สรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้
- ฝึกจิตโดยใช้คำบริกรรมพุทโธ (เป็นพุทธานุสสติ) กำกับใจหรือคำบริกรรมอื่นๆ หรือพุทโธพร้อมลมหายใจเข้า-ออก (อานาปานสติ) จนจิตมีสมาธิและกระทำจนชำนิชำนาญ (แต่ไม่ให้ติด) ทำได้จากการนั่งสมาธิและเดินจงกรมหรือทุกอิริยาบถ รู้ว่ามีสมาธิในระดับใด (เป็นปัจจัตตังรู้ได้เอง)
- เมื่อจิตมีกำลังทางสมาธิสมบูรณ์พร้อมแล้วให้พิจารณากายคตาสติ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก พิจารณา กลับไป กลับมา โดยอนุโลมและปฏิโลม จนกำลังของสมาธิอ่อนลง (รู้ได้เอง) ให้ย้อนจิตกลับมาเข้าสู่สมถะธรรมคือสมาธิภาวนาจนมีกำลังพร้อมจะพิจารณาต่อไป โดยพิจารณาจนชำนิชำนาญ และเกิดความเบื่อหน่าย สลดสังเวช เมื่อเบื่อหน่ายก็ย่อมคลายความคิด เมื่อคลายซึ่งความคิดปรุงและกิเลสอาสวะน้อยใหญ่ และดับเสียได้ซึ่งอวิชชา จิตของปุถุชนทั่วไป ย่อมสะอาดปราศจากกิเลสานุสัย เป็นดวงจิตของพระอริยะเจ้าทั้งหลายที่ผุดขึ้นมาจากการทำลายรังของกิเลสโดยวิธีนี้
คำถาม : การพิจารณากายคตาสติ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก พิจารณา กลับไป กลับมา โดยอนุโลมและปฏิโลม เป็นอย่างไรครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก่อนอื่น ทำความเข้าใจในเรื่อง ของ กายคตาสติให้ถูกต้องก่อนนะครับว่าคืออะไรและเป็นอย่างไร กายคตาสติ คือ สติและปัญญาที่ระลึกเป็นไปในการกาย ซึ่ง กายคตาสติ มี 2 อย่างคือทั้งที่เป็นสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา กายคตาสติที่เป็นสมถภาวนาคงเคยได้ยินนะครับที่ว่า พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น พิจารณาโดยความเป็นของปฏิกูล ในอาการ ๓๒ พิจารณาว่าผม ขน เล็บ ปฏิกูล ไม่น่ายินดี ติดข้อง ขณะที่มีความเข้าใจถูก ในการคิดพิจารณาเช่นนี้ จิตสงบจากกิเลสชั่วขณะ เพราะคิดถูก แต่ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรมไม่ได้ละความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ก็ยังเป็นผมของเรา ขนของเราอยู่ แต่พิจารณาถูกว่าเป็นสิ่งปฏิกูล มีสติและปัญญาพิจารณา สิ่งที่เนื่องกับกาย มี ผม ขน เล็บ เป็นต้นว่าปฏิกูล นี่คือกายคตาสติ โดยนัยสมถภาวนา ซึ่งไม่สามารถดับกิเลสได้ เพียงแต่ทำให้จิตสงบชั่วขณะที่พิจารณาครับ
ส่วนกายคตาสติโดยนัย วิปัสสนา คือ สติที่ระลึกเป็นไปในกายเช่นกัน แต่เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏที่กาย ที่เป็นธาตุ ๔ คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ที่เนื่องกับกาย ขณะนั้นสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่เนื่องกับกายที่เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่การพิจารณาบัญญัติเรื่องราวที่เป็น ผม ขน เล็บ อาการ ๓๒ เป็นต้น เมื่อสติเกิดรู้ว่าเป็นเพียงแข็ง เราก็ไม่มี กายก็ไม่มี มีแต่ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ก็สามารถไถ่ถอนความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลได้ อันเป็นหนทางดับกิเลสได้ ที่เป็นการเจริญวิปัสสนา ดังนั้น กายคตาสติ อีกชื่อหนึ่งในการเจริญวิปัสสนา ก็คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะฉะนั้น การเจริญ กายคตาสติ สติที่เนื่องในกาย ก็เป็นการเจริญสติปัฏฐานในหมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง ซึ่งการเจริญสติปัฏฐานเป็นหนทางที่สามารถดับกิเลสได้ครับ
ดังนั้น จากข้อความที่ยกมา ก็เป้นตัวเราที่จะบังคับ ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่เข้าใจความหมายแม้แต่คำว่ากายคตาสติ จึงเป็นหนทางที่ผิดครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
กายคตาสติและกายานุปัสสนา
ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง...กายคตาสติ และ การเจริญสติปัฏฐาน
ขออนุโมมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ต้องอาศัยคำจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จึงจะมีความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ เพราะธรรม คิดเองไม่ได้ ต้องฟัง ต้องศึกษาด้วยความเคารพ ละเอียด รอบคอบ ไม่ประมาทในแต่ละคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ครับ
ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ
พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อย่างไร
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ