จะต้องพิจารณาให้รู้ว่า เราต้องการอะไรอย่างแท้จริงในชีวิต เราอยากจะ
หลงยึดถือร่างกายและจิตใจเป็นตัวตนต่อไปอีกกระนั้นหรือ? เราอยากจะมี
ชีวิตอยู่ในความมืดมน หรือว่าใคร่จะเจริญปัญญาให้ถึงความสิ้นทุกข์ ถ้า
เราตัดสินใจว่า จะดำเนินทางที่นำไปสู่ความสิ้นทุกข์แล้ว เราก็จะต้องเจริญ
ปัญญาในชีวิตประจำวัน ในขณะที่เห็น ได้ยิน คิดนึก เป็นทุกข์ เป็นสุข
ทางนี้เป็นทางเดียวที่จะรู้แจ้งว่า อะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
อะไรเป็นธรรมที่ดับทุกข์ และอะไรเป็นทางปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์
เมื่อรู้ว่า อวิชชา ความไม่รู้ของเรานั้นหนาแน่นเพียงใด และเราหลงยึดมั่น
ในตัวตนมากเพียงใดแล้ว เราก็จะปรารภความเพียรเจริญสติ รู้ลักษณะของ
นามธรรมและรูปธรรมต่อไปเรื่อยๆ
อยากทราบเกี่ยวกับการระลึกรู้รูปธรรมและนามธรรม (นามรูปปริจเฉทญาณ) ขั้นต้นว่า อย่างไรจึงเรียกว่าเป็น การระลึกรู้ด้วยสติแท้จริง มิใช่เพียงสมมติบัญญัติด้วยการนึกเองในใจ? และการหมั่นระลึกสติขณะปัจจุบันเสมอ นี้จัดเป็น โลภะ หรือ ฉันทะกันแน่?ขอความกรุณาผู้รู้โปรดชี้แนวทางด้วยครับ..
ขณะที่สติปัฎฐานเกิด ขณะนั้นเป็นกุศล ไม่มีอกุศลเกิดร่วมด้วย ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้สติก็เป็นอนัตตา มีเหตุจากการฟังธรรมะแล้วเข้าใจ เป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกสภาพธรรมะเอง โดยไม่มึการตั้งใจระลึก
นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ 1 ปัญญา ที่สามารถแยกนามธรรมและรูปธรรม ปัญญาขั้นนี้เกิดยากมากในสงสารวัฎฎ์ ขั้นแรกก็ต้องอบรมเจริญสติ-ปัฎฐานไป ก่อนที่จะถึงวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ถ้าไม่เจริญสติปัฎฐาน ปัญญาขั้นวิปัสสนาต่างๆ ก็เกิดไม่ได้ค่ะ
เราต้องการอะไรอย่างแท้จริงในชีวิต
ต้องยอมรับตามความเป็นจริงว่า เราก็ยังเป็นปุถุชน ยังมีความต้องการ รูป เสียง...ทรัพย์ เป็นต้น แต่เมื่อฟังธัมมะ มิใช่ความต้องการที่กล่าวมาจะหายไป แต่เราก็ฟังธัมม ะ และอบรมเจริญปัญญา พร้อมกับความเป็นไปตามปกติ ของความเป็นปุถุชนได้ที่สำคัญต้องรู้ว่า กิเลส ตัวแรกที่จะต้องละคืออะไร คือ ความเห็นผิด ไม่ใช่โลภะ ที่มีในรูปเสียง กลิ่น... ดังนั้น จึงมีคำว่า อบรมเจริญสติเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ครับ
เราใช้ชีวิตแต่ละช่วงด้วยคำถาม ถึงอนาคต แต่เราไม่รู้เลยว่า เวลาปัจจุบันเราเรียนรู้อะไรบ้าง เราไม่เข้าใจคำว่า "มีแล้วหามีไม่" เราคิดว่ามันเป็นของเราตลอดเวลา เมื่อทุกข์ ก็คิดว่าเป็นเพราะคนอื่นทำให้ แต่หารู้ไหมว่า กรรมเป็นคำตอบของชีวิต ศึกษาพระธรรม อบรมจิตใจให้เกิดปัญญา และสักวันเราก็คงได้คำตอบที่เราถามทั้งชีวิตว่าสิ่งที่ต้องการจริงๆ คืออะไร
เมื่อยังมีความไม่รู้ (อวิชชา) ก็ยังมีความต้องการไม่จบสิ้น
และเมื่อยังละความต้องการไม่ได้ ก็ควรพอใจในสิ่งที่ตนมีนะคะ
ผมมีความรู้สึกว่า ความรู้เรื่องกิเลสไม่ก้าวหน้าทําอย่างไร ทั้งที่ฟังมาก็หลายปี
ก่อนที่จะตอบได้ว่า "ต้องการอะไรอย่างแท้จริงในชีวิต"นั้น
ต้องศึกษาธัมมะให้เข้าใจถูกต้องก่อน จึงจะตอบได้ เพราะมิเช่นนั้น คำตอบก็ยังคงผิดอยู่ คือ ต้องการชึวิตที่สุขสบาย มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย เป็นต้นฯลฯ
เพราะไม่ทราบความจริงว่า "ไม่มีเรา"
ยังเข้าใจผิดอยู่ว่า ขณะเห็นนี้เป็น เราเห็น เป็นต้น ทางทวารอื่นก็เข่นกัน เป็นเราทั้งหมด
แล้วแต่ปัญญาจริงๆ นะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ