คำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ ในปกิณกธรรม
ตอนที่ ๒๔ ที่โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการ ปี ๒๕๓๖
ท่านผู้ถาม ที่อาจารย์สกลถามเกี่ยวกับเรื่องท่องเนี่ย อาจารย์บอกไม่ต้องท่อง ผมรู้สึกสบายใจ ชอบ แต่่ถ้าเผื่อศึกษาเนี่ย ผมจะต้องจำ พวกชื่อ...
ท่านอาจารย์สุจินต์ ไม่ใช่ค่ะ ไม่ใช่ ศึกษาคือฟังให้เข้าใจ ถ้าจะอ่านก็ได้นะคะ
เพราะเหตุว่าอ่าน ก็คือความจำเสียงเหมือนกับฟังใช่ไหมคะ
ท่านผู้ถาม ครับ..
ท่านอาจารย์สุจินต์ ทุกครั้งที่เราอ่านเนี่ยค่ะ ไม่ว่าคำไหนทั้งสิ้น ต้องมีเสียง
และการจำสัญญาเสียงนั้นเอง ทำให้เราเข้าใจความหมาย เพราะฉะนั้นจะฟัง
ทางหู หรือจะอ่านทางตา หรืออะไรก็ได้ แต่หมายความว่าให้เข้าใจ นั่นคือการศึกษา ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ชื่อว่าศึกษา
ท่านผู้ถาม ฉะนั้นการที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องท่องเนี่ย ในเรื่องของเมตตาก็ตาม หรือว่าในเรื่องของสังคหวัตถุ อย่างที่ท่านอาจารย์สกลกล่าวเมื่อกี้ ถ้าเผื่อจำไม่ได้ว่ามี ทาน ปิยะวาจา อรรถจริยา สมานัตตา ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น พรหมวิหารอะไรต่าง เราต้องจำไว้ บางครั้งเนี่ยเราอาจจะมาพบอาจารย์ได้เพียงเดือนละครั้ง อย่างนี้ ถ้าเผื่อเราจะท่องคงจะไม่เป็นอะไรมั๊งครับ
ท่านอาจารย์สุจินต์ โดยมากคนมักจะถามนะคะ ว่าจะเป็นอะไรหรือเปล่า (ท่านอาจารย์ขำ) ไม่มีกฎเลยนะคะ ตามอัธยาศัยค่ะ ตามอัธยาศัยจริงๆ สำหรับดิฉันเนี่ย ดิฉันไม่ชอบท่องค่ะ อะไรๆ ก็ไม่ชอบจริงๆ จะให้ดิฉันไปสอบ ให้มานั่งท่อง ดิฉันก็ไม่เอา คือไม่ต้องการอะไรที่จะได้จากการท่อง เพราะชื่อว่าท่อง คือท่อง ใช่ไหมคะ แต่ถ้าเข้าใจเนี่ย ดิฉันยอมทุกอย่าง ไม่ว่าจะอ่าน จะฟัง จะคิด จะถาม หรืออะไรดิฉันก็ชอบ เพราะเหตุว่าทำให้เกิดความเข้าใจ แต่ถ้าเพียงท่องแล้วให้ดิฉันได้อะไรจากการท่องเนี่ย ดิฉันไม่ต้องการเลย ไม่
ต้องการไปท่องเพื่อให้ได้้ประกาศนียบัตร หรืออะไรอย่างนั้นนะคะ
แต่ว่าต้องการที่จะเข้าใจ แต่ถ้าจะพูดว่าจะท่องแล้วจะเสียหายไหม ไม่เกี่ยวกัน ใช่ไหมคะ ความเสียหายไม่ได้มาจากการท่องหรือไม่ท่องค่ะ แต่มาจากว่า เราท่องเพื่ออะไร ใช่ไหมคะ ถ้าเราอยากจะเข้าใจพระธรรมเนี่ย เราอ่านบ่อยๆ จำได้แน่นอนนะคะ แล้วขณะที่อ่านเนี่ย ไตร่ตรอง พิจารณา เห็นประโยชน์ ข้อสำคัญที่สุด คือ เห็นประโยชน์ เพราะว่า เราจำหัวข้อได้นะคะ สังคหวัตถุมี ๔ ทาน การให้ เป็นประโยชน์สงเคราะห์ ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคลที่จะใช้ชีวิตประจำวันอย่างผาสุข นะคะ นั่งท่องไป นอกจากนั้นยังมี ปิยะวาจา คำพูดที่น่าฟัง เพราะว่า วันหนึ่ง วันหนึ่ง ได้ยินแต่คำพูด เพราะฉะนั่น คำพูดไหนที่จะให้กำลังใจให้คนเกิดความสุขขึ้น ก็ไปนั่งท่อง นะคะ
แล้วก็ อรรถจริยา การประพฤติตนเป็นประโยชน์ ก็มานั่งท่องอีกว่า นี่หนึ่งน่ะ
นั้นสอง นี่สาม แล้วก็ สมานัตตา การมีตนเสมอ นี่สี่ จำหัวข้อนะคะ
แต่ถ้าเรามีความเข้าใจและเห็นประโยชน์จากการอ่าน แม้แต่ทาน การให้
ประโยชน์อยู่ที่ไหน ใช่ไหมคะ ประโยชน์จริงๆ นะคะ ไม่ใช่หวังผล เพราะว่าบางคนเนี่ยค่ะ มักจะทำอะไรโดยหวังผล นี่ อกุศลแบ่งครึ่ง คือว่า แทนที่จะเป็นกุศล อกุศลก็ติดตามมาแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจคำว่าทานหรือการให้จริงๆ นี่ค่ะ เราจะเป็นผู้ที่ให้โดยไม่หวังอะไรทั้งสิ้น อย่างนี้จะดีกว่าท่องสังคหวัตถุ ๔ เพื่อหวังว่าเราจะทำกุศล แล้วเราจะได้กุศล แล้วเราจะได้ผลของกุศล ถ้าอย่างนั้นการศึกษาธรรมะก็ไม่มีประโยชน์นะคะ บอกได้เลย ว่า
เป็นการเพิ่มกิเลส
กราบเท้าอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์
และขออนุโมทนาทุกๆ ท่านด้วยครับ
แต่ถ้าเข้าใจเนี่ย ดิฉันยอมทุกอย่าง ไม่ว่าจะอ่าน จะฟัง จะคิด จะถาม หรืออะไร
ดิฉันก็ชอบ เพราะเหตุว่าทำให้เกิดความเข้าใจ แต่ถ้าเพียงท่องแล้วให้ดิฉันได้
อะไรจากการท่องเนี่ย ดิฉันไม่ต้องการเลย
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์และคุณผู้ร่วมเดินทางที่นำธรรมดีๆ มาฝากครับ
ขออนุโมทนา
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์และขออนุโมทนาในกุศจิตของคุณผู้ใช้นามว่า "ผู้ร่วมเดินทาง" ด้วยครับ ที่นำธรรมดีๆ ข้อคิดดีๆ มาฝากผู้ศึกษาพระธรรมร่วมกัน ได้พิจารณาไตร่ตรอง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาอย่างแท้จริง ครับ
ส่วนใหญ่คิด ว่าฟังเพื่อให้จำ แต่อาจารย์เน้นยำ ฟังเพื่อให้เข้าใจ จนบางที คนที่อธิบาย
ธรรมะได้ เพราะความจำก็มีเยอะ พอนนานๆ เข้าก็ลืม เมื่อลืมก็ไปนั่งอ่านใหม่ แล้วก็คิดว่า
เข้าใจ แต่ความเข้าใจที่ว่า ไม่ใช่เข้าใจเรื่องราวธรรมะ แต่เข้าใจสภาพธรรมะที่ปรากฎ
ขณะนั้นจริงๆ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ