มันแก้ยากนะครับ เราต้องเพ่งทั้ง อรรถและพยัญชนะของศัพท์ด้วย ผมให้ความหมายของ " ปชานาติ " ไว้แล้ว " ปชานาติ " นี้ " ปัญญา " นะครับ " รู้ชัด " นี่ปัญญานะครับ แล้วปัญญาไปรู้ชัดอะไรในอิริยาบถอย่างนั้นน่ะ รู้ชัดอะไร ก็บอกอยู่แล้วว่า ถ้าสภาพธรรมไม่มี แล้วจะไปรู้ชัดอะไร? สภาพธรรมมีจึงจะรู้ชัดได้ รู้ชัดนี้หมายความว่า " รู้จริงๆ " ไม่ใช่ไปรู้แบบนึกเอา คือ มีสภาพธรรมปรากฎจริงๆ จึงจะรู้ชัดได้ เพราะในตอนสุดท้ายท่านจะบอกว่า ถ้ารู้อย่างนี้ ก็เหมือนที่ใครๆ รู้ ที่ชาวบ้านรู้ทั่วๆ ไป เด็กๆ ก็รู้ ใครๆ ก็รู้ " เดิน " มีใครไม่รู้บ้างว่าเขาเดิน ยืน นั่ง นอน มีใครบ้างไม่รู้ ทุกๆ คนรู้แล้วรู้อย่างนี้ ถอน " อัตตา " ตัวตนได้หรือเปล่า? ก็ไม่ได้ เขาไม่ได้รู้สภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฎตามความเป็นจริง รู้แต่ชื่อ แต่อาการที่ปรากฏแก่ตัวเราเท่านั้น การที่จะรู้ชัด จนถึงมีปัญญา สามารถที่จะถอนความเป็นตัวเป็นตนได้ " จะต้องรู้ความจริง " เพราะความจริงจะแสดงออกว่า " ผม " น่ะไม่ใช่ใครนะ เป็นธรรม เป็นธาตุแต่ละอย่างที่ปรากฎ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ถึงแม้ว่าประโยคของท่านจะบอกว่าเรานั่ง เรานอน เรายืน เราเดิน เราก็จะต้องศึกษาอภิธรรม ไม่ใช่เราฟังแต่พระสูตรอย่างเดียว ก็ต้องเกื้อกูลกันสิครับ ความรู้ที่ได้จากพระอภิธรรม ก็ต้องเกื้อกูลกับพระสูตร จึงจะทำให้พระสูตรเดินไปได้ ไม่ได้ติดขัด
จาก สนทนาเรื่องการปฏิบัติธรรม เมื่อวัน ..อาทิตย์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
มีความเห็นดังนี้ ถ้าจะเข้าใจความเป็นจริงจากตัวพยัญชนะนั้น จะห่างไกลจากการลงมือทำอย่างอุกฤษ เมื่อเทียบกับการวางสติให้มั่น ทั้งทางกาย วาจา และใจทุกขณะให้สติระลึกรู้สิ่งกรtทบทั้งหลายเป็นรูป และนาม จนจิตละ คลาย จากการยึดติดด้วยปัญญาที่เกิดจากการระลึกรู้ด้วยสติอย่างต่อเนื่อง จนเป็นความชำนาญตามลำดับขั้น ตั้งแต่ อิธิบาทสี่ อินทรีห้า พละห้า โพชชงค์เจ็ค และละเอียดจนถึงมรรคมีองค์แปด ดังนี้การเรียนปริยัตินั้นดีอยู่ แต่ต้องไม่หลงในเนื้อพยัญชนะ การลงมือทำจะแจ่มแจ้งด้วยจิตใจยิ่งกว่าการนึกคิด จดจำพยัญชนะแต่ส่วนใหญ่ ลงมือทำให้มากกว่าเพียงการนึกคิดจากพยัญชนะ นะครับ
ข้อสำคัญที่สุดอย่าคิดว่าอยากให้มีสติมากๆ แต่ไม่รู้อะไร ไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ ในขณะนี้ตามปกติตามความเป็นจริงแต่ละทวารค่ะ
ความเข้าใจในสภาพธรรมนั่นแหละ คือ การปฏิบัติธรรม
ยินดีในกุศลจิตค่ะ