ปกตูนิสสยปัจจัยคืออะไร มีความหมายอย่างไร
ขอเชิญคลิกอ่านที่... อุปนิสสยปัจจัย...ปกตูปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยปัจจัย และ ผลของกรรม
ปกตูปนิสสยปัจจัย และ กรรม
ปกตูปนิสสยปัจจัย และ อัธยาศัยที่แตกต่าง
ปกตูปนิสสยปัจจัย....กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศล
ปกตูปนิสสยปัจจัย.....สัทธาในพระธรรม และ ความเห็นผิด
ขออนุญาตเรียนถามท่านวิทยากรเพิ่มเติมครับว่า
ตามที่ปรากฏใน พระคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ปริจเฉจที่ ๘ ปัจจยสังคหะ
ท่านให้ความหมายคำว่า ปกตูปนิสสยะ คือ อาศัยซึ่งกระทำด้วยดี
คำว่า ปกโต มีความหมายว่า กระทำด้วยดีโดยทำให้ธรรมที่เป็นปัจจยุบันปรากฏแน่นอนในกระแสจิตในกาลอันเหมาะสม
การกระทำในเรื่องนี้ คือ การก่อให้เกิดธรรมทั้งหลายที่ตรัสไว้โดยลักษณะที่กล่าวไว้ในกระแสจิตของตนว่า
"ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา"
"ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฎฐิ และความปราถนา"
และยังหมายถึงการซ่องเสพธรรมดังพระพุทธดำรัสว่า
"สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย บุคคล ฤดูกาล อาหาร และที่อยู่"
สำหรับในเรื่องของการกระทำด้วยดีในกุศลและอกุศล เป็นปกตูปนิสสยะปัจจัยให้เกิดกุศลและอกุศลนั้น เมื่ออ่านคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ที่ อ.ประเชิญกรุณาลิ้งค์ให้อ่านก็พอทำความเข้าใจได้
แต่ผมยังไม่เข้าใจในส่วนท้ายที่กล่าวถึงการซ่องเสพธรรม ที่เกี่ยวกับสุข ทุกข์ บุคคล ฤดูกาล อาหาร และที่อยู่ เป็นปกตูปนิสสยะปัจจัยอย่างไรครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ตอบความเห็นที่ ๒
แต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน อาศัยสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
เช่น ถ้าที่อยู่ดี อากาศดี ได้อาหารดี ทำให้จิตใจดี กุศลก็เจริญขึ้น หรือ
บางคนไปฟังธรรม อากาศร้อนมาก ได้อาหารไม่ดี ก็ทำให้เกิดอกุศลค่ะ
ขออนุญาตเรียนถาม อ.วรรณี เพิ่มเติมครับว่า
ความสุข ทุกข์ทางกาย บุคคลต่างๆ อากาศ อาหาร และที่อยู่นั้น
หากมีผลทำให้เกิดกุศล ก็จะทำให้เกิดกุศลไปเรื่อย
ในทางตรงข้ามถ้าสิ่งเหล่านั้นทำให้เกิดอกุศล ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลไปเรื่อย
ดังนั้น
หากมีความสุขกาย พบแต่คนชอบใจ อากาศดี อาหารดี ที่อยู่ดี
แต่ถ้าไม่ระวังเกิดแต่โลภะ ก็จะเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยต่ออกุศล
แต่ถ้าทุกข์กาย พบแต่คนไม่ถูกใจ อากาศไม่ดี อาหารแย่ ที่อยู่เลว
แต่ก็พิจารณาให้เกิดกุศล ก็จะเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดกุศลได้
ไม่ทราบว่าจะถูกหรือไม่ครับ
อาหาร อากาศ ที่อยู่อาศัย และบุคคลต่างๆ ก็มีส่วนทำให้กุศล หรือ
อกุศลเจริญขึ้น ที่สำคัญขึ้นอยู่กับ การสะสมอุปนิสัยและปัญญามาต่างกันค่ะ
เช่น กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลก็ได้ อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้ค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนา อ.วรรณี ครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ