หมายถึงแปลภาษาธรรม ถึงเข้าใจยาก ให้ย่อยขบเคี้ยวให้ออกมาเป็น ภาษาชาวบ้าน ที่เข้าใจกันทุกคน ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นภาษาที่จบขั้นดอกเตอร์ ดังนั้นคนที่ยังอยู่ชั้น อนุบาล ประถม มัธยม ปริญญาตรี จะเข้าใจได้หรือ ทำไมคนที่จบขั้นดอกเตอร์ทางธรรม น่าจะขบเคี้ยวธรรมออกมาให้เป็นภาษาชาวบ้านฟังแล้วเข้าใจทุกระดับชั้นเช่น จิต เจตสิก เราสามารถใช้คำที่มันดูง่ายๆ ฟังแล้วไม่ต้องมานั่งแปล แล้วแปลอีกได้ไหมอะครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เรียนท่านผู้ตั้งกระทู้ จากที่ผมได้ศึกษาธรรมะจาก การฟังการแสดงธรรมะของ
ท่านอาจารย์สุจินต์ และคณะวิทยากรทั้งจากเทป และจากเวปไซ์นี้ ได้สังเกตว่า ท่าน
อาจารย์สุจินต์เน้นเสมอว่า การศึกษาธรรมะ จุดประสงค์เพื่อเข้าใจสภาพธรรมะที่มีอยู่
จริง ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นเลย เมื่อได้ยิน ได้ฟัง หรืออ่านเจอคำใดควรทำความ
เข้าใจถึงอรรถของคำนั้น เพราะสภาพธรรม แท้จริงแล้วไม่มีชื่อใดๆ ทั้งสิ้น แต่ที่ต้องใช้
ชื่อเรียก ก็เพื่อให้สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ มิเช่นนั้นจะมีการศึกษาพระธรรมที่พระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงไม่ได้เลย ดังนั้นแม้เราจะพยายาม
แปลจากศัพท์บาลีให้เป็นศัพท์ภาษาไทยให้ฟังดูคุ้นหูมากขึ้น ยังไงก็ต้องมีการพิจารณา
ทำความเข้าใจอยู่ดี เช่นหากจะแปลคำว่า "จิต" เป็น สภาพนามธรรมที่เป็นใหญ่เป็น
ประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ส่วน "เจตสิก" เป็นสภาพนามธรรมที่ปรุงแต่งจิต เกิดดับ
ร่วมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อย่างไรก็ตาม ก็ยังต้องทำความเข้าใจในอรรถแท้ๆ
ของคำนั้นอยู่ดีครับ (รู้แจ้งในอารมณ์คืออย่างไร? เป็นใหญ่เป็นประธานคืออย่างไร? ปรุง
แต่งจิตคืออย่างไร? เกิดดับร่วมกับจิตคืออย่างไร? ฯลฯ)
เพราะธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงนั้นละเอียด และ
ลึกซึ้งยิ่ง เป็นเรื่องยาก ไม่สามารถทำให้ง่ายชนิดที่ว่าสอนไม่กี่คำก็ทำให้ใครๆ เข้าใจได้
ทันที ไม่เช่นนั้นพระองค์คงไม่ต้องบำเพ็ญพระบารมีถึง ๔ อสงไขย แสนกัปป์ กว่าที่
พระองค์จะตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรมทุกอย่าง
ดังนั้นหน้าที่ของ สาวก คือผู้ฟังอย่างเราคือค่อยๆ ทำความเข้าใจธรรมที่พระองค์ทรง
พระมหากรุณาแสดง ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ถามผู้ที่รู้มากกว่าเรา จนกระทั่งปัญญา
ค่อยๆ เจริญขึ้นเป็นปัญญาของตนเอง ไม่มีทางเร็ว ไม่มีทางลัด ไม่มีทางที่ง่าย ยิ่งศึกษา
จะยิ่งรู้ว่าเรารู้น้อยขนาดไหน แต่ไม่มีทางอื่นเลย มีแต่ทางนี้ที่ต้องใช้ความอดทนอย่าง
มาก เพราะ ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง
ต้องขออภัยที่ผมเองก็ให้ความเห็นได้เพียงเท่านี้ เพราะเพิ่งได้เริ่มฟังเริ่มศึกษา แต่
ที่นี่ มีผู้ที่มีปัญญามีความเข้าใจอีกมากมายที่จะช่วยอนุเคราะห์ให้ความเข้าใจของเราได้
เพิ่มขึ้นครับ
ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตที่มีความสนใจในธรรมครับ
พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ละเอียด รู้
ตามได้ยาก แม้พระพุทธองค์เองก็ยังไม่น้อมพระทัยที่จะทรงแสดงธรรม แต่ก็ไม่เหลือ
วิสัยที่ผู้มีปัญญาที่ได้สะสมมาสามารถที่จะเข้าใจตามได้ และก็มีผู้บรรลุมาแล้วมากมาย
ผู้ที่ได้บรรลุแล้ว (ถ้าเปรียบเหมือนผู้จบดอกเตอร์) ท่านเหล่านั้นก็ต้องเริ่มต้นจากการ
ฟังพระธรรมบ่อยๆ พิจารณาให้เข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่มีจริงที่กำลังมีในขณะนี้ และท่าน
อาจารย์สุจินต์ได้ใช้คำภาษาไทยเช่น จิตเห็น แทนที่จะใช้จักขุวิญญาณ จิตได้ยิน
แทนโสตวิญญาณ และสิ่งที่ปรากฏทางตา แทนรูปารมณ์ ซึ่งคงอรรถของธรรมไว้ไม่
คลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้น ชื่อไม่เป็นสิ่งสำคัญ จะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ภาษาไหนก็ได้ แต่
ให้เข้าใจว่าหมายถึงสภาพธรรมใด
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ...
สัจจธรรมย่อมยากและละเอียดลึกซึ้ง ความเข้าใจยิ่งละเอียดเท่าไร ก็จะช่วยละกิเลสที่
ละเอียดได้ยิ่งขึ้นเท่านั้น อาศัยการฟังการระลึกศึกษาด้วยความเพียรและขันติความอดทน
จะค่อยๆ เข้าใจเองว่าเหุตใดจึงต้องใช้คำที่ตรงกับสภาพธรรมตามความเป็นจริงค่ะ..
ขออนุโมทนา
ผมเข้าใจดีครับ ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าซึ้งเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ต้องแสดงไว้เป็นหลัก
แต่สาวกที่รับต่อมา เขาก็แสดงแบบบดย่อยลงมาได้อีกให้เข้าใจได้เฉพาะๆ เลย อย่างเช่นพระสารีบุตร ยังแสดงธรรมได้แบบพิศดาร
หรือแม้แต่พระนาคเสน ที่ท่านแสดงทำแบบ อุปมา อุปไมย เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายเข้าไปอีก แบบเห็นภาพเลย ในทุกๆ คำตอบ เช่น
การปุจฉา-วิสัชนา ระหว่าง พระยามิลิน กับ พระนาคเสน เป็นต้น
เมื่อฟังตอนแรกๆ ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ แต่เพราะมีฉันทะ (ความพอใจ) ในการฟัง จึงเริ่ม
เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ บางทีคนที่ถามอ้างบาลีเป็นคำยาวๆ ก็จำได้ก็มีเพราะท่านอ้างบ่อย แต่ถึง
ปัจจุบันนี้ก็มีหลายคำ ที่จำไม่ได้ หรือไม่รู้ความหมาย ขอให้ค่อยๆ ฟังไปนะครับ
ขออนุโมทนา
ในห้องมืด มีสภาพรู้ (จิต-นามธรรม) เกิดขึ้นรู้แข็ง (รูปซึ่งเป็นลักษณะของธาตุดิน-รูปธรรม) นี้เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นปรมัตถ์ อารมณ์เป็นอุเบกขา
เมื่อเปิดไฟ เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา (สี) แล้วคิด รู้ว่าเป็นงู นี้เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นบัญญัติ อารมณ์อาจเปลี่ยนไปเป็นชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ
เป็นความพยายามที่จะศึกษาให้เข้าใจสภาพธรรมะตามความเป็นจริง
ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยาก แต่ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ที่มีความตั้งใจ มีความจริงใจ มีความเพียร มีความอดทนที่จะฟัง ที่จะศึกษาเพื่อควมเข้าใจจริงๆ ซึ่งก็จะต้องเป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระธรรม เท่านั้น ที่จะได้สาระจากพระธรรม เหตุที่จะให้ปัญญาเจริญขึ้น ต้องอาศัยการคบกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา พร้อมทั้งได้ฟังธรรม ศึกษาพระธรรม พิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผลของพระธรรม เมื่อไม่ขาดการฟังพระธรรม ให้เวลากับพระธรรม ปัญญาย่อมเจริญขึ้นอย่างแน่นอน สิ่งสำคัญ คือ ต้องเป็นปกติสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ถ้าอยากหาวิธีลัด ต้องการง่ายๆ นั่นก็เป็นเครื่องกั้นแล้ว เพราะธรรม ไม่ง่าย ตามความเป็นจริงแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับการสะสมมาของแต่ละบุคคลว่าจะให้ความสำคัญกับการฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญามากน้อยแค่ไหน ผู้ที่เห็นคุณประโยชน์ของพระธรรม ย่อมให้เวลากับพระธรรม เป็นผู้ใคร่ในการฟังพระธรรม อยู่เสมอ เมื่อตั้งใจฟังไปเรื่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ มีหรือที่จะไม่เข้าใจ? ปราสาท ๗ ชั้น ไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว การอบรมเจริญปัญญาก็เช่นเดียวกัน ไม่สามารถมีได้มากๆ จากการฟังเพียงครั้งเีดียว ต้องฟังบ่อยๆ เนืองๆ สะสมไปทีละเล็กทีละน้อย และจะต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนาน อีกด้วย ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ผมเข้าใจดีครับ ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าซึ้งเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ต้องแสดงไว้เป็นหลัก
แต่สาวกที่รับต่อมา เขาก็แสดงแบบบดย่อยลงมาได้อีกให้เข้าใจได้เฉพาะๆ เลย อย่างเช่นพระสารีบุตร ยังแสดงธรรมได้แบบพิศดาร
หรือแม้แต่พระนาคเสน ที่ท่านแสดงทำแบบ อุปมา อุปไมย เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายเข้าไปอีก แบบเห็นภาพเลย ในทุกๆ คำตอบ เช่น
การปุจฉา-วิสัชนา ระหว่าง พระยามิลิน กับ พระนาคเสน เป็นต้น
ที่แรกผมก็เข้าใจเช่นเดียวกับคุณเดินทางครับว่า ควรมีการอธิบายพระธรรมให้เข้าใจง่ายๆ เช่นที่ยกตัวอย่างมา
แต่เมื่อศึกษาไปเรืื่อยๆ จะพบว่า ที่ท่านอธิบายมาให้เข้าใจได้นั้น เป็นเพียงความเข้าใจของเราเองในเบื้องต้นเท่านั้น แต่พระธรรมมีความลึกซึ้งมากกว่านั้นมากย่ิงนัก
ตัวอย่างการอุปมาอุปมัยของ มิลินทปัญหา ทำให้เข้าใจได้ดี มีการโต้ตอบที่ชาญฉลาด แต่เป็นความเข้าใจของเราในเรื่องราวเท่านั้น ถ้าหากเราไม่ศึกษาต่อไปโดยละเอียดแล้ว ก็จะจบอยู่ที่เรื่องราวเท่านั้น
ดังนั้น ธรรมะย่อมลึกซึ้ง เมื่อไหร่ก็ตามที่พยายามหาธรรมะง่ายๆ แล้ว ย่อมเป็นโลภะ
ส่วนการแสดงธรรมะ เป็นเรื่องของผู้มีปัญญาที่สะสมการแสดงพระธรรมในลักษณะต่างๆ จะถูกกับอุปนิสัยของใครบ้างก็เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล
แต่ที่สำคัญผู้ฟังไม่ควรประมาท ที่จะศึกษาพระธรรมไปจนกว่าจะขัดเกลากิเลสได้จริงๆ ครับ
ขออนุโมทนาครับ