว่า ทำอย่างไร.
ตอบว่า ทำด้วยทาน. เพราะว่า ทานคนนอกนี้ ทำได้ง่าย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ทาเนน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายเอาอภัยทานด้วย. ไม่ใช่ตรัสอามิสทานเท่านั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เอาศีลเข้าไว้ด้วย.
จาก อ.จวมานสูตร บทว่า สญฺญเมน ได้แก่
การสำรวมกายเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อสำรวม ไม่เบียดเบียนใครๆ ด้วยกายทุจริตเป็นต้น ให้อภัยทาน ชื่อว่า ย่อมผูกมิตรไว้ได้ เพราะเป็นที่รักและเป็นที่พอใจ.
ข้อความตอนหนึ่งจากอรรถกถาสีลวเถรคาถา
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาสำหรับหัวข้อนี้จริงๆ
คำว่า อภัยทาน นี้ พูดง่าย อ่านแล้วดูเหมือนเข้าใจแล้วนะ แต่เวลามีเหตุการณ์จริงๆ ให้พิสูจน์ ดูเหมือนที่ได้ยินได้ฟังมานั้น ไม่รู้หายไปไหนหมด มืดสนิทด้วยอวิชชาจริงๆ สะบักสะบอมกับคำพูดกริยาอาการของผู้อื่นไม่น้อยทีเดียว ในทางตรงกันข้าม ก็สงสารผู้อื่นที่สะบักสะบอมกับคำพูดและการกระทำของเราเองด้วยเหมือนกัน ทำให้นึกถึงขอทานที่อินเดีย ไปเห็นมา เพิ่งมาเข้าใจว่า ปีศาจคลุกฝุ่นหมายถึงอย่างไร เวลาไปอินเดียกลัวทั้งฝุ่นทั้งกลิ่น กลับมาบ้านดีใจว่าไม่น่ากลัวอย่างอินเดีย แต่ที่ไหนได้ ... พอกัน ... อกุศลจิตเพื่อนสนิทตามมาแจมยิ่งกว่าปีศาจคลุกฝุ่นเสียอีก นั่งไปก็ บ่นไป ... คิดไป ... นึกถึงคำพูดของท่านผู้หนึ่ง
ทาน คือ การให้เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของผู้อื่น ชนะผู้อื่นเป็นล้านคนไม่เท่าชนะใจตัวเอง เออ ... รู้ตัวหรือเปล่า ทุกข์เพราะคิดนะ เธอ ... กำลังอยู่ในโลกนิมิตและอนุพยัญชนะ ... แล้วย้อนถามตัวเองว่า พอจะรู้จัก คำว่า อภัยทาน บ้างหรือยัง
สาธุ
พระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีแต่ให้ค่อยๆ ขัดเกลากิเลส
เพิ่งจะทราบความละเอียดของคำว่า อภัยทาน ซึ่งหมายเอากุศลศีล คือ การงดเว้นจากกาย
ทุจริต วจีทุจริต หรือศีล ๕ ศีล ๘ การสำรวม ไม่เบียดเบียนใครๆ ด้วยกายทุจริตเป็นต้น
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ทาน คือการให้ที่ไม่มีภัย ถ้าไม่มีการสั่งสมการให้ การให้ก็เกิดไม่ได้ ทั้งๆ ที่อยากให้ก็ให้ไม่ได้ จะมีมารมาขัดขวางการให้นั้น
การให้ จึงเป็นเรื่องของการสั่งสม ผมเคยเห็นผู้ที่สั่งสมการให้จนมีกำลังมาก มีเมื่อไรก็ให้เมื่อนั้น มันแปลกอยู่นะ ยิ่งให้มากเท่าไรก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 74]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 621
ส่วนอภัยทาน พึงทราบโดยความป้องกันจากภัย ที่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย จากพระราชา โจร ไฟ น้ำ ศัตรู สัตว์ร้ายมีราชสีห์ เสือโคร่ง เป็นต้น.
อภัยทาน คือ การให้ความไม่มีภัย ภัยที่เกิดจากบุคคลอื่น สัตว์อื่น สัตว์ทั้งหลายรักชีวิตจึงให้ความไม่มีภัยโดยไม่เบียดเบียน ฆ่าสัตว์อื่น สัตว์อื่นรักสิ่งที่มีของตนเอง ให้ความไม่มีภัยโดยไม่ลักสิ่งของของบุคคลอื่น เป็นต้น ผู้ที่ขัดเกลากิเลสของตนเอง ย่อมเป็นผู้ให้ความไม่มีภัยกับบุคคลอื่นมากขึ้น ภัยจึงเกิดจากกิเลส ไม่มีภัยอีกเลยต่อตนเองและบุคคลอื่น คือ การดับกิเลสหมดครับ ก็ด้วยการอบรมปัญญา รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ครับ
ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
อภัยทานมีแสดงไว้ในพระไตรปิฎก เช่น พระราชานอนอยู่ที่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง งูกำลังจะมากัดพระราชา เทวดาต้องการมาช่วยชีวิตพระราชา จึงปลอมตัวมาเป็นกระแต มาร้องอยู่ที่ใกล้หูของพระราชา พระราชาจึงตื่นพระบรรทม จึงเห็นงูและก็หนีจากงูไปได้ ตั้งแต่นั้นมา พระราชาก็ให้พระราชทานอภัยทาน คือให้ชีวิตกับกระแตในบริเวณนั้นทั้งหมดค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม ...
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
สาธุ
ขออนุโมทนาฯ