อภิธรรมในชีวิต [12] โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุศลเจตสิก
โดย พุทธรักษา  29 ม.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 17798

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุศลเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกับ อกุศลจิต เท่านั้น เช่น เมื่อเราเห็น สิ่งที่สวยงาม จิต-ที่ยินดีพอใจ-ในสิ่งที่เห็น เกิดขึ้น จิตขณะนั้น มี โลภเจตสิก เกิดร่วมด้วย

โลภเจตสิก ทำกิจ ติดข้องในอารมณ์ ยังมี อกุศลเจตสิก อื่นๆ อีก ที่เกิดร่วมกับ อกุศลจิต เช่น มานเจตสิก (ความสำคัญตน) ทิฏฐิเจตสิก (ความเห็นผิด) และ อิสสาเจตสิก (ความริษยา) เป็นต้น

โสภณเจตสิก เกิดร่วมกับ โสภณจิต เช่น อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก (ปัญญาเจตสิก) เช่น ขณะที่ให้ทาน อโลภเจตสิก และ อโทสเจตสิก เกิดร่วมกับ กุศลจิต (ขณะที่กำลังให้ทาน) ปัญญาเจตสิก "อาจจะ" เกิดร่วมกับ กุศลจิต (ขณะที่กำลังให้ทาน) ด้วย

แม้ว่า จิต และ เจตสิก เป็น นามธรรม แต่ก็มี "ลักษณะ" ต่างกัน บางคน สงสัยว่า จะรู้ "ลักษณะของเจตสิก" ได้ อย่างไร เราอาจจะรู้ "ลักษณะของเจตสิก" ได้ เมื่อสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลงของจิต" เช่น (บางขณะ) อกุศลจิต มี มัจฉริยเจตสิก (ความตระหนี่) เกิดขึ้น หลังจากที่ กุศลจิต-ซึ่งมี อโลภเจตสิก-เกิดร่วมด้วย ดับไป ทำให้เรารู้ว่า มัจฉริยเจตสิก ต่างจาก อโลภเจตสิก เราอาจจะสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลง" จาก ความยินดี เป็น ความยินร้าย จาก ความสบายใจ เป็น ความไม่สบายใจ เป็นต้น

เวทนา (ความรู้สึก) เป็น เจตสิกประเภทหนึ่ง ที่สามารถ "สังเกต-รู้" ได้ เพราะบางครั้ง เวทนา (ความรู้สึก) ปรากฏชัด และ มี เวทนา หลา"ยประเภท (สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา) เราสามารถสังเกต-รู้ ได้ ว่า โทมนัสเวทนา ต่างกับ โสมนัสเวทนา และ อุเบกขาเวทนา (เป็นต้น) เจตสิก บางประเภท เกิดกับจิต บางดวง (ประเภท) เท่านั้น (เกิด) แล้วก็ดับไป อย่างรวดเร็ว พร้อมกับจิตที่เกิดร่วมด้วย

"การรู้-เรื่อง-จิตและเจตสิก" มากขึ้นจะทำให้ "รู้-ลักษณะ ของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง" มากขึ้น


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน



ความคิดเห็น 1    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 30 ม.ค. 2554

เราอาจจะรู้ "ลักษณะของเจตสิก" ได้ ... เมื่อสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลงของจิต"

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย prakaimuk.k  วันที่ 1 ก.พ. 2554

ด้วยแรงบันดาลใจจากคุณพุทธรักษา เป็นเหตุปัจจัยให้กลับไปอ่านหนังสือเล่มนี้อีก

ขออนุโมทนาค่ะ ...


ความคิดเห็น 3    โดย bsomsuda  วันที่ 6 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ