[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 331
๓. ภรุราชชาดก
ประทุษร้ายผู้มีศีลย่อมวิบัติ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 331
๓. ภรุราชชาดก
ประทุษร้ายผู้มีศีลย่อมวิบัติ
[๒๗๕] เราได้ฟังมาว่า พระราชาในภรุรัฐ ได้ทรงประทุษร้ายต่อฤๅษีทั้งหลายแล้ว ทรงประสบความวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น.
[๒๗๖] เพราะฉะนั้นแลบัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญการลุอำนาจแก่ฉันทาคติ บุคคลไม่ควรมีจิตคิดร้าย ควรกล่าวแต่คำที่อิงความจริง.
จบ ภรุราชาดกที่ ๓
อรรถกถาภรุราชชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิสีนมนฺตรํ กตฺวา ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า ลาภและสักการะได้เกิดขึ้นเป็นอันมากแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 332
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชและบริขารทั้งหลาย แม้ภิกษุสงฆ์ก็เหมือนอย่างนั้น แต่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลาย ไม่มีใครสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชและบริขารทั้งหลาย. พวกปริพาชกเหล่านั้น เสื่อมจากลาภและสักการะอย่างนี้ จึงประชุมลับปรึกษากันทั้งกลางวันและกลางคืนว่า ตั้งแต่พระสมณโคดมอุบัติมา พวกเราเสื่อมจากลาภและสักการะ พระสมณโคดมกลับได้ลาภและยศอย่างเลิศลอย สมบัตินี้เกิดแก่พระสมณโคดมด้วยเหตุไรหนอ. ในหมู่ปริพาชกเหล่านั้น พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่ทำเลดีเป็นที่อุดมสมบูรณ์ของชมพูทวีปทั้งสิ้น เหตุนั้นลาภสักการะจึงเกิดแก่สมณโคดม. พวกที่เหลือกล่าวว่า นั่นก็มีเหตุผลอยู่ แม้พวกเราหากจะสร้างอารามเดียรถีย์ขึ้นที่หลังเชตวันมหาวิหาร ก็คงจักมีลาภอย่างนั้นบ้าง. พวกปริพาชกทั้งหมดลงความเห็นกันว่า เอาเป็นอย่างนั้น จึงตกลงกันต่อไปว่า ก็ถ้าพวกเราจักไม่กราบทูลพระราชาเสียก่อนสร้างอาราม พวกภิกษุก็จะขัดขวางได้ ธรรมดาผู้ได้สินบนแล้วจะไม่เขวไม่มี เพราะฉะนั้น เราจักถวายของกำนัลแด่พระราชา แล้วจักขอรับเอาที่สร้างอาราม จึงขอร้องพวกอุปฐากทั้งหลายรวบรวมทรัพย์ได้แสนหนึ่ง ถวายแด่พระราชา แล้วกราบทูลว่า มพาบพิตร อาตมาภาพทั้งหลายจักสร้างอารามเดียรถีย์ที่หลังเชตวันมหาวิหาร หากพวกภิกษุจักมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 333
ถวายพระพรแด่พระองค์ว่า จักไม่ยอมให้ทํา ขอมหาบพิตรอย่าเพิ่งให้คำตอบแก่ภิกษุเหล่านั้น.
พระราชาทรงรับคำเพราะความละโมภของกำนัล. พวกเดียรถีย์ครั้นเกลี้ยกล่อมพระราชาแล้ว จึงเรียกช่างมาเริ่มการก่อสร้าง. ได้มีเสียงเอ็ดอึงขึ้น. พระศาสดาจึงตรัสถามว่า อานนท์ นั่นอะไรกัน เสียงเอ็ดอึงอื้อฉาว. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พวกเดียรถีย์ให้สร้างอารามเดียรถีย์ขึ้นที่หลังพระวิหารเชตวัน จึงมีเสียงขึ้น ณ ที่นั้น พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อน อานนท์ ที่นั่นไม่สมควรแก่อารามเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ชอบเสียงเอ็ดอึง ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับพวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้ จึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปทูลพระราชาให้ทรงยับยั้งการสร้างอารามเดียรถีย์. ภิกษุสงฆ์ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระราชาทรงสดับว่าสงฆ์มา ทรงดำริว่า พวกภิกษุคงจะมาเรื่องอารามเดียรถีย์ เพราะพระองค์รับสินบนไว้ จึงให้ไปบอกว่า พระราชาไม่ประทับอยู่ ในวัง. ภิกษุทั้งหลายจึงไปกราบทูลแด่พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า พระราชาทรงทำอย่างนี้เพราะทรงรันสินบน จึงส่ง พระอัครสาวกทั้งสองรูปไป. พระราชาทรงสดับว่า พระอัครสาวกทั้งสองรูปมา จึงรับสั่งให้บอกไปเหมือนอย่างนั้น. พระอัครสาวกทั้งสองมากราบทูลแด่พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร คราวนี้พระราชาจักไม่ได้ประทับนั่งในพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 334
ราชมณเฑียร จักเสด็จออกข้างนอก รุ่งขึ้นในเวลาเช้าพระองค์ทรงนุ่งถือบาตรจีวรเสด็จไปยังประตูพระราชวังกับภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระราชาพอได้ทรงสดับเท่านั้นก็เสด็จลงจากปราสาท รับบาตรนิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไป แล้วทรงถวายข้าวยาคูและภัตร ถวายบังคมพระศาสดา ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนา โดยปริยายข้อหนึ่งมาแสดงแก่พระราชาแล้วตรัสว่า มหาบพิตร พระราชาแต่ครั้งก่อนก็รับสินบนแล้วทำให้ผู้มีศีลทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน ไม่เป็นเจ้าของแห่งแคว้นของตนได้ถึงความพินาศใหญ่หลวง พระราชากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า ภรุราช เสวยราชสมบัติอยู่ในแคว้นภรุ. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นดาบส เป็นครูประจำคณะ. ได้อภิญญาห้าและสมาบัติแปด อยู่ในหิมวันตประเทศมาช้านาน จึงแวดล้อมไปด้วยดาบส ๕๐๐ ลงจาก หิมวันตประเทศ เพื่อต้องการอาหารรสเค็มและเปรี้ยว ได้ไปถึงภรุนครโดยลำดับ ออกบิณฑบาต ณ เมืองนั้น แล้วออกจากนครนั่งอยู่ที่โคนต้นไทรย้อย ซึ่งสมบูรณ์ไปด้วยสาขา และค่าคบทางประตูด้านเหนือ กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว อาศัยอยู่ ณ โคนต้นไม้นั่นเอง. เมื่อคณะฤๅษีนั้นอยู่ ณ ที่นั้นล่วงไปครึ่งเดือน ครูประจําคณะอื่นมีบริวาร ๕๐๐ มาเที่ยวขอภิกษาในนครนั้น ครั้นออกจากนครแล้วนั่งอยู่ที่โคนต้นไทรย้อยเช่นเดียวกันทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 335
ประตูทิศใต้ กระทำภัตกิจแล้วอาศัยอยู่ ณ ที่นั้นเอง. คณะฤๅษีทั้งสองเหล่านั้น พักอยู่ตามพอใจ ณ ที่นั้นแล้วก็กลับสู่หิมวันตประเทศตามเดิม. เมื่อคณะฤๅษีเหล่านั้นไปแล้ว ต้นไทรทางประตูทิศใต้ก็แห้งโกร๋น เมื่อคณะฤๅษีเหล่านั้นมาอีกครั้งหนึ่ง คณะที่อยู่ต้นไทรทางทิศใต้มาถึงก่อนรู้ว่าต้นไม้ของตนแห้งโกร๋น เที่ยวขอภิกษาออกจากนครไปโคนต้นไม้ทางทิศอุดร กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็พักอยู่ ณ ที่นั้นเอง. ส่วนฤาษีอีกพวกหนึ่งมาถึงทีหลัง เที่ยวภิกขาจารในนครแล้วไปยังโคนต้นไม้เดิมของตน กระทำภัตกิจแล้วก็พักผ่อน. พวกฤๅษีทั้งสองคณะก็ทะเลาะกันเพราะต้นไม้ว่า ต้นไม้ของเรา ต้นไม้ของเรา เลยเกิดทะเลาะกันใหญ่. ฤๅษีพวกหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจะเอาที่ที่เราอยู่มาก่อนไม่ได้. พวกหนึ่งกล่าวว่า พวกเรามาถึงที่นี่ก่อน พวกท่านจะเอาไม่ได้. พวกฤๅษีเหล่านั้นต่างทุ่มเถียงกันว่า เราเป็นเจ้าของ เราเป็นเจ้าของ ดังนี้แล้วพากันไปราชตระกูล เพื่อต้องการโคนต้นไม้. พระราชาทรงตัดสินให้คณะฤๅษีที่มาอยู่ก่อนเป็นเจ้าของ. ส่วนฤๅษีอีกพวกหนึ่งคิดว่า พวกเราจะไม่ยอมให้ใครว่าตนว่า ถูกพวกฤๅษีพวกนี้ให้แพ้ได้ จึงตรวจดูด้วยทิพยจักษุ เห็นเรือนรกหลังหนึ่งสำหรับพระเจ้าจักรพรรดิทรงใช้สอย จึงนำมาถวายเป็นสินบนแด่พระราชา พากันถวายพระพรว่า มหาบพิตร ขอพระองค์จงตัดสินให้พวกอาตมาเป็นเจ้าของ พระราชาทรงรับสินบนแล้ว ทรงตัดสินให้ฤาษีทั้งสองคณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 336
เป็นเจ้าของว่า จงอยู่กันทั้งสองคณะเถิด. ฤๅษีอีกฝ่ายหนึ่งนำล้อแก้วของเรือนรกนั้นมาถวายเป็นสินบน แล้วทูลว่า มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงตัดสินให้พวกอาตมาเป็นเจ้าของเถิด. พระราชาได้ทรงทำตามนั้น. คณะฤๅษีมีความร้อนใจว่า พวกเราละวัตถุกามและกิเลสกามออกบวช จะทะเลาะติดสินบนเพราะโคนต้นไม้ เป็นเหตุ เป็นการทำที่ไม่สมควร จึงรีบหนีออกไปสู่หิมวันตประเทศตามเดิม. เทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ แคว้นภรุรัฐทั้งสิ้น ต่างร่วมกันพิโรธพระเจ้าภรุราชว่า พระราชาทำให้ผู้มีศีลทะเลาะกัน เป็นการทำที่ไม่สมควร จึงบันดาลให้แคว้นภรุรัฐอันกว้างใหญ่ ๓๐๐ โยชน์กลายเป็นสมุทรไป ก่อให้เกิดความพินาศ. ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นถึงความพินาศ เพราะอาศัยพระเจ้าภรุราชพระองค์เดียว ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาทรงนำเรื่องอดีตนี้มา พระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-
เราได้ฟังมาว่า พระราชาในภรุรัฐได้ทรงประทุษร้ายต่อฤๅษีทั้งหลายแล้ว ทรงประสบความวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น.
เพราะฉะนั้นแล บัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่สรรเสริญการลุอํานาจแก่ฉันทาคติ บุคคลไม่ควรมีจิตคิดร้าย ควรกล่าวแต่คำที่อิงความจริง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 337
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิสีนมนฺตรํ กตฺวา ความว่า เปิดช่อง ให้ด้วยอำนาจฉันทาคติ. บทว่า ภรุราชา คือพระราชาแคว้นภรุ. บทว่า อิติ เม สุตํ ความว่า เราได้สดับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว. บทว่า ตสฺมา หิ ฉนฺทาคมํ ความว่า เพราะพระเจ้าภรุราชทรงถึงฉันทาคติ จึงวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น ฉะนั้นบัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญการถึงฉันทาคติ. บทว่า อทุฏฺจิตฺโต ความว่า บุคคลไม่ควรมีจิตคิดร้ายด้วยกิเลส ควรกล่าวคำจริง. บทว่า สจฺจูปสญฺหิตํ ความว่า ควรกล่าวคำที่อิงสภาพ คือ อิงเหตุ อิงผล เท่านั้น. ในชนเหล่านั้น พวกใดกล่าวคำจริง คัดค้านว่า ที่พระเจ้าภรุราช ทรงรับสินบนนี้เป็นการทำที่ไม่สมควร ที่สำหรับชนเหล่านั้นดำรงอยู่ ได้ปรากฏขึ้นเป็นเกาะพันหนึ่ง ในนาลิเกรทวีป จนทุกวันนี้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า มหาบพิตรไม่ควรเป็นผู้ลำเอียงด้วยฉันทาคติ ไม่ควรทำให้บรรพชิตทั้งสองคณะทะเลาะกัน แล้วทรงประชุมชาดก. เราตถาคตได้เป็นหัวหน้าคณะฤๅษีสมัยนั้น. พระราชา ในเวลาที่พระตถาคตเสวยภัตตาหารเสร็จแล้วเสด็จกลับไป ได้ส่งพวกราชบุรุษให้ไปรื้ออารามเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์ก็ตั้งไม่ติด ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาภรุราชชาดกที่ ๓