บุคคลใด เมื่อจิตเกิดก็รู้ว่าจิตเกิด เมื่อจิตดับก็รู้ว่าจิตดับ เมื่อขณะเกิดจักขุวิญญาณก็รู้เห็นรูป สีสัน แต่หยุดที่จักขุวิญญาณ ไม่ให้ภาพนั้นไปเกิดที่มโนทวาร เพราะมีความเข้าใจว่าถ้ามโนทวารเกิด ความคิดย่อมเกิด เมื่อความคิดเกิด เวทนา สังขาร สัญญาย่อมเกิด ตัณหาย่อมเกิด เมื่อตัณหาเกิดสุขทุกข์ย่อมตามมา ส่วนการเกิดดับของจิตนั้นถือเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่สามารถห้ามได้ ไม่ทราบว่าการปฏิบัติอย่างนี้ถูกต้องตามหลักธรรมหรือไม่อย่างไรครับ
ตามหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงพระธรรมตามความเป็นจริงเพื่อให้สาวกทั้งหลายรู้ตามความเป็นจริง สำหรับความเป็นไปของวิถีจิตทางปัญจทวารและทางมโนทวาร ย่อมเกิดรับรู้อารมณ์ที่มากระทบและสืบต่อกันโดยที่ใครๆ ไม่อาจห้ามการเกิดขึ้นของวิถีจิตเหล่านั้นได้ เพราะเป็นธรรมชาติของธรรมะอย่างนั้น แม้พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ตรัสสอนให้สาวกห้ามความเป็นไปของวิถีจิต แต่ตรัสสอนให้รู้ตามความเป็นจริง เวทนา สัญญา สังขาร ย่อมเกิดกับจิตทุกขณะ เมื่อตัณหายังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท เมื่อมีปัจจัยย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่สติสัมปชัญญะย่อมรู้ตามเป็นจริงในเบื้องต้นควรทราบว่า ไม่มีใครห้ามอะไรได้ แต่อบรมปัญญาเพื่อรู้ตามเป็นจริงได้
สาธุ สาธุ
ขอถามต่อครับ การใช้สติตรวจดู วิถีจิตทางปัญจทวาร และทางมโนทวาร อยู่ตลอดเวลา ถือว่าได้ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ได้หรือไม่อย่างไรครับ
บางคนเข้าใจผิดว่า มีสติอยู่ตลอดหรือใช้สติได้
บางคนเข้าใจผิดว่า มีสติอยู่ตลอดหรือใช้สติได้ เช่น เมื่อขับรถอยู่ก็รู้ตัวว่าขับอยู่เมื่อเดินข้ามถนนก็รู้ตัวว่าเดินข้ามถนนอยู่ คือการรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่าทำอะไรอยู่นั้น เข้าใจว่าเป็นลักษณะของสติ แต่สติในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ในพระอภิธรรมปิฏกกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า สติเป็นเจตสิกที่ต้องเกิดกับโสภณจิตเท่านั้น เกิดกับอกุศลจิตไม่ได้เลย เมื่อผู้ไม่ศึกษา ก็อาจเข้าใจผิดว่านั่นเป็นสติหรือกำลังใช้สติ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา รวมทั้งสติก็เป็นอนัตตามีเหตุปัจจัยสติจึงเกิดขึ้ทำกิจของสติ ไม่มีตัวเราใช้สติ ต้องอาศัยการอบรมเจริญเริ่มต้นด้วยการฟังธรรมให้เข้าใจ ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าที่ท่านเข้าใจว่าเป็นสติหรือเข้าใจว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ถูก ต้องเทียบเคียงกับพระธรรมวินัยเท่านั้น
ธรรมทัศนะ วันที่ : 02-09-2549
ในชีวิตประจำวันมีสภาพธรรมปรากฏตลอดเวลา
ทุกๆ ขณะในชีวิตประจำวันมีสภาพธรรมปรากฏตลอดเวลา นับตั้งแต่เวลาตื่นขึ้นมา ผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ย่อมค่อยๆ ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเหล่านั้นทีละอย่าง คือ อะไรกำลังปรากฏก็รู้สิ่งนั้น ไม่มีการเลือกหรือเจาะจง
ธรรมทัศนะ วันที่ : 02-09-2549