๖. อนัตตสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งเป็นอนัตตา
โดย บ้านธัมมะ  6 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36825

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 156

๖. อนัตตสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งเป็นอนัตตา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 156

๖. อนัตตสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งเป็นอนัตตา

[๑๔๔] กรุงสาวัตถี. ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมใดแลเป็นอนัตตา เธอควรละความพอใจในธรรมนั้นเสีย.

ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 157

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร ได้อย่างไรเล่า.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนัตตา ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างนี้แล.

พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนัตตา ควรละความพอใจในธรรมนั้นๆ เสีย เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างนี้เถิด ฯลฯ ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ อนัตตสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๕ - อนัตตสูตรที่ ๖

แม้ในทุกขสูตรที่ ๕ และอนัตตสูตรที่ ๖ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๕ - อนัตตสูตรที่ ๖