๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยร่างกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔
โดย บ้านธัมมะ  3 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36545

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 300

๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒

ว่าด้วยร่างกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 300

๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒

ว่าด้วยร่างกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔

[๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่ายกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 301

ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนผู้มิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นไม่ได้เลย.

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตนยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและในกลางวัน.

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจด้วยดีโดยแยบคายถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 302

ผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป.

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกันจึงเกิดไออุ่น เกิดความร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกเสียจากกัน ไออุ่นซึ่งเกิดจากการครูดสีกันนั้น ก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุข จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 303

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในผัสสะ ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว และย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล.

จบอัสสุตวตาสูตรที่ ๒

อรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ ๒

ในอัสสุตวตาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา.

บทว่า ผสฺสํ ได้แก่ จักขุสัมผัสเป็นต้น.

ถามว่า ก็จักขุสัมผัสไม่เป็นปัจจัยแก่สุขเวทนามิใช่หรือ.

แก้ว่าไม่เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย แต่เป็นปัจจัยแก่ชวนะเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาคำนั้น.

แม้ในโสตสัมผัสเป็นต้น ก็นัยนี้.

บทว่า ตชฺชํ ได้แก่ เกิดแต่เวทนานั้น คือสมควรแก่ผัสสะนั้น. อธิบายว่า สมควรแก่ผัสสะนั้น.

บทว่า ทุกฺขเวทนียํ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า สงฺฆฏสโมธานา ได้แก่ โดยการครูดสีกันและการรวมกัน อธิบายว่า โดยการเสียดสีและการรวมกัน.

บทว่า อุสฺมา ได้แก่ อาการร้อน.

บทว่า เตโช อภินิพฺพตฺตติ ความว่า ไม่ควรถือเอาว่า ลูกไฟย่อมออกไป.

ก็บทว่า อุสฺมา นี้ เป็น


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 304

ไวพจน์แห่งอาการร้อนนั่นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวินฺนํ กฏฺานํ ได้แก่ ไม้สีไฟทั้งสอง.

ในสองอย่างนั้น วัตถุเหมือนไม้สีไฟอันล่าง อารมณ์เหมือนไม้สีไฟอันบน ผัสสะเหมือนการครูดสี เวทนาเหมือนธาตุไออุ่น.

จบอัสสุตวตาสูตรที่ ๒