ขอเรียนอธิบาย ขันธ์ กับ อุปทานขันธ์ และการอบรมเจริญสติปัฏฐานอบรมเจริญ
วิปัสสนารู้จักขันธ์ตามความเป็นจริงอย่างไรค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขันธ์ 5 คือสภาพธรรมที่มีจริง อันเป็นสภพาธรรมที่ว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคลตัวตน
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ นั่นคือสภาพธรรมที่มีจริง
ทั้งหมดที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม
ส่วนอุปาทานขันธ์ 5 คือ สภาพธรรมที่เป็นขันธ์ 5 เช่นกัน แต่เป็นที่ตั้งที่ยึดถือของ
โลภะ เป็นต้น จึงเป็นอุปาทานขันธ์ 5 ซึ่งก็คือสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด เว้นแต่
โลกุตตรธรรมครับ ซึ่ง โลภะไม่สามารถติดข้องได้ ไม่สามารถยึดถือได้ จึงไม่เป็น
อุปาทานขันธ์ 5
ขันธ์หรือสภาพธรรมที่เป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาหรือสติปัฏฐาน ก็คือ
สภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังมีกำลังปรากฎในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปขันธ์ แต่รูป มี
28 รูปก็ต้องเป็นรูปที่ปรากฏในชีวิตประจำวันและมีลักษณะของตนเอง ที่ท่องเที่ยว
ไปในชีวิตประจำวัน คือ โคจรรูป คือ สี (สิ่งที่ปรากฎทางตา) เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน
อ่อนแข็ง ตึงไหว เป็น 7 รูป ที่ปรากฎในชีวิตประจำวันที่ปัญญาสามารถพอจะรู้ได้
คือ เป็นอารมณ์ของการเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นครับ ส่วนรูปที่เหลือเมื่อไม่ปรากฎ
ก็ไม่สามารถรู้ได้ แต่หากผู้มีปัญญามากก็สามารถรู้รูปละเอียดได้ ดังนั้น อารมณ์ของ
วิปัสสนาที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นก็มีรูปที่พอรู้ได้ในชีวิตประจำวันครับ
เวทนา ความรู้สึกก็เป็นสิ่งที่มีจริงเพราะมีลักษณะ ก็เป็นอารมณ์หรือเป็นสิ่งที่ปัญญา
ที่เป็นการเจริญวิปัสสนารู้ได้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา สัญญาเป็นสิ่งที่มีจริง ปัญญาสามารถ
รู้ได้ สังขาร คือสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง มีเจตสิก 50 ดวง ซึ่งก็สามารถรู้ได้เพราะเป็นสิ่ง
ที่มีจริง แต่ก็แล้วแต่ว่าสภาพธรรมใดจะปรากฎให้รู้และสติจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพ
ธรรมอะไร ส่วนวิญญาณก็คือจิตทั้งหมด เป็นสิ่งที่มีจริง แต่โลกุตตรจิต ไม่ใช่อารมณ์
ของสติปัฏฐาน ไม่ใช่อารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาครับ เพราะไม่ได้ปรากฎในชีวิต
ประจำวัน เป็นต้น
สรุปคือ สิ่งใดที่มีจริงที่มีลักษณะ เป็นอารมณของสติปัฏฐานหรือวิปัสสนาได้ แต่ก็
ต้องเข้าใจว่าไม่มีตัวตนที่จะไปเลือก จะไปรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด ก็แล้วแต่สติว่า
จะเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดครับ และที่สำคัญหากสภาพธรรมใดไม่ปรากฎกับ
สติ ไม่สามารถที่จะรู้ได้ก็จะไปพยายามรู้สิ่งนั้นก็ไม่สามารถรู้ได้ และไม่ใช่สติแต่เป็น
ความต้องการครับ
การรู้จักขันธ์ ตามความเป็นจริงจึงไม่ใช่การจำชื่อได้ พูดได้ แต่ขณะนี้กำลังมีขันธ์
เช่น มีจิตเห็น เข้าใจถึงลักษณะของขันธ์ แต่ละขันธ์หรือไม่หรือจิตเห็นหรือไม่ ดังนั้น
หนทางในการอบรมปัญญา คือเข้าใจความจริงของสภาพธรรมทีเป็นขันธ์ที่ว่างเปล่า
จากความเป็นสัตว์ บุคคล เพราะขันธ์คือสภาพธรรมที่มีลักษณะ เมื่อสติและปัญญารู้
ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ที่เป็นขันธ์ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงว่าไม่มีเรา
มีแต่ธรรมเพราะขณะนั้นมีแต่ธรรมที่ปรากฎกับสติและปัญญาเท่านั้น ไม่มีความทรงจำ
ว่ามีสัตว์ บุคคลสิ่งต่างๆ เลยครับ เพราฉะนั้นอาศัยการฟังพระธรรมในหนทางที่ถูก
ย่อมรู้จักขันธ์ตามความเป็นจริงเพื่อไถ่ถอนความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลและถึงการ
ดับกิเลสได้ครับ ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
กราบขอบพระคุณค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านค่ะ
ขอความกรุณาอธิบาย อภิญญากุศลจิต1 และ อภิญญากริยาจิต1
ให้เข้าใจด้วยค่ะ
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
อภิญญาจิตเป็นจิตพิเศษของผู้ที่อบรมฌานจิตทั้งรูปฌานและอรูปฌานจน
ชำนาญซึ่งเมื่อไ้ด้อภิญญาก็สามารถแสดงฤทธิ์ มีความสามารถพิเศษได้
อภิญญาจิต มี 2 ประเภทคือ อภิญญากุศลจิต1 และ อภิญญากริยาจิต1
อภิญญากุศลจิต เป็นจิตพิเศษของผู้ที่อบรมฌานจิตทั้งรูปฌานและอรูปฌานจน
ชำนาญ และเข้าอภิญญา เป็นอภิญญาจิตที่เป็นกุศลอันเป็นของปุถุชนจนถึงพระ
อนาคามีครับ
อภิญญากิริยาจิต เป็นจิตพิเศษของผู้ที่อบรมฌานจิตทั้งรูปฌานและอรูปฌานจน
ชำนาญและเข้าอภิญญา เป็นอภิญญาจิตของพระอรหันต์ ดับกิเลสแล้ว อภิญญาจิต
นั้นจึงไม่เป็นกุศล แต่เป็นกิริยาจิต เป็นอภิญญากิริยาจิตครับ เพราะพระอรหันต์มี
ชาติของจิตคือ วิบากและกิริยา จะไม่เป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิตเลยครับ ดังนั้น
อภิญญาของท่าน เวลาเกิด เวลาแสดงฤทธิ์ก็เป็นอภิญญากิริยาจิตครับ ขออนุโมทนา
กราบขอบพระคุณค่ะ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านค่ะ
ขอเรียนถามเรื่อง กิเลส1500 คือ อารมณ์150 คุณ กิเลส10
ในอารมณ์150 นั้น นามเตปัญญาสะ คือ นามธรรม53 (จิต1 เจตสิก52) ซึ่งในเจตสิก 52 นั้น
มีโสภณเจตสิก25 ทำไมไม่เว้นค่ะ นับรวมเป็นกิเลส1500 ได้อย่างไรค่ะ
ขอความกรุณาช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
เรื่องกิเลส เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ กิเลส 1500
ธรรมทุกอย่าง ทั้งนามธรรม รูปธรรม สามารถเป็นอารมณ์ที่จะให้สติระลึกได้
แล้วแต่เหตุปัจจัยหลายอย่าง และอยู่ที่การอบรมสติสัมปชัญญะของแต่ละคนค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเรียน ความคิดเห็นที่ ๖ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับประโยชน์ของการศึกษากิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ดิฉันอาจจะสงสัยเรื่่องเจตสิกมากไปที่่ว่า เจตสิกที่เป็นโสภณ 25
ทำไมนำมารวมครบหมด ในกิเลส 1500
คือ จิต1 เจตสิก52 ตัวนี้แหละค่ะ มีโสภณเจตสิกอยู่ด้วย25
ดิฉันอาจจะขี้สงสัยไปหน่อย ต้องขออภัยด้วยค่ะ
เรียนความเห็นที่ 10 ครับ
ที่รวมโสภณเจตสิก อีก 25 อีกนัยหนึ่งคือเป็นที่ตั้ง เป็นอารมณ์ของกิเลสได้
แม้ธรรมฝ่ายดีก็เป็นอารมณ์ของกิเลสได้ครับ อันเป็นภายในครับ ท่านกล่าวโดยรวมครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์เผดิมค่ะ
กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ หายข้องใจสงสัยแล้วค่ะ
ขอร่วมวงสนทนาและขอเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนด้วยครับ
โสภณสาธารณเจตสิก 25 ประกอบกับจิตที่เป็นฝ่ายกุศลอย่างเดียว
จิตที่เป็นฝ่ายกุศลนั้นยังแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ โลกียะจิต กับ โลกุตตรจิต
ส่วนที่เป็นกุศลโลกียะจิตนั้นยังเป็นอารมณ์ของกิเลสได้ เช่น
อยากทำกุศล หรืออยากทำฌาณให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เป็นต้น
ส่วน โสภณสาธารณเจตสิก 25 ที่ประกอบจิตที่เป็นโลกุตตรจิตนั้น
จะไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสได้เลย (ผิดถูกยังไงช่วยทักท้วงด้วยครับ)
ขออนุโมทนาในกุศลจิต
เรียน ลุงหมานค่ะ
ที่หนูพอเข้าใจได้คือ เคยฟังพระอาจารย์สอนว่า ในขณะที่เราอธิษฐาน
ขอถึงซึ่งมรรค ผลนิพพานนั้น เรามีความโลภะเกิดขึ้นด้วย คือความปราถนา
เมื่อเข้าถึงพระนิพพานแล้วนั้น เราก็จะตัดโลภะตัวนี้ได้ในที่สุด
แต่เบื้องต้นเราอาศัยโลภะ คือความปราถนาพระนิพพานเป็นตัวนำไปก่อน
เคยฟังพระอาจารย์สอนมาแบบนี้เหมือนกันค่ะ ทำให้นึกเข้าใจได้ค่ะ
ผิดถูกประการใด ตรงกับที่ อ.เผดิม ชี้แจงหรือไม่ ต้องขอคำแนะนำด้วยค่ะ
เรียนความเห็นที่ 14 ครับ
การอธิษฐาน ทีเป็นบารมี ไม่ใช่โลภะครับ ดังนั้น ไม่ใช่โลภะจะทำให้ถึงการบรรลุได้ แต
เพราะอาศัยปัญญาจึงบรรลุได้ครับ ดังนั้นโลภะไม่ใช่เหตุการบรรลุ อธิษฐานบารมีก็ต้อง
เป็นไปในฝ่ายกุศลครับ
เรียน อ.เผดิม ค่ะ
คือดิฉันได้รับคำอธิบาย มาจากบุคคล 2 ท่าน ท่านแรกกล่าวอย่าง คห.15
ท่านที่สองกล่าวแบบ คห.14 ดิฉันก็เลยครึ่งกลางว่า อะไรหว่าคือข้อความที่
ถูกต้อง พอมาฟังอธิบายเรื่อง โสภณเจตสิก25 ทำไมรวมไปคิดเป็นกิเลส1500
เหตุผลนี้จึงถูกนำมาเข้าใจ ในเรื่องคำอธิษฐานในมรรคผลนิพพาน
ทำให้ความเข้าใจดิฉันจึงคิดว่าใช่เกี่ยวกับ โสภณจิต25 ที่กล่าวโดยรวมไว้
ในกิเลส1500
ยังงั้นละก็ ดิฉันก็คงไม่เข้าใจ คห.11 ที่อาจารย์เผดิม กล่าวไว้อย่างแน่นอนค่ะ
และกราบขออภัยลุงหมาน ที่นำความเข้าใจที่รู้มาผิดพลาด มากล่าวอธิบายถึงความ
เข้าใจของตัวดิฉันค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ