สวัสดีครับ
ขอทราบว่าเหตุใกล้ให้เกิดฉันทะเจตสิก คืออะไรบ้างครับ
ขอบคุณครับ
ลักขณาทิจตุกกะของฉันทะมีดังนี้
มีความเป็นผู้ใคร่เพื่อทำ เป็นลักษณะ
มีอันแสวงหาอารมณ์ เป็นกิจ
มีการต้องการอารมณ์ เป็นผล
มีอารมณ์นั้นแหละ เป็นเหตุใกล้
สรุปคือฉันทะมีอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ เป็นเหตุให้เกิด
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ที่จริงแล้ว ลักษณะของสติที่เป็นสติปัฏฐาน นั้นเป็นมหากุศลจิต ที่มี โสมนัสเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย ซึ่งเวทนาทั้งคู่ถือว่าเป็นความสุข เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่มีปกติของการเจริญสติปัฏฐานจะมีความสุขที่ประณีตมากกว่า โสมนัสเวทนาหรืออุเบกขาที่เกิดจากกามราคะ เพราะฉะนั้น เมื่อจิตมีความสุข ฉันทะในอิทธิบาท๔ ก็จะเกิดขึ้น เมื่อ มีฉันทะหรือความพอใจ วิริยะ จิตตะ วิมังสาก็เจริญขึ้นสืบเนื่องกันไป
เพราะฉะนั้นถ้าใครคิดว่ารู้สึกอึดอัด หรือเป็นภาระ เครียด แสดงว่านั่นยังไม่ใช่สติปัฎฐานแสดงว่ายังมีเราที่ยังจงใจ ไปเพ่งจ้องอารมณ์
เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกขออโหสิกรรมด้วย อนุโมทนาครับ
ฉันทะที่ประกอบด้วยโลภะก็มีครับ เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
ฉันทะและตัณหา..
เป็น ฉันทะ หรือ โลภะ ครับ..?
แยกไม่ออกระหว่างฉันทะและโลภะ
เห็นด้วย ครับ ระหว่างฉันทะกับ โลภะ ถ้าสติปัฎฐานยังไม่เกิด จะแยกยากมาก เพราะ จะไม่มีข้อเปรียบเทียบ เช่น บางคนอยากจะปฏิบัติธรรม ก็ไปนั่งสมาธิ บังคับลมหายใจด้วยก็เลยเกิดมิจฉาสมาธิแทน หรือเกิดนิมิตต่างๆ เช่น เห็นพระพุทธเจ้า ก็เข้าใจว่าตัวเองบรรลุธรรมก็มี อันนี้ก็เป็นโลภะเพราะปฏิบัติด้วยความอยากที่จะบรรลุธรรม แต่เนื่องจากจิตเกิดดับทีละขณะฉะนั้น บางที่โลภะดับ แล้วขณะจิตต่อไปเป็นกุศลก็มี
แต่ฉันทะในที่นี้ เป็นองค์ธรรมฝ่ายกุศลในอิทธิบาท ๔ เกิดขึ้นหลังจากสติปัฎฐานเริ่มเกิด มีความพอใจที่จะเรียนรู้อารมณ์ที่ผ่านมากระทบทางทวารต่างๆ เพราะขณะที่อารมณ์มากระทบ ถ้าสติระลึกรู้ก็จะมีความสุข ที่เกิดจากโสมนัสเวทนาที่เกิดร่วมกับจิตขณะนั้น ปีติสัมโพฒชงค์ ในโพฌชงค์ ๗ก็เป็นความสุขที่เกิดขึ้นหล่อเลี้ยงจิต ของผู้ที่เจริญวิปัสสนากัมมฐาน ในระดับญาณต้นๆ เพราะถ้าติด ในความสุขก็จะผ่านขึ้นสู่ญาณที่สูงขึ้นไม่ได้ ซึ่งองค์ธรรมตัวสุดท้ายคือ อุเบกขาสัมโพมชงค์ หรือสังขารอุเบกญาณในโสฬสญาณ แต่ภูมิของพระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถละกุศลจิตทุกประเภท พระอนาคามี ก็ยังมีฉันทะในการเจริญสติปํฎฐาน แต่แคบเข้ามาเรียนที่ วิถีจิตทางมโนทวาร
เพราะ ทางปัญจทวารท่านละได้เด็ดขาด คือกามราคะ และปฏิฆะ เพราะสังโยช ทั้งสองนี้เกี่ยวเนื่องกับกาย ส่วนอีกสามข้อละได้ตั้งแต่พระโสดาบัน ส่วนสังโยชน์เบื้องปลายตั้งแต่ รูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจะกุกุธจะ มานะ และอวิชชา เป็นกิเลส ขั้นละเอียด ที่เกิดขึ้นทาง มโนทวารวิถี เพราะไม่ได้อาศัย การกระทบทางปัญจทวารวิถีดังนั้นเมื่อจุติของพระอนาคามีดับลง ปฏิสนนธิของท่านจึงเกิดในภพของพรหมที่สามารถเจริญวิปัสสนาต่อได้คือ ชั้นสุทธาวาส
ขั้นต้น เป็นแค่ความเห็นนะครับ อ่านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะตัวผู้เขียนยังเป็นปุถุชนที่ยังแสวงหาความหลุดพ้นเหมือนกัน ถูกผิดขออโหสิกรรมด้วยนะครับอนุโมทนาครับ